Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ความหมายของ ICT Literacy

พิมพ์ PDF

เราอยู่ในยุคของมายา ที่ทางแห่งความชั่ว กับทางแห่งความดี อยู่ในที่เดียวกัน ลูกหลานของเราต้องเรียนรู้ ที่จะอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง โดยไม่ถูกพิษร้ายของ ไอซีที/ทุนนิยม สมัยใหม่ โดยระบบการศึกษา และระบบคุ้มครองผู้บริโภคต้องเข้าไปจัดการเชิงระบบ และพ่อแม่/ครู ต้องมีวิธีคุ้มครองเด็ก และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเด็ก

 

 

ระหว่างอ่านหนังสือ Why School? How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhereที่ระเบียงหน้าบ้านอย่างสบายอารมณ์  ในช่วงเช้าวันที่ ๑๐ เม.ย. ๕๖ ซึ่งเป็นช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัดต้อกระจกที่ตาขวาของผม  ในท่ามกลางเสียงกบเขียด (ที่จริงคางคก) ร้องระงมก่อนฝนตก  ผมปิ๊งแว้บว่า เราต้องช่วยกันนิยาม คำว่า media literacy ใหม่  เพื่อให้ลูกหลานของเราได้รับประโยชน์จาก ICT มากกว่าโทษ หลายๆ เท่า

การศึกษา/เรียนรู้ ในปัจจุบัน ต้องใช้พลัง ไอซีที  เพราะมันมีพลังสูงมาก ในการนำเราสู่ข้อมูลความรู้   โดยเราต้องมีวิธีใช้เฉพาะพลังด้านบวกของมัน  ป้องกันพลังด้านลบไม่ให้เข้าถึงตัวลูกหลานของเราได้

รวมทั้งต้อง “ติดอาวุธ” หรือ “สร้างภูมิคุ้มกัน” ในตัวลูกหลานของเรา ไม่ให้ไปข้องแวะกับด้านลบของ ไอซีที  ลูกหลานของเราต้องรู้ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ

เราอยู่ในยุคของมายา ที่ทางแห่งความชั่ว กับทางแห่งความดี อยู่ในที่เดียวกัน  ลูกหลานของเราต้องเรียนรู้ ที่จะอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง โดยไม่ถูกพิษร้ายของ ไอซีที/ทุนนิยม สมัยใหม่  โดยระบบการศึกษา และระบบคุ้มครองผู้บริโภคต้องเข้าไปจัดการเชิงระบบ  และพ่อแม่/ครู ต้องมีวิธีคุ้มครองเด็ก  และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเด็ก

นี่คือส่วนหนึ่งของ การศึกษา/การเรียนรู้ แห่งยุคสมัย

ไอซีที อำนวยความสะดวก ให้เราเข้าถึงความรู้ได้  โดยที่ความรู้นั้นมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง - ความรู้ที่ผิด หรือล้าสมัย  ความรู้ที่หวังดี - ความรู้ที่หลอกลวง ล่อให้เราไปติดกับ  ความรู้ที่ให้ปัญญา - ความรู้ที่มอมเมา  ฯลฯ

media หรือ  ICT Literacy จึงมีความหมายสำคัญคือ รู้จักเลือกใช้ media/ICT ที่ให้คุณ  และรู้จักหลีกเลี่ยง media/ICT ที่ให้โทษ  ความยากคือ ในส่วนที่ให้คุณก็มีให้โทษ  ในส่วนให้โทษก็มีให้คุณ  ส่วนที่ให้โทษนั้นมันให้คุณในแง่ช่วยให้เรารู้เท่าทัน  แต่จะให้โทษเมื่อเราเข้าไปเสพแบบลุ่มหลงเสพติด และตกเป็นเหยื่อ

ICT/Media Literacy ช่วยให้เยาวชนของเราไม่ตกเป็นเหยื่อ  การศึกษาในระบบ และการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะดำเนินการอย่างไร  เป็นความท้าทาย

หลักการคือ ICT/Media Literacy ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการสั่งสอน หรือสอน  แต่จะต้องเกิดขึ้นโดยเด็กสร้างขึ้นเองในตัวตนของเขา  จากการที่เขาลงมือทำกิจกรรมบางอย่าง  แล้วไตร่ตรองทบทวนข้อเรียนรู้ของตน  พ่อแม่/ครู ต้องช่วย facilitate ให้เด็กเกิด literacy นี้ โดยกระบวนการดังกล่าว ผ่านการชักชวนเด็กให้ทำกิจกรรมที่เขาสนใจ สนุก และได้เรียนรู้ ICT/Media Literacy

ย้ำว่า ICT/Media Literacy ไม่ใช่แค่ใช้เทคโนโลยีเป็น และเข้าถึงสาระของ media  แต่ต้องรู้เท่าทันมัน  มีภูมิคุ้มกันไม่โดนพิษร้ายจากมัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ เม.ย. ๕๖

 

วันอัฎฐมีบูชา

พิมพ์ PDF

shared จาก ราชบัลลังค์ ภักดีจักรีภูมินทร์'s photo. ใน facebook

พรุ่งนี้วันพระ วันธรรมะสวนะ ตรงกับ วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวัน เสาร์ ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง
วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน ๖ ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ ๘ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง

พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ ๕๐๐ รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด

หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา.

