Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การดำเนินการด้านการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

พิมพ์ PDF

เหตุผลและความจาเป็นที่ต้องมีหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น

ในระบอบประชาธิปไตย

การดาเนินงานด้านการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป็นภารกิจหลักประการหนึ่งที่ทุกภาคส่วนให้ความสาคัญ ปัจจุบัน มีหน่วยงานและองค์กรที่มีภารกิจและความรับผิดชอบในการดาเนินการดังกล่าวหลายหน่วยงาน อาทิเช่น

สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีภารกิจ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๖ (๘) คือ ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

สถาบันพระปกเกล้า มีวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติ สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖ กาหนดว่าวัตถุประสงค์ของสถาบันไว้ กล่าวคือ (๑) ศึกษาและวิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ (๒) ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ด้านนโยบายเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย (๓) วิจัยและสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย (๔) เผยแพร่และสนับสนุนการเผยแพร่ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๕) จัดและสนับสนุนการศึกษาอบรมบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และการเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย (๖) บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้และผลงานวิจัย และวิชาการทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ทาหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ รัฐสภา สานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ตลอดจนมูลนิธิ/องค์กรเอกชนต่าง ๆ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

๑. แต่ละหน่วยงาน/องค์กร ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับ “การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง” แตกต่างกัน ส่งผลให้มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป

๒. แต่ละหน่วยงาน/องค์กร ยังขาดวิสัยทัศน์ร่วมเกี่ยวกับลักษณะของพลเมืองที่พึงประสงค์ จึงเน้นแตกต่างกันออกไป

๓. การดาเนินการหรือกิจกรรมหลายกิจกรรมยังไม่สอดคล้องกับช่วงวัยหรือพัฒนาการของผู้เรียน/กลุ่มเป้าหมาย ทาให้การดาเนินการยังขาดประสิทธิภาพ

การที่ดาเนินการเรื่องหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสาหรับพลเมืองไทยจึงเป็นกรอบที่แสดงระดับพัฒนาการของการดาเนินการสร้างพลเมืองที่จะช่วยให้หน่วยงาน/องค์ที่เกี่ยวข้อง ได้มีทิศทางการดาเนินการที่ชัดเจนเพื่อไปสู่เป้าหมายคือคุณสมบัติของความเป็น พลเมืองที่ได้กาหนดเป้าหมายร่วมกันไว้ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสาคัญ ที่จะช่วยกันทางานเชิงเครือข่ายต่อไป เป็นกรอบสาหรับการตั้งคาถาม และแสวงหาแนวทางการดาเนินการที่ชัดเจนต่อไป

 

การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Citizenship Education-DCE)

พิมพ์ PDF

การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Citizenship Education-DCE) หมายถึง การพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ดี มีความรับผิดชอบ มีคุณลักษณะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีประชาชนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

พลเมือง มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในกระบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะในการปรึกษาหารือ ถกเถียงประเด็นสาธารณะที่สาคัญ ๆ กับทุกภาคส่วนของสังคม กระทั่งนาไปสู่การตัดสินใจที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยมีเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเปิดโอกาสให้ พลเมืองมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

ด้วยความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่สาคัญที่สุดของความสาเร็จของประชาธิปไตย คือการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Democratic Citizenship Education) เพราะไม่มี ผู้ใดรู้และเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมาตั้งแต่กาเนิดประชาธิปไตยต้องพัฒนาสมาชิกของสังคม ให้มีความรู้ความเข้าใจ กระทั่งเกิดสานึกเห็นคุณค่ามีเจตคติที่ถูกต้องสอดคล้องต่อแนวทางประชาธิปไตย คิดอย่างมีวิจารณญาณโดยปราศจาก การครอบงามีคุณลักษณะและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมที่เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีเสมอกันและรักในความยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อสร้าง"สังคมไทยที่พลเมือง มีความรู้เท่าทันใช้สิทธิเสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมทางการเมือง มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย"

Democratic Citizenship Education เริ่มตั้งแต่เด็ก และดาเนินต่อไปไม่สิ้นสุดจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา และเข้าสู่ วัยทางาน

