Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

Managing Self Performance

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum-Activities & Game Simulation

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

·  การเป็น The best ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่การเป็น great person เราสามารถเป็นได้ด้วยตนเอง

·  Competency หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะและคุณลักษณะซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติและแรงบันดาลใจที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

·  เราต้องเข้าใจตัวตนเราดีก่อน

·  คุณลักษณะที่มองเห็นคือ ทักษะและความรู้

·  คุณลักษณะที่มองไม่เห็นคือ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม การมองตนเอง

·  คุณลักษณะหนึ่งที่สำคัญที่เป็นสมรรถนะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ

1.  ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

กิจกรรม แข่งกระโดดสูง

บทเรียน

·  สิ่งที่ทำให้คนคิดว่าตนทำได้ดีและทำได้ไม่ดี ก็คือการขาดประสบการณ์ทำให้ทำได้ไม่ดี

·  คนเดิมกระโดด 2 ครั้งเป็นการ Benchmark จะได้เป็นการพัฒนา

·  คนทำได้ดีขึ้นเพราะการตั้งเป้าหมาย

·  สิ่งที่ทำให้คนมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีขึ้นและไปสู่เป้าหมายที่สูงกว่า ก็คือ การแข่งขัน คนชอบแข่งขันต้องทำให้ผลักดันตนเองได้

·  เคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือฝึกสภาวะจิตให้มองเห็นภาพตนเองเป็นผู้ชนะ

·  ต้องมีเป้าหมาย และลองทำอะไรบางอย่าง จะได้ข้อมูลไปปฏิบัติ

วิธีก้าวจากจุดที่คุณอยู่ข้ามไปสู่จุดที่คุณต้องการ

1.คุณต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง 100%

·  สูตร: รับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100% โดย ดร.โรเบิร์ต เรสนิก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

·  E (เหตุการณ์)+R (ตอบสนอง) = O (ผลลัพธ์)

·  ถ้าเรายังไม่พอใจผลลัพธ์ในปัจจุบัน เรามี 2 ทางเลือก

·  โทษเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์

·  เปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์

·  อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

·  คนเราไม่ได้เกิดมาล้มเหลว ถ้าไม่ล้มเลิก

·  บางทีเรามีปัญหาการสื่อสารในองค์กร ควรเปลี่ยนปัญหาเป็นคำถามว่า ควรทำอย่างไรให้การมีประสิทธิภาพ

·  ควรจะหยุดโค้ชตอนมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

·  สมองทำงานได้ทีละอย่าง ถ้าทำหลายอย่างจะทำให้เป็นมะเร็งและตายเร็ว ผู้หญิงมีภาระมากจึงทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

·  เราเป็นผู้ลงมือทำไม่ใช่รอให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น

·  ต้อง Empowerment Accountability

2.เข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้ คือ

·  เข้าใจตัวคนของคุณ

·  อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ

·  เห็นภาพการแสดงออกของผู้คนรอบตัวคุณอย่างไรในโลกอันสมบูรณ์แบบต่อการใช้ชีวิต

·  กิจกรรม ชมวีดิทัศน์ โจน จันได บทเรียนคือ คนเรามีสิทธิ์จะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ ต้องรู้จักเผชิญหน้ากับความจริง

·  คำกริยา 3 คำที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์ Be, Have, Do

·  ต้องแบ่งเวลามาคุยกันอย่างมีเป้าหมาย

·  จะประสบความสำเร็จได้ ต้องรู้ผลลัพธ์และลงมือปฏิบัติ

·  เวลาบริหารเวลาก็ต้องมีเข็มทิศชีวิตด้วย ต้องมีเป้าหมายก่อนที่จะบริหารจัดการเวลา

·  ภาวะทางจิตมีอิทธิพลต่อผลสำเร็จของการกระทำ

·  กิจกรรม Life Mapping วิเคราะห์ Discover ทำ Historical Scan หาจุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างน้อย 5 จุดเปลี่ยน (Tipping Points Life map) แล้วจะทราบ Dream, Design และ Destiny

·  Hierarchy of Ideas

·  Chunking up คือ การคิดถึงจุดประสงค์ เจตนา ภาพรวม

·  Chunkingdown คือ การคิดถึงตัวอย่างเฉพาะเจาะจง

·  Chunkingside way คือ คิดว่ามีอะไรที่สามารถทำได้อีก  ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

·  R.P.M. เป็นการวางแผนชีวิตโดยคิดถึงสิ่งเหล่านี้

·  Result

·  Purpose

·  Massive Action Plan

·  ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายในงานให้อะไรกับชีวิต แต่ต้องรู้เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต

·  ต้องให้เห็นผลไม่ใช่ให้เห็นว่าเป็นแค่งานเท่านั้น

·  เมื่อรับงานมาแล้ว ถามว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากงาน จะกลายเป็นตัวตนของเราในอนาคต

·  ควรชมลูกน้องที่คุณสมบัติที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

พิมพ์ PDF

Panel Discussion

หัวข้อ “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ ศานติจารี

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ: อยากให้การพบปะเจอรุ่นพี่รุ่นน้องได้เจอกันแบบนี้บ่อยๆ และมีการเชื่อมโยงกันทาง Social media กันอย่างต่อเนื่อง  อยากให้บรรยากาศวันนี้เป็นการแชร์ความรู้กัน

อาจารย์ ธรรมรักษ์: ธรรมภิบาล คือ การบริหารกิจการที่ดี สิ่งที่ค้นพบในการทำงาน คือ เปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก คนที่บริหารกิจการที่ดีที่ค้นพบ คือ ถูก และสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น เน้นกรอบคิดและหลักนิยม โดยมีการสอน (teaching) และควบคุมกำกับ บังคับบัญชา ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบจากบนลงล่าง ผมรับราชการมีการตรวจสอบทุกขั้นตอน

การบริหารยุคเก่าเป็นการกำกับโดยระเบียบทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เหมาะสำหรับระบบเครื่องจักร

