Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เชิญร่วมทำบุญ

พิมพ์ PDF

ร่วมบุญสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์องค์หลวงตา และ 30 พค 56นี้ วันเปิดสามเดนโลกธาตู บุญใหญ่ สาธุกับญาติธรรมทุกท่านค่ะ

by Jiraporn Upāsikā Nuangcharoen (Notes) on Wednesday, May 29, 2013 at 10:15pm

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์นั้น ขณะนี้ได้วางศิลาฤกษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ จากนี้จะดำเนินการก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว(ที่นาดั้งเดิมของคุณตาก้อน วังคำแหง)ต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) มีหลวงปู่ลี กุสลธโร เมตตามาเป็นประธานคณะสงฆ์ฯ และเป็นประธานในที่ประชุม ส่วนเมรุและบริเวณโดยรอบนั้น ที่ประชุมมีมติให้รักษาสภาพเดิมไว้ เพื่อดำรงไว้ให้เป็นสถานที่แสดงความเคารพสักการะกราบไหว้บูชาของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มีต่อองค์หลวงตาอีกแห่งหนึ่ง


ติดต่อสอบถามที่ วัดป่าบ้านตาด โทร. 042-214114  (แฟกซ์) 042-214115 

Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


(Posted Date : วันที่ 12 ก.พ. 2555 เวลา 20:00 น.)

 

ในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ในนามคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์องค์หลวงตา ได้ประชุมหารือกัน ณ วัดป่าบ้านตาด มีมติให้รักษาสภาพเดิมของเมรุและบริเวณไว้ สำหรับสถานที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ นั้นให้พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ในฐานะเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด เป็นผู้ตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งใหม่ที่มิใช่เมรุและบริเวณ ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นมติในวันนี้ ให้ก่อตั้งภายในบริเวณพื้นที่ด้านหลังที่บิณฑบาต


[สำหรับประวัติที่ดินแปลงนี้นั้น แต่เดิมเมื่อครั้งก่อตั้งวัดป่าบ้านตาดใหม่ๆ เป็นที่นาของคุณตาก้อน วังคำแหง ผู้มีพระคุณแก่วัดป่าบ้านตาด คุณตาก้อนมีศักดิ์เป็นน้าชายของหลวงตาเนื่องจากเป็นน้องชายแท้ๆ ของโยมมารดาหลวงตา


คุณตาก้อน วังคำแหง เป็นหนึ่งในสองของเจ้าศรัทธาใหญ่ผู้ยกถวายที่นาของตนที่อยู่ภายในกำแพงวัดชั้นใน ให้เป็นที่ตั้งวัดป่าบ้านตาดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัด (เจ้าศรัทธาอีกท่านหนึ่งคือ คุณตาบุดสา บัวสอน) นอกจากนี้คุณตาก้อนยังแบ่งที่นาของตนอีกส่วนหนึ่งยกถวายให้เป็นทางเข้าวัดอีกด้วย โดยไม่ยอมรับเงินตอบแทนใดๆ จากหลวงตาเลย แม้จะให้เป็นล้านๆ คุณตาก้อนก็ไม่รับ คุณตาให้เหตุผลกับหลวงตาว่า


"เงินไม่เอา จะเอาบุญ .. ตัดทางเข้ามาเลย .. จะไต่ไปทำไมคันนา พระตกคันนา มันไม่เหมือนเด็กน้อยตกนะ รีบไปทำถนนเข้าสิ พระตกคันนามันมีบาปด้วยละ"

คำพูดเช่นนี้ยังความซึ้งใจแก่หลวงตาชนิดฝังลึกมาก องค์หลวงตาเคยเล่าถึงคุณงามความดีของคุณตาในเรื่องนี้ให้ศิษยานุศิษย์ฟังด้วยว่า

 

"ผู้เฒ่าก้อนถวายที่ทั้งหมดให้เป็นวัด นาก็ให้เลย นาของแก ตัดทางเข้ามาเลย ผู้เฒ่านี่เป็นคนใจบุญนะ ใจบุญ ถวายที่นี่ ยกที่ดินถวายทั้งหมดเลย ก็เลยได้อยู่ที่นี่ ..