 Democratic Citizenship Education ส่งเสริมเสรีภาพและทักษะการคิด และการแสดงออกมากกว่าการทาตามในแบบการศึกษาระบบเดิม

 Democratic Citizenship Education ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน คือ การเคารพคุณค่าของความเป็นมนุษย์เสมอกัน เคารพความแตกต่างและความยุติธรรม

 Democratic Citizenship Education ส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมือง (Political Education) เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง มากกว่าการเรียนรู้จากการรับรู้แต่ขาดประสบการณ์ และเพื่อไม่ให้การใช้อานาจทางการเมืองถูกผูกขาดอยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะนักการเมืองและข้าราชการ

 Democratic Citizenship Education ต้องการสื่อที่มีพลัง มีอิสระในการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองใหม่ของประเทศ

 Democratic Citizenship Education ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งระบบของสังคม จึงจะ เปลี่ยนบทบาทของประชาชน จากการเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง (subject)ให้เป็นพลเมือง (citizen)ที่รับผิดชอบต่อประเทศได้ กล่าวคือ เป็นพลเมืองมีบทบาทเชิงรุกในการกาหนดทิศทางอนาคตของสังคมและมีพลังในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน การสร้างพลเมืองใหม่ให้มีทั้งพลังความรู้ และมีพลังทางการเมือง หรือเจตจานงทางการเมือง (Political will) จึงเป็นหน้าที่สาคัญและเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล สถาบัน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอานาจรัฐ ที่แสดงความมุ่งมั่นในการสร้างพลเมือใหม่ของประเทศ

 

 

ประชาสังคม

พิมพ์ PDF

ประชาสังคม (ข้อมูลจากหนังสือพัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์ บทที่ 2 หน้า 15-17)

แนวคิดเกี่ยวกับ "ประชาสังคม" มิใช่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน มีมานานแล้วตั้งแต่ยุคโบราณในสมัยกรีกและโรมัน

"ประชาสังคม" เป็นวาทกรรมใหม่ในแวดวงวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่นำคำนี้มาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษ 1990 เริ่มจากสหรัฐอเมริกาแล้วค่อยๆแพร่กระจายออกไปยังประเทศอื่น เป็นผลมาจากการวิเคราะห์สถานการณ์การล่มสลายของระบบการปกครองแบบโซเวียตในประเทศต่างๆ ในยุโรปกลาง และตะวันออก ซึ่งภาคประชาสังคมมีบทบาทอย่างมากในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้น

พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับคอลลินส์ (Collins English Dictionary) ได้นำคำว่า "ประชาสังคม" หรือ (Civic Society )บรรจุเป็นคำอธิบายไว้เมื่อ ค.ศ.2012  หมายความว่า

1.การรวมตัวกันขององค์กรและสถาบันที่ไม่ใช่ของรัฐ เพื่อแสดงออกถึงผลประโยชน์และเจตจำนงของพลเมือง

2.ปัจเจกบุคคลและองค์กรต่างๆในสังคมที่เป็นอิสระหรือไม่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ ที่ได้มาแสดงออกถึงเสรีภาพและความเป็นอิสระเพื่อมุ่งสร้างสังคมประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคมมิใช่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน มีมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคโบราณในสมัยกรีกและโรมัน แนวคิดเกี่ยวกับ "ประชาสังคม" จากจุดเริ่มต้นที่สามารถสืบค้นได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคำว่า "ประชาสังคม" มาแล้ว 2 ครั้ง จากเดิมเป็นแนวคิดในยุคโบราณ มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดครั้งแรกในช่วงหลังจากการปฎิวัติในฝรั่งเศส (ประมาณปลายศตวรรษที่ 17) และการเปลี่ยนแปลงแนวคิด "ประชาสังคม" ครั้งที่สองเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของคอมมูนิสในยุโรป

เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าของแนวคิดเกี่ยวกับ"ประชาสังคม"ให้ลึกซึ้งขึ้น ในบทต่อไปจะนำเสนอแนวคิด "ประชาสังคม"ที่ปรากฎในปรัชญาการเมืองเท่าที่สามารถค้นได้เริ่มตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงยุคปัจจุบัน โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 4 ช่วง

