Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

แนวคิดประชาสังคมในยุโรปยุคโบราณ

พิมพ์ PDF

แนวคิดประชาสังคมในยุโรปยุคโบราณ ข้อมูลจากหนังสือ พัฒนาการและพัฒนาประชาสังคม หน้า 17-20 โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์

ปรัชญาเมธีในยุคนี้ยังเห็นว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลอยู่ในตัวจึงสามารถพัฒนาและปรับสภาพธรรมชาติของสังคมที่พวกเขาดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเห็นว่ามนุษย์มีขีดความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันโดยสมัครใจเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกันและดำรงสันติภาพของสังคมเอาไว้ เมื่อพิจารณาทัศนะดังกล่าวนี้อาจกล่าวได้ว่านักคิดทางการเมืองในยุคคลาสสิคได้เป็นผู้ริเริ่มนำเสนอแนวคิดว่าด้วยประชาคมสังคม เป็นแนวคิดเริ่มต้นที่เข้าใจว่า "ประชาสังคม" คือสังคมของพลเมืองที่มีความหมายในลักษณะเป็นสมาคมทางการเมืองของพลเมือง ตามแนวคิดในยุคโบราณนี้ ประชาคมสังคมกับรัฐเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้

แนวคิดประชาสังคมในยุโรปยุคโบราณ หมายถึง ปรัชญาการเมืองในยุคกรีกและโรมัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุคคลาสสิค (Classical Tradition) .ในยุคนี้เข้าใจว่า "ประชาสังคม" หมายถึง สมาคมทางการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมโดยการออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้พลเมืองต้องทำร้ายซึ่งกันและกัน (Michael Edward.Civil Society.Cambridge : Polity Press,2004 page.6)

ในยุคนี้ แนวคิดประชาสังคมใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า สังคมที่ดี (good society) และมองว่าประชาสังคมไม่สามารถแยกให้เห็นความแตกต่างไปจากคำว่ารัฐ (state) ตัวอย่างเช่น โสเครติส (Socrates มีชีวิตอยู่ในช่วง 469 ถึง 399 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ชาวเอเธนส์ ได้เผยแพร่คำสอนว่า ความขัดแย้งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมควรจะได้รับการแก้ไขโดยผ่านกระบวนการถกเถียงสาธารณะโดยอาศัยหลักเหตุผลหรือที่เรียกกันว่า วิภาษวิธี (dialectic) เพื่อค้นหาความจริง ตามความเห็นของโสเครตีส การถกแถลงสาธารณะหรือการสานเสวนาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนได้ใส่ใจต่อบ้านเมือง (civility) และเพื่อสร้างวิถีชีวิตที่ดีในประชาคมทางการเมือง (polis)

ต่อมาเพลโต (Plato มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่าง 427 ถึง 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้เสนอแนวคิดรัฐในอุดมคติว่าเป็นสังคมที่อยู่กันอย่างมีทำนองคลองธรรมเป็นสังคมที่ประชาชนได้อุทิศตนให้กับความดีร่วมของคนทั้งมวล (common good)  ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความประเสริฐทางศีลธรรม ผู้คนแสดงออกถึงปัญญา ความกล้าหาญ ความพอเพียง และความยุติธรรม ประชาชนประกอบอาชีพตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ผู้เป็นราชาจะต้องเป็นผู้ปราชญ์เปรื่อง เรียกว่า ราชานักปราชญ์ (philosophy king) มีหน้าที่ปกป้องดูแลการดำเนินกิจกรรมของประชาชน ที่แสดงความใส่ใจต่อบ้านเมือง

นักปรัชญาคนต่อมาที่กล่าวถึงประชาสังคมคือ ศิษย์ของเพลโต ชื่อว่า อริสโตเติล (Aristotle มีชีวิตอยู่ในช่วง 384 ถึง 322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กล่าวว่า ประชาคมทางการเมืองเกิดขึ้นเมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันจนเป็นเมืองหรือนครซึ่งอริสโตเติลใช้คำว่า polis ซึ่งเดิมโสเครติสให้ความหมายว่าคือประชาคมทางการเมือง แต่ polis ในความหมายของอริสโตเติล หมายถึงสมาคมแห่งสมาคมทั้งหลาย (association of associations) ที่พลเมืองมาแลกเปลียนความเห็นเกี่ยวกับการงานด้านการเมืองและการปกครองอย่างมีคุณธรรม การมาร่วมกิจกรรมเป็นสมาคมแบบนี้  อริสโตเติลใช้คำว่า koinonia politike มีความหมายเป็นชุมชนทางการเมือง (political community)