เราจะเอาอะไรให้ แกก็ไม่เอา ให้เป็นล้านๆ ก็ไม่เอา จะเอาบุญเท่านั้น คำพูดของผู้เฒ่าเรายังไม่ลืม ฝังลึกมากนะ"]

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์นั้น ขณะนี้ได้วางศิลาฤกษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ จากนี้จะดำเนินการก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว(ที่นาดั้งเดิมของคุณตาก้อน วังคำแหง)ต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) มีหลวงปู่ลี กุสลธโร เมตตามาเป็นประธานคณะสงฆ์ฯ และเป็นประธานในที่ประชุม ส่วนเมรุและบริเวณโดยรอบนั้น ที่ประชุมมีมติให้รักษาสภาพเดิมไว้ เพื่อดำรงไว้ให้เป็นสถานที่แสดงความเคารพสักการะกราบไหว้บูชาของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มีต่อองค์หลวงตาอีกแห่งหนึ่ง

(อนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ประธานพร้อมด้วยคณะสงฆ์ราว ๑,๐๐๐ รูป ได้ร่วมประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ในครั้งนั้น ให้วัดป่าบ้านตาดเป็นผู้กำหนดสถานที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ โดยความเห็นชอบของหลวงปู่ลี กุสลธโร ซึ่งต้องไม่ห่างไกลจากเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงฯ และมีมติให้รักษาสภาพเดิมของเมรุไว้เช่นเดียวกัน พระมหาเถระใหญ่ทั้งสองท่านผู้เป็นศิษย์รุ่นแรกขององค์หลวงตาและเป็นประธานสงฆ์ทั้ง ๒ วาระ จึงมีมติที่สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

 

จึงประกาศให้ทราบความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ เพื่อจะได้ร่วมบุญและร่วมอนุโมทนาสาธุการให้การดำเนินการสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว ยังความปลื้มปีติยินดีทั้งแก่มนุษย์เทวดาอินทร์พรหมตลอดยังสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยทั่วกันด้วยเทอญ

 

ขอเชิญร่วมบุญในกองทุน สร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล

ร่วมบุญสร้าง

(หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)”

เพื่อบูชาธรรมองค์หลวงตา และสร้างปูชนียสถานเป็นถาวรวัตถุ

ให้ลูกหลานได้สักการะบูชากราบไหว้สืบไป

(ใช้ชื่อบัญชีต่างกัน)

ชื่อบัญชี “ร่วมสร้างเจดีย์ถวายหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

โดยพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน”

 

 

 

1. ธนาคาร กสิกรไทย สำนักงานสาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 110-2-33344-4

2. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า (อุดรธานี  ไม่เสียค่าโอน)

เลขที่บัญชี 859-223576-1

3. ธนาคาร กรุงเทพ สาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 284-7-38388-8

4. ธนาคาร กรุงไทย สาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 401-3-13864-6

5. ธนาคาร กรุงไทย สาขาตลาดหนองบัว

เลขที่บัญชี 426-0-35998-3


ชื่อบัญชี กองทุนสร้างเจดีย์พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน”

เป็นบัญชีออมทรัพย์ทุกบัญชี


6.   ธนาคาร กรุงเทพ สาขาเอกมัย

เลขที่บัญชี 063-0-30191-9

7.   ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเอกมัย

เลขที่บัญชี 059-2-63333-9

8.   ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเอกมัย  (ไม่เสียค่าโอน)

เลขที่บัญชี 078-233067-4

หมายเหตุ

ท่านผู้ใดต้องการให้ออกใบอนุโมทนาบัตรของวัดป่าบ้านตาด

ให้ส่งรายละเอียดการโอนพร้อมที่อยู่ติดต่อได้ มาที่

สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน

309/1 ม.1 ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000

โทร. 042-214114  (แฟกซ์) 042-214115

Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

เป็นบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด

 