(โปรดติดตามช่วงที่หนึ่ง ในยุคโบราณ ได้ในเร็วๆนี้)

 

นโยบายพึงประพฤติปฎิบัติ

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาวBlogทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2556 ได้รับเกียรติจาบริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค. ไลน์ส (ประเทศไทย) จำกัด ให้บรรยายในหัวข้อ Compliance Policy (นโยบายพึงประพฤติปฏิบัติ) & Antimonopoly Law ณ โรงแรมตวันนา  เวลา 8.30-12.00 น. ครับ

ผมจึงเปิดblogนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1 มิถุนายน 2556

Compliance Policy 
&
Code of Conduct

บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค. ไลน์ส (ประเทศไทย) จำกัด

1 มิถุนายน 2556

Code of Conduct เป็นแนวคิดของยุโรป และนำมาปรับใช้กับบริษัทของญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก

Reputation ของคนสร้างมานานมาก แต่สามารถถูกทำลายได้เวลาอันสั้น

วัตถุประสงค์

1.  เน้นการสร้างความเข้าใจ ระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายพนักงานให้เกิด win-win ขึ้น

2.  เพื่อให้พนักงานปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3.  เพื่อให้มีมาตรฐานสากลต้องมี Benchmark เปรียบเทียบกับบริษัทของโลก

4.  เพื่อสร้าง trust ให้แก่ลูกค้าและ Stakeholders (คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท)

5.  เพื่อสร้างแบรนด์ระดับโลกให้แก่บริษัท

Stakeholders ของมิสซุยคือ ลูกค้าข้ามชาติ  คู่แข่ง นักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจ

การทำงานต้องทำอย่างโปร่งใส มีประโยชน์ต่อบริษัทอื่นและสังคมด้วย ธุรกิจญี่ปุ่นต้องให้เกียรติกับคนไทยด้วย ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ที่ดีด้วย

ดาไล ลามะ กล่าวว่า การขาดความโปร่งใสเป็นผลให้เกิดความไม่ปลอดภัย

อัลเบิรต์: การเชื่อมั่นและไว้วางใจในสิ่งเล็กๆเป็นเรื่องสำคัญมาก

Oprah Winfrey: “Real integrity is doing the right thing, knowing that nobody’s going to know whether you did it or not.”

(3) คุณภาพของทุนมนุษย์ที่สำคัญของผม8K’s พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทุนแห่งจริยธรรม ต้องได้รับการปลูกฝัง ซึ่งปัจจุบันนี้มีค่านิยมของสังคมไทยที่อ่อนแอมาก การปลูกฝังในครอบครัวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ถ้าไม่มีทุนทางจริยธรรม มูลค่า หรือกำไรหรือความยั่งยืนจาก 5K ก็ไม่สำเร็จ

5 K’s : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital ทุนทางวัฒนธรรม

บริษัทปูนซีเมนต์ เริ่มปลูกฝังเรื่องจริยธรรมตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าทำงาน

Peter drucker กล่าวว่า คนต้องมี integrity innovation และ creativity

การปฏิบัติตาม compliances ไม่ใช่เพื่อ ฝ่ายจัดการเป็นผู้สั่งการ แต่เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจในอนาคต

ซึ่งถ้าไม่ทำ แต่คู่แข่งทำ และทำได้ดีกว่า การแข่งขันและความยั่งยืนในอนาคตของธุรกิจMitsuiก็จะอ่อนแอ

ประเด็นก็คือ วันนี้ให้เพิ่มความสำคัญของการปฏิบัติตาม(Compliance) ซึ่งเป็นแนวทางที่จะสร้างความเข้าใจและอาจจะหมายถึงเข้าใจในรายละเอียดในช่วงต่อไป