การบริหารกิจการที่ดีเป็นการริเริ่มของใหม่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 ทำอย่างไรให้คนมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะชินกับการดำเนินการแบบเก่าที่มีระเบียบแผนชัดเจน ขาดการเปลี่ยนแปลงใช้ความคิด แบบเก่า ที่ต้องเปลี่ยนเป็นความคิดแบบใหม่แบบมีส่วนร่วม อย่างบูรณาการไร้พรมแดน

Empower เป็นสิ่งจำเป็น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยได้ใช้ ใช้แต่ power

การสร้างผู้นำ ต้องเป็นผู้นำที่มีลักษณะที่มีความรู้สึกตระหนักในตนเองในเรื่องธรรมภิบาล

ประเทศไทยขาดเรื่อง Leadership อย่างมาก ซึ่งต่างจากในอดีตมาก

วิธีสร้างผู้นำนั้น ต้องสร้างการเรียนรู้ เรื่องธรรมาภิบาลให้เกิดเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ในองค์กร สิ่งที่ควรจะทำคือ ให้ผู้นำในองค์กร empower  และต้องเรียนรู้และตระหนักด้วยตนเอง คือให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์เอง โดยลองให้วิเคราะห์ SWOT โดยให้ทุกคนมีส่วนเรียนรู้

ต้องมองด้วยกันว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบท และต้องทำอย่างโปร่งใส เพราะมีประชาธิปไตย และโลกเปิดกว้าง ถ้าเราไม่เรียนรู้ด้วยตนเองหวังพึ่งคนมาเล่า มาถ่ายทอด ก็ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้ ยุทธศาสตร์คือ คนระดับกลางบริหารการเปลี่ยนแปลง มีแผนร่วมคิดร่วมทำ ติดตามประเมินผล และต้องสร้างระบบที

ต้องปฎิบัติและเกิดจากการเรียนรู้ในหน่วยงาน เริ่มจากผู้นำหน่วยเริ่มจากคนระดับกลาง เห็นค่านิยมเอง เค้าก็จะไปเป็นตัวนำลูกน้อง และเมื่อขึ้นตำแหน่งก็จะสอนลูกน้องได้อย่างยั่งยืน

อ.จีระ: ในอนาคตขอความร่วมมือจากท่านธรรมรักษ์เพิ่มขึ้น ในรุ่น 9 มี issue อยู่ 4 เรื่อง ต้องจัดการกับชุมชน innovation ไม่เฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น จัดการกับความเปลี่ยนแปลงกับนโยบายรัฐบาลกับนักการเมือง  ซึ่งธรรมาภิบาลจะเป็นสิ่งที่ป้องกันไว้ได้ เรื่องสุดท้ายอยากเห็นกฟผ.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประเทศ ต้องแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศ เน้นเรื่องความโปร่งใส

ท่านไกรสีห์: ท่านธรรมรักษ์ปูพื้นฐานเรื่องธรรมาภิบาลไว้เป็นอย่างดี  ข้อหนึ่งที่พ่อค้าบอกกับกฟผ.คือ คนกฟผ.เป็นคนดี และทำงานด้วยความสบายใจ เพราะทำงานแบบไม่มีการทุจริตกัน

ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้รับการประท้วงจากชาวบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานได้ยากขึ้น ส่งผลให้งานบางอย่างต้องยกเลิกไป ส่วนใหญ่เป็นงานที่มักจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน

ความสมดุลในการทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องมีการทำงานที่นึกถึงความปลอดภัยของชุมชนเรื่องสิ่งแวดล้อมและประชาชน ต้องไม่เน้นน้ำหนักไปที่เรื่องต้นทุนถูก การสร้างและทำแผนต่างๆ มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ เพราะเราสร้างสายส่งไม่มีใครอยากให้ทำ เพราะที่จะราคาตก  การทำประชาพิจารณ์น้อยมาก เพราะเราถือว่ามีอำนาจพรบ.อยุ่ในมือ ส่งผลให้เริ่มปัญหา ประชาชนต่อต้าน ส่งผลให้กฟผ.เดินหน้าลำบาก และต้องคิดว่าทำอย่างไรกฟผ.ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ธรรมาภิบาล PATE

P=Participation การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญ

A=Answerability  ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้ถูกต้อง

T=Transparency  ความโปร่งใส

E= Efficiency และ Effectiveness

เป็นการบริหารแนวใหม่ เพราะโลกให้ความสนใจกับโลกาภิวัตน์และกาบริหารจัดการที่ดีมากขึ้น มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง รัฐธรรมนูญปี 2540-2550 มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการเป็นมนุษย์ และการกระจายอำนาจ

เรื่องภายนอกที่มากระทบกฟผ.เป็นเรื่องปัญหาจากมวลชน ซึ่งมีการปรับตัวที่ช้าเกินไป แต่ต้องยอมรับว่าปรับตัวช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก ซึ่งเป็นช่องว่างให้เกิดปัญหา ซึ่งยากที่จะทำการแก้ไข

การดำเนินงานทุกอย่างต้องให้ความสำคัญกับประชาชน และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น

องค์ประกอบเพื่อความอยู่รอดของกฟผ.

-  ความคุ้มค่า

-  นิติธรรม ข้อสำคัญ คือ การใช้กฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติ  คุณธรรม

-  การมีส่วนร่วม  ต้องเชิญประชาชนที่จะได้รับผลกระทบเข้ามาฟัง ก่อนทีจะสร้างอะไรก็ตาม และต้องฟังความเห็นจากประชาชนด้วย ให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเทคนิค และความจำเป็นต่างๆ

ระดับวางแผนร่วมกัน ซึ่งกฟผ.ยังไม่ได้ทำ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะต้องฟังความหวังจากประชาชน

-  ความโปร่งใส

สิ่งที่ประชาชนต้องการกับการทำงานของกฟผ.

