Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เป็นที่ตกลงกันทั่วโลกแล้วว่า หากจะให้ผู้คนในประเทศใดๆ มีสุขภาวะดี  ประเทศนั้นต้องมี ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  โดยที่มตินี้ ได้รับการรับรองจากสมัชชาสุขภาพโลก  และจากสมัชชาสหประชาชาติ

แต่ละประเทศจะต้องมีระบบของตนเอง  เลียนแบบกันไม่ได้ทั้งหมด  เพราะแต่ละประเทศมีเงื่อนไขหรือบริบทแตกต่างกัน

คำว่า “คุ้มครอง” ในที่นี้หมายความว่าประชาชนได้รับความคุ้มครอง  คือเข้าถึงบริการที่จำเป็นหรือต้องการได้ อย่างเท่าเทียมกัน  และการใช้บริการนั้นไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายต่อประชาชนผู้นั้นจนเกินกำลัง  และในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เกิดภาระต่อภาครัฐ หรือต่อสังคมจนเกินกำลังเช่นกัน

เรื่อง “ไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายอย่างไม่สมเหตุสมผล” นี่แหละ ซับซ้อนอย่างยิ่ง  เป็นที่มาของการสร้างระบบที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค (ป้องกันปัญหาที่ต้นทาง) ยิ่งกว่าเน้นการรักษาโรค(แก้ปัญหาที่ปลายทาง)

ประเทศไทยเรามี สสส. เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำหน้าที่ที่ต้นทางของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  และทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด  คือเน้นให้ตัวประชาชน และชุมชนใกล้ตัวเอง เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า จึงต้องทำงานเชิงรุก และงานตั้งรับ อย่างสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกัน  ให้เกิดการลงทุนลงแรงน้อย ได้ผลมาก  งานเชิงตั้งรับ คือด้านรักษาโรค ก็ต้องมีทั้งระดับปฐมภูมิ รักษาโรคง่ายๆ  ทุติยภูมิ  และ ตติยภูมิ เป็นเส้นทางส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ  ต้องสร้างความเข้มแข็งของทุกระดับ  และหาทางลดการใช้บริการแบบข้ามขั้นตอน เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

ต้องมีการวางยุทธศาสตร์ วางแผนของระบบ เพื่อทำงานรับมือกับปัญหาได้ตรงเป้า  จึงต้องรู้เป้าของแต่ละประเทศ  ซึ่งในภาพใหญ่เหมือนกันหมด  คือปัญหาสุขภาพในปัจจุบันที่ก่อความสิ้นเปลืองมากอยู่ที่โรคเรื้อรัง ที่เกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม (เช่นสูบบุหรี่  ไม่ออกกำลังกาย  กินอาหารมากเกินไป)  และอยู่ที่ประชากรสูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ  Sir Gus Nossal กล่าวว่า ราคายาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ไม่ได้ตั้งตามราคาต้นทุนของการผลิต  แต่ตั้งตามความสามารถของผู้ซื้อ ว่าพอใจซื้อในราคาเท่าไร  ฝ่ายผู้ซื้อเทคโนโลยีจึงต้องมีความสามารถในการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีแต่ละชนิด  ว่าในบริบทของประเทศของตน เทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าหรือไม่  ไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยีตามประเทศที่พัฒนแล้ว เพื่อโชว์ความทันสมัย

โชคดีที่ประเทศไทยมีแผนงานประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพทำหน้าที่นี้  เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ใช่ระบบที่หยุดนิ่ง  แต่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มีแรงกดดัน หรืออิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ รอบด้าน  จึงต้องมีการวิจัยตรวจสอบเชิงระบบในแง่มุมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  สำหรับเป็นเข็มทิศชี้ทางต่อการวิวัฒนาการระบบ  ให้วิวัฒน์หรือดีขึ้น ไม่ใช่วิบัติ หรือเสื่อม

ประเทศไทยเราก็โชคดีเช่นกัน ที่มีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.​๒๕๓๕   ได้สร้างผลงานวิจัยเชิงระบบที่มีคุณประโยชน์มากมาย  ที่จริงโครงการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ที่เวลานี้จัดการโดย สปสช. เป็นองค์กรหลัก ก็มาจากผลงานวิจัยของ สวรส.  รวมทั้ง สสส. และ สรพ. ก็มาจากการวิจัยของ สวรส. ทั้งสิ้น