จุดที่สร้างปัญหาก็คือ

วัฒนธรรมของคนในองค์กรอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะที่นี่ประเทศไทย ต้องบริหารความหลากหลายให้ได้ ซึ่งผมเรียกว่า Value Diversity  ถึงจะมองคนละแนว แต่ต้องเปลี่ยนให้มีคุณค่า  ซึ่งญี่ปุ่นต้องปรับตัวบ้าง เพราะอาจจะเน้นเรื่อง discipline มากเกินไป

Peter Senge กล่าวว่า ต้องมีวิสัยทัศน์สอดคล้องกัน

หลักของ Code of Conduct ของบริษัท Mitsui เช่น

-  Respect Human Right  เข้าใจสิทธิมนุษยชน

-  เข้าใจความแตกต่าง และอย่าให้ความแตกต่างสร้างConflictขึ้น

-  เก็บความลับของบริษัท

-  ดูแลและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

-  อย่าให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

-  จุดที่สร้างปัญหาก็คือ

-  วัฒนธรรมของคนในองค์กรอาจจะไม่เหมือนกัน

-  เพราะที่นี่ประเทศไทย ต้องบริหารความหลากหลายให้ได้ ซึ่งผมเรียกว่า Value Diversity

-  รับผิดชอบต่อสังคม(CSR)

-  ดูแลความปลอดภัยของคนและทรัพย์สิน และดูแลสิ่งแวดล้อม

-  การไม่ลักขโมย  ยักยอก  ฉ้อฉล ทรัพย์สินของบริษัทฯ  ลูกค้า  ตลอดจนพนักงานด้วยกัน  การอยู่ในองค์กรที่มีทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกัน ต้องรักษาให้ดี  เรื่องcompany property ต้องสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกัน

-  สร้าง Trust ระหว่าง Stakeholders

-  อะไรที่ไม่ถูกถ้าเห็นต้องรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

สุดท้ายก็คือ มีการบริหารจัดการ “การปฏิบัติตาม” ถ้าเกิดปัญหาขึ้น ทุกๆคนต้องศึกษาวิธีการต่างๆ รวงถึงบทลงโทษทางวินัย

-  การเป็นพนักงานที่ดีต้องเข้าใจ Code of Conduct

-  วันนี้ก็มีผมอยู่ข้างนอกไม่ใช่ผู้บริหารมาแนะนำ วันนี้เป็นระบบ Outside in ที่ช่วยกระตุ้นให้กับพนักงานในวันนี้

สรุป

ความเห็นของผม Code of Conduct เป็นอะไรที่มีประโยชน์ต่อบริษัท ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างความตระหนัก และทำความเข้าใจในแต่ละเรื่อง และนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้ามีอะไรที่ป้องกันได้ หรือไม่เข้าใจก็ควรจะปรึกษากันระหว่าง ฝ่ายจัดการกับฝ่ายพนักงานและให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรร่วมกันมากกว่าเป็นข้อบังคับหรือกฎระเบียบและต้องใช้เวลา

หากมีบทบาท คุณภาพ จริยธรรม ของบริษัทที่ดี การที่จะใช้ Social media จะยิ่งเพิ่มประโยชน์ให้กับบริษัทมาก

ชื่อเสียงของบริษัทมิตซุย หากสร้างไว้ดี คนก็จะพูดถึงมากในแง่ดี แต่ถ้าเป็นภาพลักษณ์ทางลบ ก็ต้องระวังในการใช้social media มากเพราะจะแพร่ได้รวดเร็ว

หลังจากอบรมเสร็จแล้วความสำเร็จของ Code of Conduct ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหมือนเป็นการใช้ทฤษฎี 3ต.

การทำงานในองค์กรขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการแข่งขัน และต้องมีความยั่งยืน ซึ่งสามารถมองไปถึงอนาคตได้

ข้อเสนอแนะ

(1)  CEO ต้องให้ความสนใจ (ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว)

(2)  HR ต้องอธิบายให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและให้feedbackกลับ

(3)  Non-HR ต้องมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญซึ่งUlrich เรียกว่า Strategic Partners

ปัญหาของ HR ของประเทศไทย คือ บริหารงานแบบSilo

(4)  ระดับพนักงานก็ต้องให้ความสนใจ อ่าน ศึกษา และเข้าใจ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โทษ เช่น ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและบริษัท

สุดท้ายถ้าบริษัทดำเนินการสำเร็จ ก็ขอให้บริษัทคืนกำไรให้แก่พนักงาน รวมทั้งมีจุดยืนเรื่องการรับใช้สังคม และ Stakeholders นอกบริษัทซึ่งต้องใช้เวลาและความอดทน

สุภาษิตจีนเน้นว่าสิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาคน

ปลูกพืชล้มลุก..  3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น..  3-4 ปี

พัฒนาคน..  ทั้งชีวิต

คำถาม:

1.  คุณวุฒิชัย :  ขอถามเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนว่าหมายถึงอะไร

อ.จีระ: ทรัพยากรเป็นของหลวง และเราเอามาเป็นของตัวเอง  มี 2 ระดับ คือ project หนึ่งขอไป 30%  และนโยบายรัฐบาลบางอย่างที่ได้ผลประโยชน์เข้าตัวเอง

2. บริษัทมิสซุย มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากอะไรบ้าง

อ.จีระ: การไม่เก็บความลับของบริษัท เช่น เอาความลับไปบอกคู่แข่ง ต้องระมัดระวังมาก  ต้องสร้างธรรมาภิบาลให้แข่งขันได้ในระดับโลก

3. ทฤษฎี 5K ควรให้มิสซุยเน้นทุนไหนมากที่สุด

อ.จีระ:  ที่โดดเด่นมากในยุคต่อไป เรื่องการเพิ่มรายได้ของบริษัท เพราะฉะนั้นต้องเน้นเรื่อง Creativity และ Innovation เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้น

ส่วนเรื่องทุนทางอารมณ์ก็ต้องควรฝึกการควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดี

การทำงานที่ดีต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถทำนายอนาคตได้

4. ขอชื่นชมอ.จีระ ที่กล้ามีจุดยืนเรื่องการไม่ยอมรับคนโกง และต่อต้าน Anti-corruption พนักงานมิตซุยอยากมีมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ขอให้อาจารย์แนะนำว่าทำอย่างไรถึงจะกล้ามากขึ้น

อ.จีระ: ขั้นแรกต้องทำให้ธรรมาภิบาล ทุนทางจริยธรรมดีขึ้น ไปสร้างความสามารถในการแข่งขัน มิตซุยและพนักงานต้องมีความคิดถึงประโยชน์ของชาติ ไม่ควรเข้าข้างนักการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ขอชื่นชมพนักงานมิตซุยที่ต้องการมีจุดยืนในการต่อต้านการทุจริต

5.คุณกุลชาติ:ขอชื่นชมประโยคว่า บริษัทข้ามชาติต้องตระหนักว่าจะให้ประโยชน์อะไรกับประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจบ้าง และ แนวทางของ Code of conduct เริ่มจาก CEO และ HR  ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม และคิดไปในไปแนวทางเดียว

ผมคิดว่าการทำให้คนหลายร้อยคนคิดไปในไปแนวทางเดียว ทำได้ยาก ขอให้อาจารย์แนะนำวิธีคิดครับ

อ.จีระ: ต้องคิดว่าทำอย่างไร จะทำให้สำเร็จ   ตัวละคร ที่กล่าวไปเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้ขับเคลื่อน และทำให้สำเร็จ

ต้องสรุปประเด็นเรื่อง Code of conduct ว่ามีประโยชน์อะไร ทั้งทางตรงและทางอ้อม

6วินัยของคนญี่ปุ่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีระเบียบวินัย  แต่วินัยของคนอินเดียวภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ขอให้อาจารย์ช่วยแชร์ประสบการณ์ที่เคยทำงานกัยคนอินเดีย

อ.จีระ: คนอินเดีย สนใจศึกษาเรื่องความรู้มาก  CEO มีความสนใจในการเข้าอบรมมาก มีความฉลาดทางด้านความคิด IT แต่ในเรื่องการธุรกิจคนอินเดียยังมีจุดอ่อนอยู่มาก  ซึ่งจะเสียเปรียบคนจีนเนื่องจากคนอินเดียจะเถียงคนอื่นมาก