-  Society approach แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

-  มีทางเลือกหลายทาง

-  เข้าใจร่วมกัน

-  มีการออกแบบทางเลือกต่างๆร่วมกัน เปรียบเทียบว่าทางเลือกต่างช่วยด้านไหนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

-  ต้องให้การศึกษา และคุยเพื่อให้มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายร่วมกัน

อ.จีระ: ทุกปีท่านไกรสีห์จะมาร่วมกับการอบรม สรุปมี 2 เรื่อง คือ ธรรมาภิบาลจะทำให้อยู่อย่างยั่งยืน และเกิดจากการที่บริหารกาเปลี่ยนแปลงให้ได้

อยู่มา 9 รุ่นเห็นความเข้มแข็ง และเห็นจุดแข็งและจุดอ่อน ระหว่างengineering และชุมชน การที่เราต้องสร้างองค์การแห่งความเรียนรู้เป็นสิ่งทีจำเป็นเช่นกัน

ท่านสมบัติ: เรื่องธรรมาภิบาลมาเกิดหลังๆ  สมัยนั้นมีการบริหารงานที่ดี ตรวจสอบได้ ซื่อสัตย์สุจริต ธรรมภิบาลมีการจัดอบรมที่เยอะมาก คือ ขบวนการที่กับดูแลให้บริหารงานดีที่สุด เพื่อให้ผู้ส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเป็นธรรม ผุ้ควบคุมคือ ฝ่ายบริหารโดยให้กรรมการมาเป็นคนควบคุม โดยใช้วิธีเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้

1.บริหารด้วยความครบถ้วน

2. ซื่อสัตย์สุจิตต่อตนเอง

3. ปฏิบัติตรามกฎระเบียบ

4. แสดงข้อมูลให้ทุกฝ่ายรับรู้

ตลาดหลักทรัพย์และองค์กรต่างๆมีการทำวิจัยว่า ธรรมภิบาลได้ประโยชน์อะไรกับองค์กร

หน่วยงานที่ไม่มีธรรมาภิบาล ก็จะไม่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นบริษัทต่างๆก็จะแข่งเรื่องธรรมาภิบาล

ดูเว็ปไซด์กฟผ. รู้สึกดีใจ ที่ได้เห็นวัฒนธรรมองค์กรที่ รักองค์กร  เชิดคุณธรรมและมีความสามัคคี ทำงานทุ่มเทเพื่อประโยชน์องค์กรมากกว่าส่วนตน  เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากฟผ.มีธรรมภิบาล สมัยที่ผมทำงานกับผู้ว่าเกษม ปัจจุบันผ่านมา 43ปี  คุณภาพของกฟผ.ได้รับความเชื่อถือ และมีคุณภาพดี

กฟผ. ในสมัยก่อนไม่ได้ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีกฏหมาย หลังจากมีกฎหมายก็ทำตามกฎหมาย ปี 35 ปีกาสำรวจความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อม

หลังปี 40 รัฐธรรมนูญแบ่งบาน นโยบายต้องกระจายให้ทุกคนต้องทราบ  พัฒนาปรับปรุงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีธรรมาภิบาลกัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการทำงานเชิงรุก มีคนต่อต้านบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา

ผู้บริหารไม่เคยละเลยปัญหาการร้องเรียน แต่กฟผ.ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะ วัฒนธรรมที่ตกทอดกันมานาน สายงานที่มีคนช่วยกันดู และเรียนรู้ว่าใช้ระเบียบของworld bank ที่มีมาตรฐาน และมีความน่าเชื่อถือ

ผมเข้าเว็บไซด์ กฟผ.เข้าธรรมะออนไลน์  ซึ่งสื่อแล้วว่ากฟผ.มีธรรมาภิบาล ซึ่งสั่งสมวัฒนธรรมเรื่องความโปร่งใสมาอย่างยาวนาน ปัญหาขององค์กรอื่นที่มีเราไม่มี เพราะเจ้าของที่แท้จริง คือ ประชาชน แต่อยู่ในนามรัฐบาลเท่านั้นเอง

อ.จีระ: ท่านผู้ว่าท่าน 2 ท่านมีประสบการณ์และมุมมองที่ชัดเจน  รุ่นต่อไปต้องเชิญคนพูดเรื่องกฎหมายมาบ้างก็ดี ประเด็นของท่านสมบัติ คือ เรื่องความโปร่งใสของกฟผ. ซึ่งต้องมองไปเรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนนอกองค์กร ที่ต้องจัดการเรื่องปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม กับชุมชน  และเรื่องธรรมาภิบาล  ของกฟผ.ก็ต้องรักษาไม่ให้มีอำนาจรัฐแทรกแซง

ปปช. เคยทำเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสนามบินสุวรรณภูมิ  แต่ในกฟผ.เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่โปร่งใสมาก

ธรรมาภิบาลของกฟผ.ควรกระเด้งไปช่วยเรื่องของชุมชน และปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องจัดการ

คำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรม

1. คุณสมเกียรติ ขอบคุณท่านสมบัติที่ทำให้ธรรมาภิบาลของกฟผ. เป็นอันดับต้นๆของประเทศ

เรืองนิติธรรมของท่านไกรสีห์ การบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันทำได้ยาก เพราะในระยะยาวผู้ที่อยู่ไซด์งานกับชุมชนจะอยู่ยาก ควรทำเรื่องพรบ.กฟผ. ควรทบทวนว่าอันไหนแข็งไป และเอาเปรียบชุมชน

อ.จีระ: เห็นด้วยว่าเรื่องธรรมาภิบาลกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่เป็นจุดหักเหที่ทำแล้วสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ผมทำเรื่องคนมา 35 ปี กฟผ.ต้องทำให้ถึงจุดที่เกิด outcome ไม่ใช่ทำแค่ CSR  ต้องทำให้เกิดเรื่องความสมดุลระหว่างชุมชนและกฟผ.