มองจากประชาชน ผู้รับการคุ้มครอง  นักวิชาการบอกว่า ประชาชนต้องเข้าถึงบริการที่จำเป็น (Access)  อย่างเท่าเทียมกัน (Equity)  โดยที่บริการนั้นต้องมีคุณภาพดี (Quality)  ตรงคุณภาพนี้ ประเทศไทยเราก็มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนคุณภาพของระบบริการสุขภาพทุกระดับ

ในการประชุม 2ndGlobal Symposium on Health Systems Research (31 Oct. – 3 Nov. 2012) ที่ปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๓๑ ต.ค. มีการนำเสนอเรื่อง การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศ BRICs  คือ บราซิล  รัสเซีย  อินเดีย  และจีน  ผมประทับใจประเทศบราซิลมาก  ที่มีการวิจัยตรวจสอบการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ที่เกิดจากระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าด้วย  และวางยุทธศาสตร์ลดการเสียดุลย์ลง  โดยผลิตยาและเวชภัณฑ์ขึ้นใช้เอง

ประเทศไทยเรายังขาดการวิจัยระบบ ที่ตรวจสอบขนาดและแนวโน้มของการขาดดุลการค้า ที่เกิดจากระบบสุขภาพ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ย. ๕๕


· เลขที่บันทึก: 509774

 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

กิจกรรมนี้ ช่วยให้ นศ. ตระหนักว่ามิติเชิงคุณค่า เจตคติ ฯลฯ ของตน มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในรายวิชาที่กำลังเรียน และการนำมิตินี้มา ลปรร. ในชั้นเรียน ช่วยให้ตนเองเข้าใจตนเองมากขึ้น เห็นโอกาสพัฒนาตนเองมากขึ้น

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 55. เจตคติและคุณค่า  (7) อัตตชีวประวัติ

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด  จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๕๕นี้ ได้จาก Chapter 17  ชื่อ Attitudes and Values  และเป็นเรื่องของ SET 35 : Autobiographical Reflections

บทที่ ๑๗ ว่าด้วยเรื่องการเรียนรู้ด้านคุณค่าและความหมายในชีวิต  รู้จักตนเอง และพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงด้านในของตนเอง  ประกอบด้วย ๖ เทคนิค  คือ SET 35 – 40  จะนำมาบันทึก ลปรร. ตอนละ ๑ เทคนิค

SET 35  : Autobiographical Reflections

จุดเน้น  : บุคคล

กิจกรรมหลัก :  การเขียน

ระยะเวลา  :  ๑ คาบ

โอกาสเรียน online  : สูง

การรู้จักตนเอง เป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้  เทคนิคเขียนอัตตชีวประวัติเชื่อมโยงกับสาระวิชาที่ได้เรียนรู้  ช่วยให้ นศ. ได้ทบทวนตนเอง   ในเรื่องความเชื่อ เจตคติ คุณค่า สิ่งที่ชอบไม่ชอบ พื้นความรู้ ปัญหาการเรียน อคติ และอื่นๆ

กิจกรรมนี้ ช่วยให้ นศ. ตระหนักว่ามิติเชิงคุณค่า เจตคติ ฯลฯ ของตน มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในรายวิชาที่กำลังเรียน   และการนำมิตินี้มา ลปรร. ในชั้นเรียน ช่วยให้ตนเองเข้าใจตนเองมากขึ้น  เห็นโอกาสพัฒนาตนเองมากขึ้น

ขั้นตอนดำเนินการ

1. ครูกำหนดว่า ต้องการให้ นศ. เล่าเรื่องชีวิตของตนในแนวใด เพื่อให้เชื่อมโยงกับวิชาที่กำลังเรียน  เช่น ประสบการณ์ในชีวิตที่ทำให้ชอบหรือไม่ชอบวิชานั้น  การได้เรียนวิชาอื่นมาก่อน ทำให้เรียนวิชาปัจจุบันได้สนุกและน่าสนใจ  ประสบการณ์ทำกิจกรรม ที่ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะหรือความรู้ที่เชื่อมโยงกับวิชานั้น เป็นต้น

2. กำหนดการเขียนเล่าชีวประวัติให้แคบเข้า  เช่นเอาเฉพาะช่วงเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา  เอาเฉพาะเรื่องในครอบครัว  เอาเฉพาะเรื่องงาน