.ในสมัยโรมันปรัชญาเมธี ชื่อ ซิเซโร (Cicero มีชีวิตอยู่ในช่วง 106 ถึง 43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับสังคมของพลเมือง (societas civilis) เป็นวาทกรรมทางการเมืองที่ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ซิเซโรให้ความสำคัญกับสังคมของพลเมืองว่าเป็นสังคมที่ดี (good society) อันเป็นหลักประกันถึงความมีสันติและมีระเบียบทางสังคมของประชาชน สังคมพลเมืองเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่พลเมืองมาใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต ประชาสังคมตามนัยของซิเซโรก็คือ สังคมที่ดีของพลเมือง

ปรัชญาเมธีในยุคคลาสสิคที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้แยกสภาพความเป็นรัฐกับความเป็นสังคมออกจากกัน แต่มีความเห็นว่ารัฐเป็นรูปแบบสังคมของชาวประชา การที่พลเมืองแสดงออกถึงความใส่ใจต่อบ้านเมืองเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ที่จะแสดงออกถึงความดีของความเป็นพลเมือง

ปรัชญาเมธีในยุคนี้ยังเห็นว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลอยู่ในตัวจึงสามารถพัฒนาและปรับสภาพธรรมชาติของสังคมที่พวกเขาดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเห็นว่ามนุษย์มีขีดความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันโดยสมัครใจเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกันและดำรงสันติภาพของสังคมเอาไว้ เมื่อพิจารณาทัศนะดังกล่าวนี้อาจกล่าวได้ว่านักคิดทางการเมืองในยุคคลาสสิคได้เป็นผู้ริเริ่มนำเสนอแนวคิดว่าด้วยประชาคมสังคม เป็นแนวคิดเริ่มต้นที่เข้าใจว่า "ประชาสังคม" คือสังคมของพลเมืองที่มีความหมายในลักษณะเป็นสมาคมทางการเมืองของพลเมือง ตามแนวคิดในยุคโบราณนี้ ประชาคมสังคมกับรัฐเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้

เมื่อเวลาผ่านเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Ages) ประเด็นความสนใจของนักปรัชญาการเมื่องได้เปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากสภาพสังคมของยุโรปมีการจัดการปกครองในระบบศักดินา ( Feudalism) แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคมในยุคคลาสสิคได้หายไปจากกระแสความสนใจ ประเด็นที่นักปราชญ์ในยุคนี้สนใจคือปัญหาของสงคราม เป็นประเด็นกระแสหลักที่ถกกันจนกระทั่งสิ้นสุดยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

6 มิถุนายน 2556

 

 

 

อวตารยุคไอซีที

พิมพ์ PDF

คนยุคปัจจุบัน ที่ถือว่าเป็นคนเต็มคน ต้องอวตารได้ การอวตารไม่ใช่อิทธิฤทธิ์พิเศษอีกต่อไป

 

 

ระหว่างนั่งอ่านหนังสือไปเขียน บล็อก ไป เช้าวันที่ ๑๒ เมย. ๕๖ ผมปิ๊งแว้บว่า สมัยนี้คนเราอยู่หลายที่ในเวลาเดียวกันได้  เพราะเรามีทั้งพื้นที่จริง และพื้นที่เสมือน   อา! อวตารในเรื่องรามเกียรติ์ มาเป็นจริงในช่วงชีวิตผมนี่เอง

ผมอวตารได้มาตั้งหลายปีแล้วโดยไม่รู้ตัว

และที่จริงใครๆ ก็อวตารได้โดยไม่ยาก  ไม่จำเป็นต้องมีอิทธิฤทธิ์พิเศษ  ขอให้มีทักษะด้าน ไอซีที  และมีสาระที่น่าสนใจเอาไปห้อยไว้ในพื้นที่ไซเบอร์ ก็เท่ากับอวตารได้  คือแสดงบทบาทได้โดยตัวจริงไม่อยู่ที่นั่น

คนยุคปัจจุบัน ที่ถือว่าเป็นคนเต็มคน ต้องอวตารได้  การอวตารไม่ใช่อิทธิฤทธิ์พิเศษอีกต่อไป

นั่นคือ “คนมีการศึกษา” ในปัจจุบัน  ต้อง ลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) กับคนทั้งโลก ในพื้นที่ ไซเบอร์ ได้  และทำอย่างสม่ำเสมอ  ใครอยากรู้จักเรา แต่เข้าไม่ถึงตัวจริง  ก็เข้าไปทำความรู้จักในพื้นที่เสมือนได้