2. คุณสุวิทย์ เรียนท่านผู้ว่าไกรสีห์เรื่องระบบสายส่งการเมืองเข้ามาไม่ได้ กฟภ.สร้างสายมีสิทธิ์เดินสายตามถนน แต่กฟผ.ไม่มีสิทธิ์ เพราะอำนาจอยู่ที่ regulator ก็จะมีชุมชนมาต่อต้าน

อีกกรณีหนึ่ง โรงไฟฟ้าเอกชน กฟผ.ก็ต้องสร้างสายส่ง ซึ่งทำได้ช้าเพราะทำตามระเบียบ แต่เอกชนทำทุกอย่างได้เร็ว จึงมาฟ้องกฟผ.ว่าแกล้งบ้าง แต่กฟภ.อยากกฟผ.ให้ยก Network 115

อ.จีระ:ขอชมเชยว่าจับประเด็นดีมาก

3. กฟผ.มีธรรมภิบาลและเป็นจุดแข็งของกฟผ.อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและบริหารงาน ประชาชนภายนอกเห็นอยู่แล้ว แต่ทำไมชาวบ้าไม่ยอมรับเวลาจะไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน เพราะมีข้อบกพร่องเช่น เรามีความแตกต่างจากเค้า เช่น รายได้ ส่วนหนึ่งไม่มีการปรับตัว มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งต้องสร้างค่านิยม สร้างคนให้เป็นคนดี และให้ลงไปทำงานกับมวลชนให้ได้

บริษัทสามารถใช้อำนาจใต้ดินได้ ซึ่งต่างจากกฟผ.ที่ไม่สามารถให้เงินกับผู้มีอิทธิพลได้ซี่งเป็นข้อดีของกฟผ.

อ.จีระ :  hr for non hr เป็นแนวคิดที่ควรกระจายให้กฟผ. และ ต้องสร้างให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

โต๊ะสุดท้ายเรื่องท่าทีของกฟผ.ที่อยู่ชุมชนที่ต้องเฟรนลี่เป็นข้อดีอย่างมาก ที่ต้องได้รับการพัฒนา

Session นี้เป็นนวัตกรรมที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงตามความจริง และตรงประเด็น

คุณธรรมรักษ์: ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย ประเด็นแรก กฟผ.มีความสำเร็จ มีธรรมาภิบาลในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเฉพาะความเข้มแข็งนี้โดยเฉพาะผู้นำในยุคแรก จนปัจจุบัน สร้างความยั่งยืนได้ จนถึงอนาคต

ขณะที่เราเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี ต้องไม่ติดยึดกับยุคปัจจุบัน ต้องปรับวิธีคิดไม่ยึดติดกับแนวคิดผู้นำในอดีต
อ.จีระ: ยุคนี้ต้องเตรียมตัวให้ดี ต้อง grooming new leader และต้อง balancing

อย่างเช่นรุ่นนี้ประธานรุ่นเป็นผู้หญิง

คุณธรรมรักษ์ สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนใช้ได้ สิ่งไหนใช้ไม่ได้ เพระเผชิญกับสิ่งใหม่ๆต่างกับสมัยผู้ว่าเกษม โลกใหม่เน้นไซเบอร์ ต้องทันโลก ต้องมีการตรวจสอบอย่างหนัก จึงต้องโปร่งใส มุ่งเน้นประชาชน มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำงานต้องbalancing มีทางสายกลาง

กฟผ. ต้องทำงานรับใช้ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพ เข้าไปสู่นาโน ไบโอเทค โลกสมัยนี้และรุ่นผมมันแตกต่างกัน  ปัจจุบัน ไอแพด และไอโฟน มีประโยชน์มาก แต่เราต้องถึงเทคโนโลยีพวกนี้ให้ได้ด้วย  ด้วยการเรียนรู้ ปรับตัวตลอดเวลา และต้องbalance กับนักการเมือง ไม่ให้มาแทรกแซง ซึ่งต้องทำชุมชนให้เข้มแข็ง โปร่งใส ตรวจสอบได้

ความท้าทายในอนาคตคือ งาน Social network กับชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องมองรอบข้าง มองโอกาส มองอุปสรรค ต้องมองให้ครบ การทำงานต้องมีประสิทธิภาพ และต้องมีประสิทธิผล ต้องมองผลลัพธ์ให้สังคมอยู่ดีมีสุข  ด้วยการทำงานร่วมกับชุมชนโดยเข้าไปอยู่เพื่อให้เห็นทั้งโอกาส และการคุกคาม  ทำงานเพื่อให้ชุมชนได้เห็นภาพกว้างๆ

สิ่งสำคัญที่สุด คือ Facilitators คือ ผู้อำนวยความสะดวกเรียนรู้จากการศึกษา ต้องเปลี่ยนครูให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพราะคนที่อยู่ในเหตุการณ์จะรู้ดีกว่าคนที่อยู่ข้างบน

ผมเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นการเรียนรู้จาก Case มากกว่าเรียนจากทฤษฎี

นิทาน นกกระจิบอยู่รอด นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ นกกระจิบบินเป็นฝูง มีผู้นำฝูง จึงอยู่รอดเพราะอยู่เป็นชุมชน เพราะมีการถ่ายทอดความรู้

นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ เป็นข้าราชการ มันชอบอยู่ที่มืด อยู่กับตัวเมีย เป็นนกรักษาอาณาเขต

เพราะฉะนั้นกาเรียนรู้ละทำงานกับชุมชน ต้องเป็นนกกระจิบจึงจะอยู่รอด

ท่านไกรสีห์: ประเด็นวันนี้คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้าง trust ให้ชาวบ้านหรือประชาชนให้ไว้วางใจกฟผ. ได้ ไม่ใช่แค่ให้กระบวนการเสร็จเท่านั้น

ธรรมะหลวงพ่อชา ท่านว่าพระไตรปิฎกเรารู้หมดก็ดี นำไปปฏิบัติก็ดี จนเห็นธรรมก็ดี แต่ที่ดีที่สุด คือ ใจเราเป็นธรรม คือ ยึดหลักความถูกต้อง การส่งคนที่ไปร่วมทำงานกับชุมชน คือ ต้องเลือกคนที่มีใจด้านนี้ด้วย

โรงไฟฟ้าจะนะ เป็นตัวอย่างที่ทำสำเร็จคือ

1. คนที่ไปมีใจที่จะไปและเหมาะที่ทำงานด้านนี้

2. วิธีการคือ ศึกษาหมดแล้วว่าต้องคุยกับใคร คือ นักการเมือง ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ใช้วิธีปูเสื่อคุยกับชาวบ้าน  และฟังความเห็นจากชาวบ้าน และต้องทำให้เค้ากระจ่าง มีทางป้องกัน ดูแลป้องกันอย่างไร และต้องชี้แจงและนำเสนอทางเลือกร่วมกัน  ซึ่งเป็นวิธีทำให้ชาวบ้านยอมรับได้เป็นอย่างดี ต่างจากโรงไฟฟ้าที่สงขลาเป็นอย่างมาก