อนุโมทนา สาธุกับทุกท่านค่ะ

 

กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

พิมพ์ PDF

ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

ผมได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระดังนี้

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๑ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมมือกับกลุ่ม Thai Civic Education ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดิช เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung FES) ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการประชุมปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ครั้งที่ ๒ : การประชุมผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนารูปแบบการจัดการ การเรียนรู้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referee board) ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ.โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร ในการนี้ขอเชิญท่านซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะเอกสารกรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ในการประชุมตามวัน เวลา และสถายที่ดังกล่าว

ผมยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เป็นกิจกรรมที่จะทำให้คนไทยในอนาคตเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิไตยของไทย

ผู้จัดได้ส่งเอกสารมาให้ผมพิจารณาก่อนเข้าร่วมประชุม พรุ่งนี้จะรีบศึกษาข้อมูลต่างๆที่ได้รับเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมประชุม หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศไทย

หลังจากการประชุมจะสรุปสาระให้ท่านที่สนใจได้รับทราบต่อไป โปรดติดตาม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖

 

คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัยหาเป็นฐาน

พิมพ์ PDF

เครื่องมือสำหรับใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือการจัดการความรู้ในองค์กร มีมากมาย ที่องค์กรสามารถคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้ เครื่องมือที่ง่ายและใช้กันทั่วไปอย่างหนึ่งคือ วงจรเดมมิ่ง ที่เราเรียกว่า PDCA สามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพงานทีละเล็กทีละน้อยเป็นวงจรต่อเนื่อง และพนักงานสั่งสมความรู้และการเรียนรู้ต่อเนื่อง จนถึงจุดหนึ่งเกิดการยกระดับการทำงานในลักษณะที่จัดว่าเป็นนวัตกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับวงจรเดมมิ่ง เป็นส่วนของกันและกัน

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 596. KM ใน ธกส.

ผศ. ดร. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ขอให้ผมเขียนคำนิยม หนังสือที่จัดทำให้แก่โครงการ KM ธกส.  จึงนำมาเผยแพร่ ดังต่อไปนี้

คำนิยม

คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

ในงานประจำของการประกอบธุรกรรม : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

วิจารณ์​พานิช

ผมตีความว่า หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นสำหรับใช้เป็นคู่มือการดำเนินการจัดการความรู้ หรือเรียนรู้ ต่อเนื่องภายในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ที่เจ้าหน้าที่ของ ธกส. ดำเนินการกันเอง หลังจากโครงการฝึกอบรมโดยทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จบสิ้นลง

ขั้นตอนการฝึกอบรมเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางไกล หรือการดำเนินการจัดการความรู้ จากการทำงานประจำ ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นวงจรที่ไม่มีจุดจบสิ้น  จึงจะได้ประโยชน์แท้จริง  ดังนั้นการทำหนังสือคู่มือสำหรับช่วยเป็น Knowledge Assets ที่จะใช้ต่อยอดการดำเนินการ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ผมเข้าใจว่า หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะของการสังเคราะห์ความรู้ที่เป็นทั้งความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit Knowledge) และความรู้จากการปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ที่ได้จากโครงการฝึกอบรมฯ