Antimonopoly Law

บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค. ไลน์ส (ประเทศไทย) จำกัด

1 มิถุนายน 2556

Anti -Trust law ไม่ให้ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมีอำนาจผูกขาด  ในประเทศไทยต้องตระหนักเรื่องนี้ และมีผู้ควบคุม

การมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งผูกขาด ก็สามารถฟ้องได้ทันที

วัตถุประสงค์

1.  เข้าใจ กฎหมาย ห้ามผูกขาดกับประเทศต่าง ๆ ที่ทำการค้ากับ Mitsui

2.  นอกจากฝ่ายการบริหารจะเข้าใจ และศึกษาแล้ว พนักงานที่ทำงานประจำทุกๆ คนต้องเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศเหล่านี้อย่างแท้จริง

3.  เพราะในการค้าระหว่างประเทศ จะมีความพยายามบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ เพื่อการแข่งขันทางการค้าอยู่เสมอ

-  ในต่างประเทศการป้องกันเรื่อง monopoly  หรือไม่ยุติธรรมต่อผู้บริโภค และคู่แข่งมีกฎหมายรุนแรงมาก

-  บริษัท Apple มีการฟ้องร้องกันมากในประเทศจีน

ดังนั้น ในวันนี้ การป้องกันดีกว่าไปแก้ไขหลังจากมีคดีความในศาลต่างประเทศ ซึ่งเสียเวลาและยุ่งยาก

มีกรณีเหล่านี้มากมายในต่างประเทศ เช่น  Microsoft , Apples, Google ในจีนCheck เรื่องคดีเกี่ยวกับ การขนส่งมีหรือยัง ถ้ามีจะต้องนำมาเป็น Case study

ข้อสำคัญ คือ บริษัทมิตซุยไม่ได้เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับกฎหมาย แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า หากผิดพลาดเรื่องการมีอำนาจเหนือตลาด หรือผิดกฎหมายก็ควรระมัดระวัง

กฎหมายเน้นTechnic และกฎหมาย Anti-Monopoly เข้าใจได้ยาก จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรม ทำเรื่องยาก ๆ ใช้ง่ายขึ้น

สร้างคู่มือต่าง ๆ ที่พนักงานนำไปปฏิบัติและสามารถตรวจสอบได้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ประจำทุก ๆ วัน และคำนึงไว้ว่ากฎหมายในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันออกไป

ถ้าทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กำหนดราคาร่วมกับผู้ผลิตอื่นโดยไม่ได้ระวังความผิดของ Anti-Monopoly Law ก็จะสร้างความเสียหาย

ในประเทศไทยมีเรื่อง Anti-Competition law ปัญหาของนักธุรกิจและนักการเมืองไทยที่ฮั้วกัน

ถ้าทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กำหนดราคาร่วมกับผู้ผลิตอื่นโดยไม่ได้ระวังความผิดของ Anti-Monopoly Law ก็จะสร้างความเสียหาย

ประเด็นหลัก คือเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Competition / Monopoly

เรื่องการแข่งขัน เน้นที่ไม่มีใครกำหนดราคาได้ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ การใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ

แต่เรื่องการผูกขาด จะทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์  แต่บริษัทอาจจะมีกำไรเพิ่มขึ้น และไม่ยุติธรรมต่อคู่ค้า

ซึ่งข้างต้นเป็นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงการดำเนินทางธุรกิจของบริษัทต้องลงลึกมากกว่านี้

ศึกษา enforcement ของกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะ Anti-trust Law in US และ EU

ศึกษาคดีต่าง ๆโดยเฉพาะเรื่องขนส่ง แล้วนำมาเป็น Case study  ฝ่าย HR ต้องมาปรึกษากับฝ่ายกฎหมายเน้นเรื่องกฎหมายต่างประเทศ และวิเคราะห์ดูว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้

แต่ในประเทศไทย มีกฎหมายแต่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและทำเรื่อง Anti-monopoly law น้อยมาก

ขอให้ฝ่าย HR ทำคู่มือออกมาโดยให้แยกความแตกต่างระหว่างประเทศอเมริกา ยุโรป ออกมาให้ชัดเจน