การทำงานที่โจทย์เปลี่ยนจะเอาวิธีการสมัยก่อนมาทำไม่ได้แล้ว เพราะวิธีการทำงานก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย

แผน PDP รัฐบาล ให้กฟผ.ทำเฉพาะโรงถ่านหิน โรงนิวเคลียร์ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องดีลกับนักการเมือง แต่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย

ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองก็ดี เพราะเค้าก็มีอำนาจจัดสรรให้เราเช่นกัน

ท่านสมบัติ: สังคมยอมรับกฟผ.ในการที่เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล แต่ทำไมสังคมชุมชนไม่ยอมรับ ซึ่งกฟผ.เองก็ยังปรับปรุงอยู่

การทำความเข้าใจกับประชาชน ยังต้องพัฒนากับด้าน soft side หน่วยงานอื่นจ้างที่ปรึกษา ดังนั้นกฟผ.ควรจะจ้างบ้าง การทำ CSR บางทีก็ไม่ได้ผล

กฟผ.ต้องเปิดตัว ต้องหาคนที่ทำงานเป็น  รอบรู้ทุกด้าน และสามารถเข้ากับชาวบ้านได้

ข้อจำกัดของกฟผ. คือ เราทำยาก หน่วยงานอื่นทำง่าย ต้องมีการพัฒนาบุคลากรที่เรียนรู้ด้านสังคมากขึ้น

 

ผู้เข้าอบรม

4.  ข้อคิดเห็นคือ ผู้บริหารของเราหลังเกษียณแล้วไม่มีจุดด่างพล้อย ไม่มีเรื่องร้องเรียน องค์กรเราแตกแยกกับองค์กรอื่นมากเกินไป สิ่งที่เราขาด คือ ทำอย่างไรจุดแข็งจึงจะส่งต่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่คิดจะเอาเปรียบสังคม ชุมชน เพราะสิ่งที่เราขาดคือเร่องประชาสัมพันธ์

และสิ่งที่บุคคลภายนอกต้องการให้เราทำเพื่ออยู่อย่างยั่งยืนคือ ต้องทำอะไร

5. คุณชัยศักดิ์ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่ต้องให้คนนอกมองเราและบอกเรา  สิ่งที่ผมได้รับคือ ยอมรับด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม แต่กลัวเรื่องการบริหารจัดการเรื่องค่าไฟ 10 ปีที่ผ่านมา FT มีแต่ขึ้นอย่างเดียว คนเลยกลัวว่าไม่มีประสิทธิภาพการจัดการเรื่องค่าไฟอย่างเป็นธรรม และทำอย่างไรคนจึงจะยอมรับ

6. คุณภูวดา ขอถามเรื่องธรรมาภิบาล กฟผ.O&M ธุรกิจบำรุงรักษา และธุรกิจการขาย ซึ่งต้องรวดเร็วเพื่อแข่งกับบริษัทอื่นๆ จึงทำให้ธรรมภิบาลบางข้อขาดไป อยากให้ท่านช่วยแนะนำ Case study ให้ทุกท่านได้รับทราบ

ธุรกิจเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังพัฒนา แต่มักจะทำไม่ได้นาน จึงต้องหาบริษัทนายหน้าเข้ามาช่วย จึงขอถามว่าต้องอาศัยธรรมาภิบาลอย่างไร

เรื่อง CSR ผมยอมรับว่ามีปัญหาจริงๆ ผมไปสุราษฎร์ชาวบ้านแตกตื่นว่ามาทำไม เพราะการทำ csr เกี่ยวกับทุกคนในองค์กรที่ไปงานกับชาวบ้านจริงๆ ตั้งแต่ คนขับรถ และคนที่เข้าไปทำ Outsource ทุกคน

อ.จีระ: ขอชมเชยว่าทุกโต๊ะพูดได้ดี อยากให้มีบรรยากาศแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ท่านสมบัติ: แต่ละกลุ่มให้ข้อสังเกตชัดเจน ต้องทำเรื่อง FT ให้มีความเข้าใจกันทุกฝ่าย ที่ต้องทำงานร่วมกับประชาชนมากขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อ และการสื่อสาร

บริษัทลูกของกฟผ. ต้องทำงานเพื่อให้ได้ผลกำไร ถ้าเราไม่ทำ ก็สู้กับคู้แข่งอื่นไม่ได้ ต้องประเมินผลตัวเองในการรับงานจากข้างนอกด้วย

จุดแข็งของเราคือ อยู่มานาน ประสบการณ์ดี

ท่านไกรสีห์: ต้องให้ชุมชนรู้ว่าเราเป็นมิตรต่อสังคม ซึ่งเรายังอ่อนประชาสัมพันธ์ การที่จะทำให้สังคมไว้ใจ ต้องอยู่ที่การกระทำของเราให้ดีที่สุด ในอดีตต้องยอมรับว่าเราพลาดไปบ้าง ซึ่งทำให้คนจำและไว้ใจเรา เพราะฉะนั้นตอนนี้ต้องทำให้สังคมไม่เดือดร้อน  และต้องมีการเปิดเผยข้อมูล FT ให้ชัดเจน ซึ่งกฟผ.ต้องเปิดเผยมากขึ้น เพื่อให้มีความเข้าใจมากที่สุดเพื่อปราศจากความกลัว

การทำธุรกิจภายนอกให้รวดเร็ว และแข่งขัน หลักธรรมาภิบาล คือ หลัก Efficiency ต้องไม่ผิดต่อหลักจรรยาบรรณ และไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล

เราต้องทำการ Utilization คนกับเครื่องมือ เพื่อหารายได้เข้ามาให้กับกฟผ. ทำเพื่อ Maximization

ท่านธรรมรักษ์: ควรเรียนรู้ความสำเร็จ จากท่านผู้ว่าที่ประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมาทุกท่าน ต้องแชร์ข้อมูล เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ทุกอย่างต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ควรเข้าถึง Social network เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