ใครไม่มีตัวตนในพื้นที่เสมือน ถือเป็น “ผู้ด้อยโอกาส” ในโลกปัจจุบัน

คนดี ไม่ว่าในยุคสมัยใด ต้องเป็น “ผู้ให้” มากกว่าเป็น “ผู้เอา” หรือ “ผู้รับ”  การให้แก่โลก ในพื้นที่เสมือน เป็นการให้อย่างหนึ่งในยุคสมัยปัจจุบัน  คือให้การ ลปรร.   คนที่ให้การ ลปรร. ในพื้นที่เสมือนไม่เป็น ถือเป็นผู้ด้อยการศึกษา

ในโลกยุคปัจจุบัน ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติของตนเอง ถือเป็นความรู้ที่มีความจำเพาะ หาจากที่อื่นไม่ได้  การเอาความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ (tacit knowledge) มาแลกเปลี่ยน จึงมีค่ายิ่ง  และการแลกเปลี่ยนที่สะดวกและกว้างขวาง คือแลกเปลี่ยนผ่าน พื้นที่ไซเบอร์

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/538046

 

ประสบการณ์เข้าไปเปลี่ยนแปลงการศึกษาของ อ.พรพิไล เลิศวิชา

พิมพ์ PDF

ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑ เม.ย. ๕๖ ที่ สสค. ตามที่เล่าที่นี่ อีกท่านหนึ่งที่เข้าร่วมประชุม และให้ความเห็นที่น่าสนใจมาก คือ อ. พรพิไล เลิศวิชา เมธีวิจัยอาวุโส สกว.   โดยที่ในช่วง ๕ - ๖ ปีหลังนี้ ท่านหันไปเน้นทำงานส่งเสริม BBL (Brain-Based Learning)  ท่านเขียนหนังสือด้าน BBL ให้ สพฐ. ๗ เล่ม  download ได้ที่นี่ และท่านบอกว่า ไปพูดหรือจัดฝึกอบรมในที่ต่างๆ ตามต่างจังหวัดประมาณ ๔๐๐ ครั้ง

ผมลองค้นใน YouTube ด้วยคำว่า “พรพิไล เลิศวิชา” ได้มาหลายตอน  ที่น่าสนใจคือคำอธิบายวิธีใช้ tablet ในเด็ก ป. ๑ ที่นี่ และยังมีตอนอื่นๆ อีกมาก  รวมทั้งค้นด้วย กูเกิ้ล ได้เรื่องที่น่าสนใจมากมาย  ผมขอแนะนำครูอาจารย์ให้อ่านหนังสือและผลงานอื่นๆ ของ อ. พรพิไล  ดังตัวอย่างนี้

อ. พรพิไล บอกว่า จากการเข้าไปคลุกคลีกับคนในวงการศึกษา  มีครูที่ต้องการเอาใจใส่พัฒนานักเรียน แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร  มีผู้บริหารที่ตระหนักว่าต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนรู้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร  ท่านบอกว่า  ต้องหาคนมาช่วยกันแนะนำวิธีดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ แบบที่ได้ผลดี

ฟังแล้วผมยังสองจิตสองใจกับความเห็นของท่าน  เพราะฟังคล้ายๆ กับว่า ในเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้นั้น  วิธีการที่ถูกต้องมีอยู่อย่างชัดเจนแล้ว  ซึ่งผมคิดต่าง  ผมคิดว่า เรายังรู้เรื่องนี้ไม่มากนัก  ต้องทำไปเรียนรู้ไป  ผมคิดว่า ต้นทุนจากที่ อ. พรพิไล ศึกษามา ก็ดีมาก  และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  แต่ต้องไม่จัด training แบบถ่ายทอดวิธีการ ในแนวทางเดิมๆ เท่านั้น  ต้องติดอาวุธทักษะ learning how to learn ให้แก่ครูและผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่ด้วย  ให้สามารถเรียนรู้และปรับวิธีการจัดการเรียนรู้แก่เด็ก ได้อย่างต่อเนื่อง

นั่นคือ อ. พรพิไล ยังขาดการส่งเสริมให้เกิด PLC


วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/538047

 