สรุปกิจกรรมที่ต้องระวัง

1.  ปฏิเสธที่ทำธุรกิจกับลูกค้าอย่างไม่เป็นธรรม

2.  เลือกปฏิบัติ : ต้องมีการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเท่าเทียมกันอย่ามี discrimination

3.  การขายพ่วง (tie-in sales)

4.  การมีอำนาจเหนือตลาด

5.  มีอำนาจต่อรองมากเกินไป

6.  บริหารการเงินอย่างไม่โปร่งใส

สรุป

เนื่องจาก Mitsui มีธุรกิจหลายประเทศ จึงจำเป็นต้องศึกษา

- กฎหมาย Antimonopoly  ของทุกประเทศที่ทำธุรกิจด้วย

- ต้องสรุปง่าย ๆ มาเป็นประเด็นหลักเพื่อกระจายความรู้ให้แก่พนักงาน

-  บทบาทของพนักงาน

-ตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจ

-ถ้าเข้าใจ หลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว

ให้เขียนว่าได้รับประโยชน์อะไรจากการอบรมวันนี้

1.  อะไรเป็นของใหม่ 2 เรื่อง ในเรื่อง Code of Conduct

2.  สิ่งที่ได้รับความรู้ในเรื่อง Anti-Monopoly 2 เรื่อง

คัดลอกจากhttp://www.gotoknow.org/posts/537728

 

 

ทำงานมูลนิธิเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

พิมพ์ PDF

ที่จริงผมทำงานมูลนิธิ และงานสาธารณประโยชน์อื่นๆ ก็หวังทำบุญเหมือนกัน เป็นการทำบุญเพื่อความชุ่มชื่นในใจตัวในชาตินี้ รวมทั้งหวังผลในชาติหน้า ซึ่งหมายถึงผลแก่คนรุ่นหลัง ที่เป็นสายเลือดของผมหรือไม่ก็ได้ เพราะผมถือว่าทุกคนเป็นญาติกัน แม้แต่ไม่ใช่คนก็เป็นญาติกับเรา ผมไม่เชื่อว่ามีชาติหน้า เชื่อว่าตายแล้วตายเลย ไม่มีอะไรเหลืออีกสำหรับตัวเรา ส่วนจะมีความทรงจำเหลืออยู่ในคนอื่นแค่ไหนอย่างไร ไม่เกี่ยวกับเรา เพราะเราตายแล้ว ชีวิตจบแล้ว และได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้ให้แก่คนรุ่นหลังแล้ว หมดห่วงพ้นทุกข์พ้นร้อนไปแล้ว

 

 

ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี  ผมมีประชุมสามัญประจำปีของหลายมูลนิธิ  มูลนิธิพูนพลังเมื่อวันที่ ๓  มูลนิธิ สคส. เมื่อวันที่ ๖  มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เมื่อวันที่ ๒๑  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ เมื่อวันที่ ๒๘  และมูลเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ในวันที่ ๒๙

ส่วนมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มีการประชุมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

ปีนี้ผมไม่ได้เป็นประธานกรรมการมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว หมดภาระไปหนึ่งมูลนิธิ  แต่ก็ได้เพิ่มมาอีก ๑ คือมูลนิธิสยามกัมมาจล  เปลี่ยนจากรองประธานเป็นประธาน  มูลนิธินี้ขยันประชุม คือเดือนละครั้ง  ตรงกันข้ามกับมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ที่ประชุมปีละครั้งเดียว  จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารช่วยดูรายละเอียด  เดิมท่านองคมนตรี ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย เป็นประธาน  ปีนี้ท่านขอลาออก  ภาระจึงตกมาที่ผม

เล่ามายืดยาว เพื่อจะบอกว่า  ในสังคมที่มีอารยะธรรม มีรัฐที่เข้มแข็ง และมีพลเมืองที่รักบ้านเมืองนั้นบทบาทในการพัฒนาบ้านเมือง ต้องมีหลายฝ่ายช่วยกัน  ตามแนวทางของลัทธิประชาธิปไตย  คือประชาชนเป็นใหญ่