3. เพื่อไม่ให้ นศ. เขียนเล่าออกนอกเรื่อง หรือน้ำท่วมทุ่ง  ครูกำหนดความยาว คำถาม หรือกรอบประเด็น

ตัวอย่าง

วิชาพีชคณิตเบื้องต้น

ครูใช้ข้อมูลของวัตถุประสงค์ของวิชา และผลการทดสอบพื้นความรู้คณิตศาสตร์ของ นศ.  ให้ นศ. ทำงานตามคำสั่งดังนี้  “ให้ นศ. ใช้เวลา ๑๕ นาที  เขียนเรียงความความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ  บอกประสบการณ์ประทับใจที่สุดในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  หากเป็นประสบการณ์ที่เป็นบวก ให้อธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  หากประสบการณ์เป็นลบ ให้อธิบายว่าทำไมจึงเป็นประสบการณ์ไม่ดี  และให้แนะวิธีดำเนินการที่แตกต่าง ที่จะทำให้เป็นประสบการณ์ที่ดี  โดยผู้ดำเนินการอาจเป็นครู ตัว นศ. เอง หรือเพื่อน นศ. ก็ได้”

ก่อนให้ นศ. ส่งเรียงความ ครูให้ นศ. จับคู่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  แล้วให้ นศ. ทั้งชั้นช่วยกันทำรายการว่า พฤติกรรมใดบ้างของตัว นศ.  และของตัวครู  ที่จะช่วยให้การเรียนของ นศ. สนุกและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

วิชาดนตรีพหุวัฒนธรรมของอเมริกา

เพื่อช่วยให้ นศ. เชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวเข้ากับเนื้อหาในวิชา และให้ตระหนักอิทธิพลของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม ที่มีต่อความชอบไม่ชอบชนิดของดนตรี  ครูจึงมอบงานแก่ นศ. ในช่วงต้นเทอม ดังนี้

“ให้เขียนอัตตชีวประวัติ ๑,๐๐๐ คำ  เชื่อมโยงพื้นฐานทางครอบครัวของตนเองกับรสนิยมด้านดนตรีของตัว นศ. เอง  แบ่งข้อเขียนออกเป็นช่วงๆ ตามช่วงชีวิตของ นศ. ดังนี้

·  ก่อนคลอด  มีอะไรเกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณ และเกิดขึ้นในโลก ในช่วง ๒๕ ปี ก่อนคุณเกิด  พ่อแม่และปู่ย่ายตายายของคุณฟังดนตรีชนิดไหน

·  อายุ ๐ - ๕ ปี  เล่าประสบการณ์ดนตรี ที่ได้ฟังตอนป็นเด็ก  เพลงกล่อมเด็ก เพลงลูกทุ่ง (folk song) ชนิดไหนที่จำได้  ชาติพันธุ์และเชื้อชาติมีอิทธิพลแค่ไหนต่อประสบการณ์เหล่านี้  เล่าประสบการณ์อื่นๆ ที่มีผลต่อรสนิยมดนตรีของคุณ

·  อายุ ๖ - ๑๒ ปี  คุณฟังดนตรีอะไรในช่วงนี้  เล่าประสบการณ์ดนตรีที่สำคัญ เช่นการเรียน/ฝึก ดนตรีในโรงเรียน  การเล่น/ฟังดนตรีในงานเทศกาล  การมีพี่/น้อง เล่นดนตรี

·  อายุ ๑๓ - ๒๑ ปี  เล่าเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อรสนิยมดนตรีของคุณ  เวลานี้คุณชอบ/ไม่ชอบ ดนตรีแบบไหน  รสนิยมนี้เกิดจากอะไร  มีการเปลี่ยนรสนิยมไหม  การเปลี่ยนนั้นเกิดจากอะไร

·  ถ้า นศ. อายุเกิน ๒๑ ปี  คุณมีประสบการณ์ดนตรีอย่างไรบ้างหลังอายุ ๒๑ ปี  รสนิยมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง  เพราะอะไร

·  ทบทวนประสบการณ์ชีวิตด้านดนตรีในภาพรวม  เวลานี้คุณอายุเท่าไร  เล่าสภาพแวดล้อมในชีวิต  คุณคิดว่าประสบการณ์ชีวิตที่สำคัญที่สุดที่กำหนดรสนิยมด้านดนตรีของคุณคืออะไร  เปรียบเทียบกับ นศ. คนอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันในด้านอายุ เพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ฯลฯ รสนิยมดนตรีแตกต่างกันอย่างไร”