โครงการฝึกอบรมนี้ เน้น “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน”  และได้สรุปไว้อย่างชัดเจน (น. ๓๐) ว่า ความสามารถในการตั้งคำถามที่ท้าทาย มีความสำคัญอย่างยิ่ง   และที่จริงข้อความในหนังสือ ระบุการเรียนรู้จากความสำเร็จด้วย  เนื่องจาก ธกส. เป็นหน่วยงานที่มีสาขาจำนวนมาก ที่ทำงานเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่   ซึ่งมีบริบทแตกต่างกัน  สาขาหนึ่งอาจแก้ปัญหา ก ลุล่วงด้วยดี  ในขณะที่อีกสาขาหนึ่งยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตก  การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสาขาที่แก้ปัญหา ก ได้ดี กับสาขาที่ยังมีปัญหา จะเป็นประโยชน์ต่อ ธกส. ในภาพรวมอย่างยิ่ง  และความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้สามารถจดบันทึกไว้เป็น Knowledge Assets ไว้ใช้งานใน ธกส. ทั้งหน่วยงาน ได้ต่อไป  ดังที่ผู้เขียนได้เขียนไว้เป็นกรณีตัวอย่างในภาคผนวก

ผลจากการฝึกอบรมครั้งนี้ ทั้งที่เป็นทักษะ/ความรู้ ติดตัวพนักงานที่เข้ารับการอบรม  และที่เป็นหนังสือคู่มือเล่มนี้  น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ในการส่งเสริมให้พนักงานของ ธกส. ดำเนินการเรียนรู้และพัฒนางานประจำของตน  โดยการรวมตัวกันเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน  โดยควรจัดให้มี “พื้นที่” สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งที่เป็นพื้นที่จริง (เช่น ตลาดนัดความรู้)  และพื้นที่เสมือน (virtual space) คือพื้นที่ใน cyberspace ซึ่งมีหลากหลายเครื่องมือ  และที่ใช้งานง่ายที่สุดในปัจจุบันคือ social media

เครื่องมือสำหรับใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือการจัดการความรู้ในองค์กร มีมากมาย  ที่องค์กรสามารถคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้  เครื่องมือที่ง่ายและใช้กันทั่วไปอย่างหนึ่งคือ วงจรเดมมิ่ง ที่เราเรียกว่า PDCA  สามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพงานทีละเล็กทีละน้อยเป็นวงจรต่อเนื่อง  และพนักงานสั่งสมความรู้และการเรียนรู้ต่อเนื่อง  จนถึงจุดหนึ่งเกิดการยกระดับการทำงานในลักษณะที่จัดว่าเป็นนวัตกรรม  การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับวงจรเดมมิ่ง เป็นส่วนของกันและกัน

ผมขอแสดงความชื่นชมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และทีมวิทยากร คือ รศ. นพ. ทวีศักดิ์ นพเกษร และ ผศ. ดร. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ  ที่ร่วมกันดำเนินการโครงการประยุกต์การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  และขออำนวยพรให้การดำเนินการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การดำเนินการต่อยอด จัดการความรู้ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537220

 

หน่วยฟอกเงิน

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๘ มี.ค. ๕๖ ผมเข้าร่วมประชุมมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  มีการพูดกันถึงท่าทีของรัฐบาลปัจจุบัน  ที่ต้องการป้องกันการใช้เงินของ สสส. ให้ทุนแก่พรรคพวก  โดยไม่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนไทยอย่างแท้จริง

ที่จริงเงินของรัฐ ไม่ว่าหน่วยงานใดดูแล ต้องป้องกันการใช้เงินแบบไม่เหมาะสมทั้งสิ้น  โดยที่เวลานี้เป็นที่รู้กันว่า เงินงบประมาณของรัฐรั่วไหลมากอย่างน่าตกใจ  โครงการต่างๆ ของรัฐ มีตัวแทนไป “ขอคืน” จากผู้รับเหมาหรือผู้ขายในเปอร์เซนต์ที่สูงกว่าเมื่อก่อนมาก  มีคนบอกว่าพวก event ต่างๆ นั้น “ขอคืน” ครึ่งหนึ่ง  ผมไม่ทราบว่าจริงหรือไม่

มีคนบอกว่า นักการเมืองในรัฐบาลนี้ จับตามอง “หน่วยงานตระกูล ส” อย่างตาไม่กระพริบ  ด้วยความสงสัยว่า จะช่วยกัน “ฟอกเงิน” จากหน่วยที่มีเงินมาก เช่น สสส.  มีการส่ง สตง. ไปตรวจอย่างละเอียดผิดปกติ