ประชาชนมอบหมายอำนาจในการดูแลบ้านเมืองให้แก่ ๓ ฝ่าย  คือฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล  ฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกติกาของบ้านเมือง  และฝ่ายตุลาการ

แต่ในความเป็นจริง ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองมีปัจจัยขับเคลื่อนมากกว่านั้น และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  มีทั้งบทบาทภาครัฐ และบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งตรงนี้ ไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น  มันเชื่อมโยงไปกับเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ   และมันมีลักษณะละโมบมากขึ้นเรื่อยๆ

ความเข้มแข็งของภาครัฐ กับภาคธุรกิจค้ากำไร ไม่เพียงพอสำหรับความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงของบ้านเมือง  ต้องการอีกหลายฝ่ายมาช่วยกัน  ฝ่ายที่สาม (third sector) คือภาคเอกชนที่ไม่ค้ากำไร(NPO – Non-Profit Organization)  ที่กฎหมายบ้านเมืองให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ในรูปของมูลนิธิ หรือสมาคม  สำหรับให้ประชาชนรวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์  ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย

กฎหมายระบุให้คณะกรรมการที่เป็นบุคคลน่าเชื่อถือ ทำหน้าที่กำกับดูแล  ดังนั้น เมื่อผมอายุมากขึ้น จึงได้รับเชิญให้เข้าไปเป็นกรรมการมูลนิธิมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งผมก็ยินดี ถือเป็นการทำงานแทนคุณแผ่นดิน   คนเราต้องรู้จักมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ และต่อแผ่นดิน

ในการประชุมสามัญประจำปีของมูลนิธิ มีวาระหลักคือ  (๑) รับรองงบดุลประจำปีที่ผ่านมา (ที่ผ่านการตรวจสอบของนักบัญชีรับอนุญาตแล้ว)  (๒)​ รับทราบผลงานประจำปีที่ผ่านมา  (๓) ให้คำแนะนำและเห็นชอบแผนงานและแผนเงินประจำปีต่อไป  (๔) เรื่องอื่นๆ

การทำงานมูลนิธิ ให้มีความก้าวหน้ายั่งยืนต่อเนื่อง เป็นเรื่องท้าทายมาก  เพราะสังคมไทยผู้คนไม่นิยมบริจาคเงินเพื่อทำงานพัฒนาสังคม  เรานิยมบริจาคแก่โรงพยาบาล และแก่วัด  โดยถือว่าได้บุญ  ทำนองทำบุญสำหรับเป็นการลงทุนไว้รับผลบุญในชาติหน้า  โดยตีความคำว่าชาติหน้าว่าหมายถึงเมื่อตนเองไปเกิดใหม่  แตกต่างจากการตีความว่าชาติหน้าหมายถึงคนรุ่นลูกหลานของตนเองและของคนอื่น

ที่จริงผมทำงานมูลนิธิ และงานสาธารณประโยชน์อื่นๆ ก็หวังทำบุญเหมือนกัน  เป็นการทำบุญเพื่อความชุ่มชื่นในใจตัวในชาตินี้  รวมทั้งหวังผลในชาติหน้า ซึ่งหมายถึงผลแก่คนรุ่นหลัง ที่เป็นสายเลือดของผมหรือไม่ก็ได้  เพราะผมถือว่าทุกคนเป็นญาติกัน  แม้แต่ไม่ใช่คนก็เป็นญาติกับเรา  ผมไม่เชื่อว่ามีชาติหน้า  เชื่อว่าตายแล้วตายเลย ไม่มีอะไรเหลืออีกสำหรับตัวเรา  ส่วนจะมีความทรงจำเหลืออยู่ในคนอื่นแค่ไหนอย่างไร ไม่เกี่ยวกับเรา  เพราะเราตายแล้ว ชีวิตจบแล้ว  และได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้ให้แก่คนรุ่นหลังแล้ว  หมดห่วงพ้นทุกข์พ้นร้อนไปแล้ว

 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ มี.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537635

 


หน้า 478 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630126

facebook

Twitter


บทความเก่า