ทำสงครามกับกระบวนทัศน์ทางสังคม

พิมพ์ PDF

.................................. ที่ร้ายที่สุดน่าจะได้แก่กระบวนทัศน์ทางการศึกษา หรือการเรียนรู้ ที่แทนที่จะมองว่า การศึกษาคือการฝึกฝนตนเองให้สามารถมีชีวิตที่ดี ตามคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง ฝึกคนเริ่มต้นที่ไหน กลับมองว่าการศึกษาในมุมที่แคบ คือ เพื่อให้ได้ใบรับรองคุณวุฒิ เน้นศึกษาเพื่อสนองความต้องการ ตามความเร่งเร้าของกิเลส ไม่รู้

 

 

กระบวนทัศน์ทางสังคมในประเทศไทย (และในทุกสังคม) มีส่วนที่ผิด ล้าหลังหรือตกยุคมากมาย  ที่ร้ายที่สุดน่าจะได้แก่กระบวนทัศน์ทางการศึกษา หรือการเรียนรู้  ที่แทนที่จะมองว่า การศึกษาคือการฝึกฝนตนเองให้สามารถมีชีวิตที่ดี ตามคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง  ฝึกคนเริ่มต้นที่ไหน กลับมองว่าการศึกษาในมุมที่แคบ คือ เพื่อให้ได้ใบรับรองคุณวุฒิ  เน้นศึกษาเพื่อสนองความต้องการ ตามความเร่งเร้าของกิเลส  ไม่รู้เท่าทันกิเลส

คนไทยส่วนใหญ่จึงมุ่งให้ลูก “เรียนวิชา” เป็นสำคัญ  หรือเป็นหลักใหญ่  ไม่มองว่าการศึกษา ที่มีคุณค่าที่แท้จริง ไม่ใช่วิชาความรู้  แต่อยู่ที่การฝึกฝนให้มีทักษะสำคัญในการดำรงชีวิต  โดยที่ตัวสาระวิชา เป็นเพียงส่วนเดียว

การวัดผลของการศึกษาไทยในปัจจุบัน วัดด้านเดียวคือ ด้านวิชา  ในขณะที่ท่านเจ้าคุณฯ บอกว่าการวัดพัฒนาการของคนจากคติทางพุทธมี ๔ ด้าน คือ ภาวนา ๔ ได้แก่ กายภาวนา  ศีลภาวนา  สมาธิปัญญา  และ ปัญญาภาวนา  และคติทางการศึกษาที่แท้จริงวัดที่พัฒนาการ ๕ ด้าน คือ ด้านกาย  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  ด้านจิตวิญญาณ  และด้านปัญญา

เราจะเห็นว่า การศึกษาไทยในปัจจุบันกำลังพาเด็กไทย (และสังคมไทย) ดิ่งลงเหว  คือไปสู่ชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีความสุข ไม่มีความมั่นคงในชีวิต   เราเห็นวัยรุ่นไทยจำนวนมากเสียคน เสียอนาคต ไปต่อหน้าต่อตา  ยกเว้นกลุ่มคนที่มีฐานะดี (ผมเป็นคนหนึ่งในนั้น)  เราควรช่วยป้องกันวัยรุ่นลูกหลานของเราจากพิษภัยทางสังคม  และช่วยให้สังคมไทยดีกว่านี้ได้ หากระบบการศึกษาเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

การศึกษาที่มุ่งแต่สอนวิชา  เป็นการศึกษาที่ล้าหลัง สำหรับศตวรรษที่ ๒๑  ที่โลกกำลังอบอวล ไปด้วยลัทธิทุนนิยมบริโภคนิยม กำไรเป็นใหญ่เหนือความสุขของผู้คน  คนที่จะมีความสุขในโลกเช่นนี้ได้ ต้องได้รับการศึกษาแบบฝึกฝนให้ทนสิ่งเร้า ด้วยความสุขระยะสั้น ตามมาด้วยความทุกข์ระยะยาว  หรือความทุกข์เพราะวางท่าที วางระบบชีวิตผิด  เนื่องจากไม่รู้เท่าทัน

 

วิจารณ์ พานิช

๓ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/538050

 

คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

พิมพ์ PDF

 

คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

  • พลเมืองที่แข็งขัน (active citizens) เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • พลเมืองเป็นผู้ที่มีความรู้และมีข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่เพียงพอ(informed/ knowledgeable citizens) อันประกอบด้วย ระบบการเมือง ระบบกฎหมาย สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ
  • พลเมืองที่มีทักษะพื้นฐานประชาธิปไตย(skilled citizens) ประกอบด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณการทางานเป็นหมู่คณะการใช้กระบวนการ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือด้วยเหตุผล (deliberation)
  • พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย(democratic citizens) มีความเชื่อมั่นในพหุนิยม(pluralism) ความเป็นหนึ่งท่ามกลางความหลากหลาย การใช้สันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ภราดรภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมทางสังคม การตรวจสอบและถ่วงดุล(check and balance) การพึ่งตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง พึ่งพากัน (inter-dependence) และเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (accountable citizens) มีบทบาทรับผิดชอบต่อผู้อื่น (hold others accountable) และเคารพกฎหมาย
หลักการร่วมในด้านคุณลักษณะของพลเมือง
  • รักความเป็นธรรมและความเสมอภาค (Adhere to Justice and Equality) ยึดถือความยุติธรรม ให้ความสาคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา/อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง
  • ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Use Freedom based on Social Responsibility) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีเสรีภาพได้มากตราบเท่าที่ไม่ละเมิดผู้อื่น นั่นหมายความว่าบุคคลพึงใช้เสรีภาพด้วยความยินดีที่จะให้ผู้อื่นมีเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับตน กล่าวคือบุคคลย่อมใช้เสรีภาพอย่างรับผิดชอบโดยที่เสรีภาพนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้อื่น ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถให้บุคคลใช้เสรีภาพโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมได้
  • เคารพกฎหมายและกฎกติกา (Respect Law and Rules) การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจะทาให้พลเมืองเข้าใจดีว่าเหตุใดการเคารพกฎหมายเป็นสิ่งที่สาคัญสาหรับสังคมและเข้าใจถึงความรับผิดชอบของบุคคลที่จะ ต้องรักษาค่านิยมแบบพหุนิยมไว้ด้วย ทั้งนี้เพราะกฎหมายหรือกฎกติกาของสังคมมีที่มาของความชอบด้วยกฎหมายจากการเห็นพ้องต้องกันของคนในสังคมที่จะผดุงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นเสมอหน้ากัน
  • ใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่ (Use Rights without Neglecting Duties)การใช้สิทธิของบุคคลในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีหน้าที่ของบุคคลประกอบด้วย กล่าวคือ หากบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากรัฐบุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ ต้องเสียภาษีด้วย บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายที่ดีของรัฐบาล บุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณที่ดีด้วย ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถให้บุคคลใช้สิทธิโดยไม่ต้องทาหน้าที่ได้ ซึ่งหมายถึงการใช้สิทธิด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่เสมอ
  • มีภราดรภาพ และเคารพความแตกต่าง (Respect Fraternity and Differences) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันในทางความคิดเห็นหรืออื่นๆได้ แต่ความแตกต่างเหล่านี้ต้องไม่เป็นเหตุให้บุคคลโกรธ เกลียด ทะเลาะ ขัดแย้ง ทาร้าย หรือสังหารบุคคลอื่นได้บุคคลในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีขันติธรรม (tolerance) คือต้องอดทนต่อความแตกต่างของกันและกันได้ ความแตกต่างของบุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องไม่ทาให้สังคมแตกแยก
  • เห็นความสาคัญของประโยชน์ส่วนรวม (Give importance to common interests) เนื่องจากบุคคลไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ จึงต้องอยู่ร่วมกันในสังคม บุคคลจึงต้องถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสาคัญด้วยเพราะหากทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสาคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม สังคมก็ไม่อาจดารงอยู่ได้ และในกรณีที่มีความขัดกันในผลประโยชน์ (conflict of interests) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถแยกประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนได้ ทั้งยังพึงเล็งเห็นให้ได้ว่าแท้ที่จริงประโยชน์ของส่วนรวมก็เป็นประโยชน์ของบุคคล นั้นเองด้วย
  • มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participate in Politics) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจาเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจขั้นพื้นฐานทางการเมืองที่เพียงพอต่อการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วย เป็นต้นว่าบุคคลในระบอบประชาธิปไตย พึงรู้และเข้าใจว่า การเมืองมีความสาคัญต่อชีวิตของตนและคนอื่นๆในสังคมอย่างไร รู้และเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและการบริหารราชการ แผ่นดินของประเทศ รู้และเข้าใจขอบเขตภารกิจ และอานาจหน้าที่ ของตัวแทนที่เลือกเข้าไป นโยบายของพรรคการเมือง รวมถึงพฤติกรรม และกลไกการควบคุมตรวจสอบบุคลากรทางการเมืองด้วย

 


หน้า 477 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630699

facebook

Twitter


บทความเก่า