การประยุกต์ใช้ online

ใช้ได้ง่าย  โดยกำหนดให้ นศ. แต่ละคนจัดทำเว็บเพจอัตตชีวประวัติของตน  ใส่ ภาพ คลิปเสียง หรือคลิปวิดีทัศน์

การขยายวิธีการหรือประโยชน์

·  เพื่อเพิ่มความรู้จักตนเอง  กำหนดให้ นศ. ใคร่ครวญและเขียนอธิบายว่าทำไมเหตุการณ์ที่เขียนจึงมีความหมายต่อรสนิยมดนตรีของตน

·  ให้ใส่ มัลติมีเดียลงในเรียงความ เพื่อเพิ่มสีสัน

·  เก็บเรียงความไว้  ตอนปลายเทอมส่งคืน นศ.  ให้เขียนเล่าเพิ่ม ว่ารสนิยมและความเห็นต่อดนตรีของตนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในระหว่างเรียนวิชานี้

คำแนะนำ

ในวิชาระดับเบื้องต้น  การเน้นทำความเข้าใจทัศนคติต่อการเรียนสาระวิชา จะช่วยลดความเครียดหรือวิตกกังวล ต่อวิชาที่ นศ. เลื่องลือกันว่าเรียนยาก  เช่นคณิตศาสตร์ สถิติ การพูดในที่สาธารณะ เป็นต้น  รวมทั้งช่วยให้ครูทำความเข้าใจพื้นความรู้ของ นศ. ด้วย

เมื่อ นศ. ทำความเข้าใจ หรือเรียนรู้ตนเอง  ก็จะเรียนรู้เรื่องราวของเพื่อนด้วย  เทคนิคนี้จึงช่วยให้เกิด การเรียนรู้เชิงสังคม เช่นเกิดความเห็นอกเห็นใจคนอื่น  ความสามารถมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับคนอื่น  โดยเฉพาะคนที่มีผิวและเชื้อชาติแตกต่างกัน   เกิดทักษะเชิงพหุวัฒนธรรม

หากครูอ่านอัตตชีวประวัติพบว่า นศ. จำนวนมากมีความกังวลต่อการเรียนวิชานั้น  ให้บอกเรื่องนี้แก่ชั้นเรียน  เพื่อให้ นศ. ใจชื้นว่ามีเพื่อนอีกหลายคนที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน

นศ. บางคนไม่สบายใจที่จะบอกเรื่องส่วนตัวของตน  อย่าบังคับ  ให้อธิบายว่าการเรียนด้วยเทคนิคนี้จะช่วยการเรียนรู้อย่างไร  แต่หากยังมี นศ. ที่ไม่สบายใจที่จะเขียน  ก็ให้ นศ. คนนั้นทำอย่างอื่นแทน

การเขียนอัตตชีวประวัติใช้เวลา  ครูจึงควรใส่ข้อจำกัดเพื่อทำให้เป็นข้อเขียนที่สั้น  และครูต้องอ่านและตอบสนอง

ข้อเขียนเหล่านี้ ช่วยให้ครูปรับการจัดการเรียนการสอนแก่ชั้นให้เหมาะสมแก่ นศ. กลุ่มนั้นยิ่งขึ้น  และอาจค้นพบ นศ. พิเศษ สำหรับทำหน้าที่ช่วยครู หรือเชิญให้แสดงหรือนำเสนอแก่ชั้นเรียน

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

Angelo TA, Cross KP. (1993). Focused autobiographical sketches. Classroom assessment techniques. San Francisco : Jossey-Bass, pp. 281-284.

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๕๕

 

 

ตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตน์ ทัศนศึกษา จ. น่าน (๓) เรือนจำชั่วคราวเขาน้อย

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๘ ต.ค. ๕๕ เราตามเสด็จไปที่เรือนจำชั่วคราวเขาน้อย ต. ไชยสถาน  อ. เมือง ซึ่งอยู่ห่างที่พักของเราไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร  จากรายงานของ พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์  เราจึงรู้ว่าที่จริงนี่คือศูนย์ฝึกอาชีพ แก่ผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ  และยังให้บริการฝึกแก่คนทั่วไป  และเป็นที่ศึกษาดูงานของนักศึกษาและนักเรียนด้วย  ผู้ต้องขังอาจมาฝึก ๒ เดือน - ๑ ปี