อ.จีระ: ขอบคุณท่านผู้เข้าอบรมที่ให้ข้อเสนอแนะและคำถามที่ดี ขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านในวันนี้ที่มาแชร์ความรู้กัน

ผมขอฝาก 2 เรื่อง คือ

1.  ต้องมี Deep exchange กับชุมชนมากขึ้น ต้องทำอย่างสมดุล และต่อเนื่อง ตามconcept Deep drive และต้อง relevance

2.  ภาวะผู้นำของรุ่น 9 นี้มีแน่นอน และท่านต้องขึ้นไปเป็นผู้นำ แต่กฟผ.เป็นองค์กรใหญ่ จึงขาดความคล่องตัวในการฉกฉวยโอกาสที่จะทำอย่างต่อเนื่อง เพราะผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อองค์การ แต่ไม่ Relevance ต่อองค์กร

แรงกดดันที่ทำให้เป็น Dynamic leadership ยังมีน้อย

3.  สิ่งที่พูดไปวันนี้คือ Journeyไปสู่เป้าหมาย และต้องลิงค์ไปสู่ Social media เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้กันในอนาคต และต้องมี Process เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้น

-  ถ้าทำงานแบบ Top down ไม่มีความคล่องตัวและไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จช้า

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

พิมพ์ PDF

หัวข้อ  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

27 มีนาคม 2556

ขอถามผู้เข้าอบรมว่าใครเป็นต้นแบบทางจริยธรรม

-  อดีตผุ้ว่ากฟผ. ท่านเกษม

-  ในหลวง

-  ท่านเปรม

สิ่งที่ได้จากการดู VDO

·  การเปลี่ยนแปลง

·  Power of Living

คนไทยเป็นประเทศที่ริเริ่มของอาเซียน แต่ตอนนี้เราอยู่อันดับที่ 8 หรือ 9 แต่เราต้องเข้าไปเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน

สิ่งที่ฝากไว้คือ คนไทยเป็นคนที่มาแต่ร่างจิตไม่มา

30 ปีก่อน ไทยกับเกาหลีใต้ใครเจริญกว่ากัน ไทยเจริญกว่าในทุกมิติ เมื่อก่อนเป็นไปไม่ได้ที่ประเทศเพื่อบ้านจะมาแข่งกับเราตอนนี้ในบางมิติ ลาว พม่า เขมร แซงหน้าเราไปแล้ว อย่าเรื่องข้าวที่ถูกแซงทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพ

การศึกษาส่วนใหญ่การศึกษาเรื่องที่ไกลตัว  ตอนนี้มีภัยพิบัติเกิดตามธรรมชาติ เป็นการปรับสมดุล เป็นผลพวงจากการที่เราช่วยกันเผาจนโลกเกิดความร้อน

การที่เกิดภัยพิบัติหัวใจความเป็นมนุษย์ทำงาน ออกมาช่วยเหลือกัน

การพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เกิดการอยู่รอด

การที่โอบามาชนะกาเลือกตั้งเพราะการเปลี่ยนแปลง เป็นการขยายพื้นที่ชีวิตและปัญหาของเรา ไม่ได้เปลี่ยนอดีตแต่เปลี่ยนปัจจุบัน

คำพูดของเด็กในวีดีโอกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนที่คนไทยดีกว่าคะ

ผู้ใหญ่ดีแต่พูดไม่ทำเป็นแบบอย่าง

องค์กรสีขาวเป็นองค์กรที่มองการไกลเช่นน้ำมันหมดโลกจะทำอย่างไร

สมองซีกซ้ายมีไว้คิด ซีกขวามีไว้รู้สึก

เรื่อง White ocean

-  ทำให้ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

ผลขององค์กรที่ทำให้มีจริยธรรมสูง

-  กำไรและผลประกอบการดี

-  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรอื่น

-  เป็นองค์กรที่มีความสุข

-  เป็นองค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์

-  เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

** หนังสือเรื่อง White Ocean สามารถดาวน์โหลดได้

องค์กรที่มีhigh performance ประกอบด้วย

1.  Trust สูง

2.  Speed การทำงานเร็ว

3.  ส่งผลให้ Cost ลดลง

ในทางกลับกัน

1.  Trust ต่ำ ส่งผลให้การทำงานสำเร็จน้อย

2.  Speed  การทำงานก็ช้ามาก

3.  ส่งผลให้ Cost สูงขึ้นมาก

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ

1.  Where are we?

2.  Where do we want to go?

3.  How do we get there?

1. Where are we?

-  การเกิดขึ้นขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

Steve Jobs : “ถ้าเราหาหัวใจเจอ เราก็เป็นสุข” เค้าชอบวิชาประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นที่มาของไอแพด ,ไอพอด

การที่เป็นคนรวยแต่นอนในสุสานก็ไม่มีค่าอะไร

2. Where do we want to go?

-  ตั้งเป้าหมายระยะยาว

Bill Gates: เรียนไม่จบ ลาออก เพราะตั้งใจมาทำฝันให้เป็นจริง

“มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง”

-  กระจายโอกาสให้คนทั้งโลก

-  พระพุทธเจ้าตั้งเป้าหมายว่า  1. เราเป็นเลิศที่สุด 2.เราเจริญที่สุด 3. เราประเสริฐที่สุด เรา หมายถึงมนุษย์

-  Purpose and passion เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในชีวิตเรา

-  ในหลวงทรงตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

3. How do we get there?

-  People ต้องดูแลคนทุกคนเหมือนเป็นกัลยาณมิตรเช่น ครู อาจารย์ เราจะเป็นอย่างไรดูได้จากคนที่เราคบ และต้องดู Social Progress

-  Planet ทรัพยากรธรรมชาติ

-  Profit กำไรและต้องดูแลสังคม

-  Passion  อุดมการณ์ และความศรัทธาอันแรงกล้า

-  “EVERYONE IS A WINNER”

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

 

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๘๐.วาดฝันในวันแห่งความรัก

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๔ ก.พ. ๕๖ วันวาเลนไทน์ ผมมีนัดที่ตกลงกันว่าจะถือเป็นนัดถาวร หรือนัดประเพณีคือ ๙.๓๐ น. นัดวาดฝันของเยาวชนที่ได้รับพระราชทานทุนเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และ ๑๓ น. นัดวาดฝันของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลในการเสวนาสภามหาวิทยาลัย และสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พบประชาคม เราตกลงกันว่าจะนัดจัดงานนี้ทุกปี

ทั้งสองเวที เป็นทั้งที่วาดฝันและสานฝันเพื่อนำไปสู่การกระทำเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระบรมราชชนกดังพระราชหัตถ์เลขา“... ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง .....”

โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นโครงการสร้างชุมชนคนมีฝันที่จะอุทิศชีวิตในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ในด้านการแพทย์แต่ละปีมีการคัดเลือกนักศึกษาแพทย์ปีที่ ๕ เพื่อรับพระราชทานทุนไปต่างประทศ ๑ ปี จำนวน ๕ คน เพื่อไปฝึกทำฝันให้เป็นจริง  มีที่ปรึกษาทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทยโดยเราหวังว่าความสัมพันธ์กับที่ปรึกษา (mentor) จะเป็นความสัมพันธ์ตลอดชีวิต และความสัมพันธ์ (ของผู้ได้รับพระราชทานทุน และของmentor) กับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ก็จะเป็นความสัมพันธ์ตลอดชีวิตเช่นกัน

เป็นความสัมพันธ์ เพื่อร่วมมือกันทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์

โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จึงเป็นโครงการจรรโลงใจแห่งความรักเพื่อนมนุษย์ จรรโลงการอุทิศตนเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น

วันที่ ๑๔ ก.พ. ๕๖ ผู้ได้รับพระราชทานทุนรุ่นที่ ๔ จำนวน ๕ คน  และ mentor ไทย ๕ ท่าน (มา ๓ ท่าน) มาสานฝันกัน เพื่อเตรียมตัวเริ่มต้นชีวิตในชุมชนเยวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ทำงานพัฒนาการแพทย์เพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น ตามประเด็นสนใจของตน

ความเป็นชุมชนของเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เริ่มชัดเจนขึ้น งอกงามขึ้น เมื่อมีการประชุมวิชาการ PMA Youth Program Conference ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๕๖เป็นside meeting ของPMAC 2013 ที่ศูนย์ประชุมโรงแรมเซนทาราแกรนด์ ราชประสงค์  และประสบความสำเร็จสูงมากต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อก่อตัวชุมชนแห่งการทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ มี mentor ต่างประเทศมาร่วมด้วย การประชุมนี้จะจัดทุกปี และเยาวชนฯจะเข้ามาร่วมทำงานจัดการประชุม

ตอนบ่ายมีเวทีสภามหาวิทยาลัยและสภาคณาจารย์พบประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลที่ทีมสำนักงานสภาฯและทีมสภาคณาจารย์ ตั้งชื่อเวทีนี้ว่า“ความมั่นคงในการทำงานกับความก้าวหน้าของมหาวิทยาลั”  ซึ่งเป็นเวทีที่ประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลมาร่วมกันวาดฝันไป ๑๐ ปี ข้างหน้าว่า ประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลจะร่วมกันทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง และแก่เพื่อนมนุษย์ได้อย่างไร อะัไรคือสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้น และจะร่วมกันบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร โดยที่คนทำงานมีความมั่นคงในงานมีความสุขในการทำงานด้วยดูกำหนดการประชุมได้ที่นี่

เวทีนี้คนมาร่วมล้นหลามไม่มีที่นั่งจนจำนวนหนึ่งต้องกลับไป

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531599

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๔. ผู้กำกับการเรียนรู้ของตนเอง : ทฤษฎี

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teachingซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๔และ ๑๕ มาจากบทที่ 7 How Do Students Become Self-Directed Learners?ซึ่งผมตีความว่าเป็นการทำความเข้าใจและฝึกวิธีเรียนรู้ อย่างรู้ขั้นตอนของการเรียนรู้  ช่วยให้ นศ. ไม่ใช้วิธีเรียนรู้แบบผิดๆ  ที่ทำให้ทั้งเปลืองแรง แล้วผลการเรียนยังไม่บรรลุเป้าหมาย “รู้จริง” อีกด้วย

ตอนที่ ๑๔ ว่าด้วยทฤษฎี  ตอนที่ ๑๕ว่าด้วยภาคปฏิบัติ หรือยุทธศาสตร์

หนังสือบทนี้เริ่มทำนองเดียวกับบทก่อนๆ  คือเริ่มด้วยเรื่องเล่า ๒ เรื่อง ของ ศาสตราจารย์ ๒ คน  ที่คนหนึ่งเล่าเรื่อง นศ. ที่ทำการบ้านแบบทำวันนี้ส่งพรุ่งนี้  และอ้างว่าตนเป็นนักเรียนเรียนเก่งวิชานั้นมาจากชั้นมัธยม  ไม่พอใจกับเกรดที่ได้ต่ำกว่าที่คาด  ศาสตราจารย์อีกคนหนึ่งเล่าเรื่อง นศ. ที่ขยันสุดขีด แต่ผลสอบแย่  หนังสือบอกว่า นศ. ๒ คนนี้มีปัญหาเดียวกัน  คือ เรียนไม่เป็น หรือไม่มีทักษะการเรียนรู้ ไม่เข้าใจวิธีการและขั้นตอนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง  ไม่เข้าใจขั้นตอนการเรียนรู้ของตนเอง


คุณสมบัติของผู้สามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self-Directed Learner)

ผู้ที่สามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self-Directed Learner) ต้องรู้ขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ถูกต้อง  และมีทักษะในการตรวจสอบขั้นตอนการเรียนรู้ของตนเอง  โดยขั้นตอนของการเรียนรู้มี ๕ ขั้นตอน คือ

 

 

๑.  มีทักษะในการประเมินตัวงานที่จะต้องทำ

 

๒.  มีทักษะในการประเมินความรู้และทักษะของตนเองสำหรับทำงานนั้น

 

๓.  มีทักษะในการวางแผนการทำงาน

 