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

เรียนเชิญเพื่อนๆร่วมกัน ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ทำจิตใจให้ผ่องใส บำเพ็ญภาวนา เจริญกรรมฐาน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศ์สานุวงศ์ ทุกพระองค์ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายต่างมีความชื่นชมโสมนัส ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล
ขอน้อมอาราธนา อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระสัพพัญญุตญาณ
พระธรรมเจ้าซึ่งเป็นโลกุตตรคุณอันประเสริฐ พระสังฆเจ้าผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล
องค์พระสยามเทวาธิราชผู้ทรงปกปักษ์รักษาสยามประเทศ และพระราชกุศลสมภารอันนำมาซึ่งหิตานุหิตประโยชน์
ซึ่งพระองค์ทรงสั่งสมบำเพ็ญมาเป็นอเนกอนันตประการ
โปรดมาเป็นปราการอันวิเศษสุด
ช่วยอภิบาลคุ้มครองใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในกาลทุกเมื่อ
ด้วยเดชานุภาพคุณพระศรีรัตนตรัยและพระราชกุศลสมภารนั้น
ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ของผองเผ่าไทย
จงทรงพระเกษมสำราญ พระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ เจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน
เป็นมิ่งมหากษัตริย์เดโชชัย ทรงบำราศโรค บำราศภัย จงทุกเมื่อ
ด้วยอำนาจพระบรมเดชานุภาพของพระองค์
ขอสรรพทุกข์ สรรพอุปัทวะ และสรรพอันตราย จงบำราศไป
ขอสรรพสิริสวัสดิ์จงอุบัติมี ขอพระองค์เจ้าจอมสยาม
จงทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยั่งยืนตลอดจิรัฏฐิกาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ...
คำถวายพระพรชัยมงคล ภูมิพลมหาราชา

"ภูมิพะละมะหาราชะวะรัสสะ ชะยะมังคะละวะระทานะคาถา"

ภูมิพะโล มะหาราชา ภูปาโล ทะสะธัมมิโก
เท์ว หิ วัสสะสะหัสสานิ ปัญจัสสะตาธิกานิปิ
ปัญญาสะ อุตตะราเนวะ ยัส์มิง โหนติ สุมังคะเล
ตัส์มิง สังวัจฉะเร ภัทเท โส อะสีต์ยายุวัฑฒะโก
ชินัสสะ สาสะเน สัทโธ ปะสันโน พุทธะมามะโก
ยะตีนัง สีละธารีนัง โสปัตถัมภะทะโท สะมัง
อะยัง ภัททะมะหาราชา วิทู รัฏฐะปะสาสะเน
เขมัญจะ สัมปะวัตเตติ โสตถิญจะ รัฏฐะวาสินัง
เสฏโฐ เสฏฐันทะโท ราชา ทะทะมาโน อะภิกขะณัง
ยัตถะ อันธะตะมัง โหติ ทีปะโท วิยะ จักขุโท
ตัตถะ ทัยยานะ ปัชโชโต สะมุปปาเทติ ผาสุกัง
ตัส์มา เสฏโฐ มะหาราชา ทัยยินโท ธัมมะขัตติโย
ภิยโยโส ทัยยะวาสีนัง จิรัง โหติ อะติปปิโย
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ กะตะปุญญานะ เตชะสา
ทีฆายุโก มะหาราชา วัณณะวา จะ สุเขธิโต
พะลูเปโต อะนีโฆ จะ อะโรโค โหตุ นิพภะโย
สัพเพ เทวานุโมทันตุ เตชะวันโต ยะสัสสิโน
อะภิปาเลนตุ รักขันตุ อิมัง ภูมิพะลัง สะทาติฯ

คำแปลคำถวายพระพรชัยมงคล ภูมิพลมหาราชา

อ่า…องค์พระภูบาล ศิระกรานนบบังคม
ล้ำเลิศประเสริฐสม เอกบรม ธ ราชัน
ครบแปดสิบหกพรรษา ปวงประชาทุกชีพชั้น
น้อมนบอภิวันท์ ปีห้าหก ธ คุณครอง
ทรงเปรื่องพระปรีชา ปกไพร่ฟ้าล้วนสุขผอง
ธารธรรม ธ เรืองรอง รินหลั่งชื่นผืนดินไทย
ทุกข์ถมไทยมืดมิด เทียนชีวิตจะส่องใส
เปล่งแสงอันอำไพ ทิพเนตรแจ้งเหตุดล
ล้วนไทยรักในหลวง เทิดเหนือดวงฤทัยท้น
ถวายชัย (ชัยยะ) มงคล “ภูมิพล” พระบุญญา
อัญเชิญพระไตรรัตน์ บุญสมบัติแห่งปวงข้า
ทวยเทพไท้เทวา ปกรักษาคุ้มครองกัน
โรคาภะยันตราย ปลาตไร้มลายพลัน
ทรงสุขเกษมสันต์ ธ ทรงธรรม์ ทรงพระเจริญฯ