 

พอรถเลี้ยวเข้าไปบริเวณเรือนจำชั่วคราว  Prof. Lucas ซึ่งเป็น IAC คนหนึ่ง ก็ร้องว่า ร่มรื่นยิ่งกว่าที่โรงแรมเสียอีก  เราน่าจะมาพักที่นี่มากกว่า  คณะตามเสด็จหลายคนก็กล่าวเช่นนี้

 

เมื่อลงจากรถ (ป็นรถบัสของกรมการขนส่งทหารบก ๒ คัน จัดถวาย)  เรานั่งรถรางไปยังศาลาเอนกประสงค์ เพื่อฟังการบรรยายสรุป ด้วยวิดีทัศน์  หลังการบรรยายสรุป  จุดแรกที่ไปชมคือห้องสมุดพร้อมปัญญา  ที่ทรงมีพระกรุณาให้จัดขึ้น และพระราชทานหนังสือให้อยู่เสมอ  เราได้เห็นหนังสือดีๆ ที่ผมเองก็อยากอ่าน (แต่ไม่มีเวลา) แล้วเดิน ผ่านสวนที่จัดแสดงผลงานของเรือนจำในภาคเหนือ  และขึ้นรถรางผ่านแปลงปลูกหม่อน  ไปชมเรือนเลี้ยงตัวไหม   ได้ความรู้ว่า ตั้งแต่ฟัก จนถึงระยะดักแด้ ใช้เวลา ๑๘ - ๒๒วัน  ไปชมการต้มดักแด้ สาวใยไหม  กรอเส้นไหม  และทอผ้าไหม

 

แล้วไปชมการผลิตปุ๋ยหมัก  การบรรจุภัณฑ์  ในเรือนนี้มีการสาธิตการเลี้ยงชันโรงด้วย  ผลดีจากชันโรง คือช่วยผสมเกสร ช่วยให้ผลิตผลของต้นไม้ดีขึ้น  และยังได้น้ำผึ้งชันโรงด้วย

 

จากนั้นไปยังบริเวณแสดงผลิตภัณฑ์จากหม่อน  มีน้ำลูกหม่อนให้ดื่ม อร่อยดี

 

หลังปลูกต้นจำปีสิรินธร ๑ ต้น ที่หน้าอาคารอบรม  ก็เสด็จต่อไปยัง รพ. น่าน

 

สรุปได้ว่าศูนย์ฝึกอาชีพนี้ ฝึกอาชีพด้านการเกษตร  ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์  พืชที่ปลูกมีหม่อน  ไม้ยืนต้น  ไม้ผล  ผักปลอดสารพิษ  ปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน  ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงคือหมู  โคพันธุ์พื้นเมือง  กระต่าย  สัตว์ปีก  กบ  จิ้งหรีด และเลี้ยงไหม  และยังมีการฝึกทำเษตรผสมผสานบนพื้นที่ ๑ ไร่ด้วย   ตอนที่เรานั่งรถรางผ่านสวนป่า  เห็นวิธีเก็บใบไม้สุมรวมกันให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย

 

ในเอกสารแนะนำโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน์ ของเรือนจำ ระบุว่า มีกิจกรรมพัฒนาผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีสู่สังคมด้วย

สนใจชมภาพและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/508934

 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ต.ค. ๕๕

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย

พิมพ์ PDF

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

เรียนอาจารย์หมอวิจารณ์ที่เคารพและนับถือ

ในเดือนพฤศจิกายน 2555 มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ใน University Ranking By Academic Performance (URAP) จำนวน 17 แห่ง ตามลำดับ (Country Ranking/World Ranking) โดยรวม ดังนี้

Mahidol University (1/356)

Chulalongkorn University (2/418)

Chiang Mai University (3/621)

Prince of Songkla University (4/775)

Khon Kaen University (5/805)

Kasetsart University (6/903)

King Mongkut's University of Technology Thonburi (7/1230)

Thammasat University (8/1293)

Suranaree University of Technology (9/1458)

Asian Institute of Technology (10/1465)

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (11/1536)

Naresuan University (12/1570)

Silpakorn University (13/1654)

Srinakharinwirot University (14/1711)

Mahasarakham University (15/1761)

Mae Fah Luang University (16/1867)

Burapha University (17/1878)

นอกเหนือจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยรวม (Overall Ranking) แล้ว URAP ยังจัดอันดับตามกลุ่มสาขา (Field Based Ranking) อีก 6 สาขา คือ 1) Engineering, Computing & Technology 2) Agricultural & Environmental Sciences 3) Natural Sciences 4) Clinical Medicine 5) Life Sciences 6) Social Sciences โดยตัวชี้วัด 6 ตัว เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนและคุณภาพของผลงานที่ได้จากฐานข้อมูล ISI Web of Knowledge ดังมีรายละเอียดอยู่ในไฟล์ URAP2012-2013.pdf ที่แนบ หรือดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.urapcenter.org/2012/country.php?ccode=TH&rank=all

ขอความกรุณาอาจารย์พิจารณาให้ชาวมหาวิทยาลัยได้ ลปรร ในเรื่องนี้กันต่อไปตามที่อาจารย์เห็นสมควรด้วย จะขอบคุณมาก

ด้วยความเคารพและนับถือ

มงคล รายะนาคร

ผมจึงนำมาลงบันทึกไว้ตามเคย  และขอขอบคุณ ดร. มงคล ที่กรุณาส่งมาให้

วิจารณ์ พานิช

๑๕ พ.ย. ๕๕

 

 

เออีซีกับตัวชี้วัดความสาเร็จ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)) (โพสต์ทูเดย์)

พิมพ์ PDF

หลังจากผู้นาอาเซียน 10 ประเทศ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นภายในปี 2558 โดยประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ตัวชี้วัดความสาเร็จของเออีซีนั้น การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมุ่งไปที่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกันนั้น เออีซีจาเป็นที่จะต้องมีตัวชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุนเงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี รวมถึงตัวชี้วัดในเรื่องของการขนส่งไอซีที และด้านพลังงานอีกด้วย

ทีมวิจัยของทีดีอาร์ไอได้สารวจและเก็บข้อมูลจากบริษัทเอกชน 30 แห่ง เพื่อสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการสร้างตลาดและฐานผลิตร่วมกันในอาเซียน โดยตัวชี้วัดที่บริษัทเอกชนเห็นว่ามีสาคัญและควรทาให้สาเร็จภายในปี 2558 คือ การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและการจัดการภาษีนาเข้าให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและระบบจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น การประสานงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างองค์กรในการออกสิทธิบัตรต่างๆ และทาให้กฎแหล่งกาเนิดสินค้ายืดหยุ่นและง่ายต่อการทาธุรกิจมากขึ้น

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังระบุตัวชี้วัดสาคัญอื่นๆที่มีผลสาคัญต่อความสาเร็จของเออีซี อาทิ ตัวชี้วัดในภาคบริการ โดยพบว่าธุรกิจภาคบริการในแถบประเทศอาเซียนยังถูกควบคุมโดยกฎหมายภายในประเทศเป็นจานวนมาก ซึ่งประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการเปิดเสรีภาคบริการได้ สาหรับประเทศไทยรัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจในการเปิดเสรีภาคบริการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเงินทุน รวมทั้งรัฐต้องพิจารณากฎหมายและข้อจากัดภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีภาคบริการอีกด้วย

สาหรับตัวชี้วัดในข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนและการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในการสนับสนุนนักวิชาชีพ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีและส่งเสริมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนให้เป็นวาระแห่งชาติ

ตัวชี้วัดในมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการประสานงาน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนามาตรฐานเหล่านี้ไปปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งอาเซียนควรเร่งลดความไม่เท่าเทียมกันของมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้ของแต่ละประเทศสมาชิก

ตัวชี้วัดในการอานวยความสะดวกในการลงทุนจากงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่าบีโอไอยังมีข้อจากัดในการส่งเสริมวัฒนธรรมการลงทุนจากมุมมองของภาคเอกชน การพัฒนาส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจเชิงลึกและการพัฒนางานวิจัยภายในองค์กร ดังนั้นบีโอไอควรศึกษาช่องว่างของภาคธุรกิจภายในประเทศ และมุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนที่เพิ่มมูลค่ารวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการพัฒนาภายในประเทศ

อีกประการสาคัญ คือ ตัวชี้วัดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่องค์ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ควรได้รับการเผยแพร่และเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างเข้มงวด โปร่งใสเพื่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามมากขึ้น

 


หน้า 518 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8661842

facebook

Twitter


บทความเก่า