ที่จริงการตรวจสอบเพื่อป้องกันการรั่วไหล เป็นของดี  แต่การตรวจสอบแบบหาเรื่อง ไม่ดีแน่  เพราะมันจะทำให้การงานขลุกขลัก  เรารู้กันว่า การใช้ สตง. ตรวจจับผิด เป็นวิธีที่นักการเมืองใช้พิฆาตศัตรูทางการเมือง  ตัวอย่างเช่น ปธน. นิกสัน ของสหรัฐ ผู้เป็นที่รู้กันทั่วว่าเป็นจอมลวดลายที่ไม่ตรงไปตรงมา

หน่วยงานตระกูล ส ที่ผมเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ทำงานการเมืองแบบพรรคการเมือง  แต่นักการเมืองบางกลุ่มอาจไม่ชอบ เพราะสั่งไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสั่งเพื่อผลประโยชน์ของพวกตนไม่ได้

มีข่าวว่า เวลานี้ รัฐบาลกำลังหาทางเข้าไปควบคุมหน่วยงานตระกูล ส  และเข้าไปบางหน่วยได้แล้ว โดยส่งคนที่เป็นพวกของตนเข้าไป  เรื่องนี้คนไทยต้องช่วยกันจับตามอง  และโวยวายเมื่อพบหลักฐานว่านักการเมืองเข้าไปล้วงลูกเอาเงินไปฟอกเสียเอง

ที่จริงตอนผมเกี่ยวข้องกับหน่วยงานตระกูล ส ก็มีนักการเมืองพยายามเข้าไปล้วงเงินเอาไปให้พรรคพวกของตน  พฤติกรรมแบบนี้แม้คนที่สังคมเชื่อถือว่ามือสะอาดก็ไม่เว้น  และมีหลักฐานที่คนทำงานในหน่วยงานบางคนเก็บไว้  บางเรื่องมีอยู่ในรายงานการประชุม บอร์ด ของหน่วยงานก็มี  ผมเสียดายที่ในประเทศไทยเราไม่มีการทำงานวิชาการเพื่อศึกษาวิธีทำงานของหน่วยงาน ที่ได้ผลดีต่อบ้านเมือง

เรื่องแบบนี้นักการเมืองเขาชำนาญ เขาส่งเรื่องมาให้และบอกปากเปล่า ให้เราทำ  เมื่อเราไม่โอนอ่อนทำตาม เขาก็ส่งคนมาบีบ  ดังนั้นเรื่องที่ผมกล่าวนั้น จะหาหลักฐานไม่ได้

หน่วยฟอกเงิน ไม่ใช่หน่วยงานตระกูล ส  แต่เป็นอะไรใครรู้บ้าง

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537227

 

ประชุม Pre-Planning การท่องเที่ยวและกีฬา

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับ ชาว blog

วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ผมเเละทีมงานมีโอกาสเดินทางมาจัดการประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคกลาง(กรุงเทพมหานคร) ณ โรงแรมวังสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนำเเนวทางจากการหารือในครั้งนี้ไปจัดสัมมนาสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ทั้งภาครัฐเเละเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา

การทำงานในครั้งนี้จะเเบ่งออกเป็น 2 รูปเเบบคือ Pre-Planing เป็นการศึกษาเพื่อหาความต้องการว่าความรู้เรื่อง AEC ที่ต้องการในเเต่ละCluster เป็นอย่างไร และ Deepening Workshop  จะเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

กิจกรรมทั้ง 2 รูปเเบบจะทำในลักษณะ cluster

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดน่าน เเพร่ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย อุบลราชธานี มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนำร่องประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด pre-planning ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

 


 


 

 

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537247

 


หน้า 480 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8627427

facebook

Twitter


บทความเก่า