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาลบุญดิเรก เอกบรมจักริน
พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง
หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย
อนุโมทนาบุญ ขอให้เพื่อนๆ สุขกาย สบายใจ ลาภ ผล พูน ทวี มั่ง มี ศรี สุข เจริญ สุข สด ชื่น คับผม (。◕‿◕。) ☀☀☀

 

วัดอรุณราชวรราม

พิมพ์ PDF

ความรู้รอบตัววันนี้...จาก Facebook โดยผู้ใช้นามว่า "ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด"
10 เรื่องมหัศจรรย์ " วัดอรุณราชวราราม " ( วัดแจ้ง )

1. เป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จกรีฑาพลล่องมาทางชลมารค มาจากอยุธยาเพื่อจะมาตั้งเมืองใหม่ พอถึงหน้าวัดนี้ก็ได้เวลาเช้า ( อรุณ หรือ รุ่งแจ้ง )พอดี ทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ แล้วจึงเสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหน้าวัด ความสูงประมาณ 8 วา อีกทั้งยังทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดแจ้งอีกด้วย


2. วัดคู่บ้าน คู่เมือง สมัยกรุงธนบุรี เป็นราชธานี ขณะที่พระเจ้าตากสินทรงครองราชย์ อยู่ในเขตพระราชฐาน เปรียบเทียบเหมือนกับวัดพระแก้วในปัจจุบัน


3. เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) ได้อัญเชิญมาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. 2322


4. เป็นจุดสังเกตุของคนในสมัยโบราณว่าได้ล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงเมืองหลวง ( กรุงธนบุรี ) แล้ว


5. เป็นวัดที่มีกษัตริย์เคยมาประทับ


6. เป็นวัดที่กษัตริย์ได้มีการตั้งชื่อโดยพระองค์เองถึง 3 พระองค์

6.1 พระเจ้าตากสิน - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดมะกอก " เป็น " วัดแจ้ง "

6.2 รัชกาลที่ 2 - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดแจ้ง " เป็น " วัดอรุณราชธาราม "

6.3 รัชกาลที่ 4 - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดอรุณราชธาราม " เป็น " วัดอรุณราชวราราม "


7. รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ 2 มาบรรจุที่พุทธอาสน์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก ( พระประธานในอุโบสถ )


8. เป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศถึง 77 เมตร


9. พระเจดีย์กระบื้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ( นำกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ มาตกแต่งประกอบกัน )


10. ตำนานยักษ์วัดแจ้งที่ไปตีไปยักษ์วัดโพธิ์ จนกระทั่งยังเรียกพื้นที่ที่ไปตีกันว่า " ท่าเตียน " กระทั่งทุกวันนี้

 

เซเวน อีเลฟเว่น

พิมพ์ PDF

สาระดีๆ..จาก facebook โดย ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด
ประวัติความเป็นมาของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
เซเว่น อีเลฟเว่น ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดย บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิต และจัดจำหน่ายน้ำแข็ง ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ ซึ่งในระยะแรก เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ของทุกวัน อันเป็นที่มาของชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น นั่นเอง

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิ น และได้รับความช่วยเหลือจากอิโต- โยคะโดซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นมีอำนาจควบคุมบริษัทในปี พ.ศ. 2534[1] ในปี พ.ศ. 2548 อิโต-โยคะโดก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และเซเว่น อีเลฟเว่นก็กลายเป็นบริษัทลูกของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ตั้งแต่นั้นมา

เซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย แฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.ซีพี ออลล์ (เดิมคือ บมจ. ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อสิทธิการประกอบกิจการ จากเจ้าของสิทธิ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทย คือ สาขาถนนพัฒน์พงษ์ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาประมาณ 5,000 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2552) เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 3,000 สาขา ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา

 

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

พิมพ์ PDF

วันนี้ในอดีต จาก facebook โดย ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีร ัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ พระราชธิดา เสด็จธิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระ ที่นั่ง เรือพระประเทียบ ล่มที่บางพูด อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่เรือล่มเป็นเพราะนายท้ายเรือพระประเทียบเมาเหล้า ขณะที่แล่นแซงเรือลำอื่นก็ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่ม ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงว่ายน้ำเป็น แต่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงเข้าไปช่วยและสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกัน แม้ในบริเวณนั้นจะมีชาวมอญกำลังขุดทรายอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาล ที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล ได้มีพิธีถวายพระเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2423 ในงานนี้มีการแจก หนังสือสวดมนต์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พิมพ์แจกเพื่อเป็นพระราชกุศล จำนวน 10,000 เล่ม นับเป็นหนังสืองานศพเล่มแรกของไทย นอกจากนั้นรัชกาลที่ 5 ยังทรงได้สร้างอนุสาวรีย์พระนางเรือล่มไว้ที่พระราชวังบางปะอินด้วย

 


หน้า 479 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630362

facebook

Twitter


บทความเก่า