๔.  มีทักษะในการติดตามประเมินความก้าวหน้าของตนเอง

 

๕.  มีทักษะในการปรับปรุงยุทธศาสตร์การทำงานของตน

 

 

ทักษะชุดนี้เรียกว่า metacognition skills  แปลว่า ทักษะในการทำความเข้าใจขั้นตอนการเรียนรู้ โปรดสังเกตว่า หนังสือเล่มนี้มองการเรียนกับการทำงาน หรือการปฏิบัติ เป็นสิ่งเดียวกัน  มีขั้นตอนแบบเดียวกัน

 

 

เพื่อให้สามารถเรียนรู้แบบกำกับตนเองได้  นศ. ต้องฝึกแต่ละขั้นตอนใน ๕ ขั้นตอน อย่างเข้าใจหลักการหรือทฤษฎีของแต่ละขั้นตอน  มีสติอยู่กับทักษะแต่ละตัว  และฝึกฝนจนชำนาญ  และทำได้อย่างอัตโนมัติในที่สุด


ประเมินงานที่อยู่ตรงหน้า

เป็นเรื่องแปลกมาก ที่ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งบอกว่า เมื่อครูมอบชิ้นงานให้ นศ. ทำ  ครึ่งหนึ่งของ นศ. ไม่ได้อ่านโจทย์ให้ชัดเจน   และทำงานตามโจทย์ที่ตนคุ้นเคยสมัยเรียนชั้นมัธยม  ผลงานวิจัยชิ้นนี้บอกเราว่า ขั้นตอนที่ ๑ ของ metacognition คือการที่นศ. จำนวนหนึ่งประเมินชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย  ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นง่ายๆ  ต้องมีการฝึกฝน

และเรื่องเล่าเรื่องแรกของบทที่ ๗ นี้ ก็สะท้อนว่า นศ. ที่เคยเป็นนักเรียนเกรด เอ ในชั้นมัธยม ก็ตกหลุมขั้นตอนที่ ๑ ของ metacognition  คือส่งผลงานที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่ครูกำหนดไว้ในใบงาน   เนื่องจากคุ้นเคยกับการบ้านหรือข้อสอบแบบถามความจำ เมื่อเห็นคำบางคำก็กระโจนใส่ว่าหวานหมูเรื่องนี้เรารู้แล้ว  ไม่ได้อ่านให้รอบคอบและไตร่ตรองว่าโจทย์คืออะไร

ครูต้องช่วยแก้จุดอ่อนนี้ของ นศ.  ช่วยฝึกฝนให้ นศ. มีทักษะและนิสัยในขั้นตอนนี้ - ประเมินชิ้นงาน ทำความเข้าใจว่าผลงานที่ถือว่าคุณภาพดีเป็นอย่างไร  ต้องการความรู้และทักษะอะไรบ้างในการทำงานนั้นให้บรรลุผล  และตั้งใจทำงานเพื่อส่งผลงานที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้

ทักษะนี้ฝึกโดย หลังจากครูมอบหมายชิ้นงาน  ก็ให้ นศ. แต่ละคนอ่านและกำหนดในใจว่า โจทย์ที่ได้รับคืออะไร  ผลงานที่ถือว่ามีคุณภาพดีเป็นอย่างไร  ต้องการทักษะอะไรบ้างในการทำงานนั้น  แล้วใหั นศ. จับคู่แลกเปลี่ยนความเห็นกัน  ตามด้วยการอภิปรายในชั้น  โดยจับฉลากให้คู่ นศ. จำนวนหนึ่งเสนอความเห็นของคู่ตน  ตามด้วยการอภิปรายทั้งชั้น


ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ในการทำงานนั้น

ผลงานวิจัยบอกว่า นศ. มักจะประเมินความสามารถของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง  และ นศ. ที่เรียนอ่อนมักมีความสามารถในการประเมินตนเองต่ำด้วย   ซึ่งหมายความว่า นศ. ที่เรียนอ่อนมักประเมินความสามารถของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง  ในขณะที่ นศ. เรียนเก่งมักประเมินตรงความเป็นจริง  ทั้งก่อนสอบและหลังสอบ

ทักษะในการประเมินตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ครูต้องฝึกให้แก่ นศ.  ยิ่ง นศ. ที่เรียนอ่อน ครูยิ่งต้องเอาใจใส่ฝึกให้เป็นพิเศษ   เพราะความสามารถในการประเมินตนเองเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้ (และการทำงาน)  ในเรื่องเล่าตอนต้นบทที่ ๗ ของหนังสือ นศ. ที่มีปัญหาทั้ง ๒ คน อ่อนด้อยด้านการประเมินตนเอง  และประเมินตนเองสูงเกินจริงมากทั้ง ๒ คน

ผมมีความเห็นว่า นศ. คนที่ ๒ ในหนังสือ  ประเมินตนเองผิดที่  คือไปหลงประเมินที่หนังสือ ว่าตนเองอ่านหนังสืออย่างดี แต้มสีที่จุดสำคัญในหนังสือจนเปรอะไปหมด  และอ่านหลายเที่ยว  แถมยังท่องจำส่วนสำคัญเป็นอย่างดี  นศ. คนนี้ไม่ได้ประเมินความเข้าใจของตนเอง  หรือไม่มีทักษะประเมินความเข้าใจของตนเอง


วางแผนวิธีทำงานที่เหมาะสม

ผลการวิจัยบอกว่า นศ. และ “มือใหม่” ทั้งหลาย ใช้เวลาวางแผนงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งน้อยกว่า “มือเก่า” หรือผู้ชำนาญ  ทำให้ นศ. ทำงานแบบผิดเป้าหมายได้ง่าย/บ่อย  เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ นศ. ไม่เห็นคุณค่าของการวางแผนวิธีทำงาน  หรือมิฉนั้นก็ทำไม่เป็น

เปรียบเทียบง่ายๆ กับการต่อยมวย  นศ. และมือใหม่ ไม่ศึกษาทำความรู้จักคู่ต่อสู้  ไม่วางแผน “เข้ามวย” ให้เหมาะต่อคู่ต่อสู้ และต่อความถนัดหรือจุดแข็งของตน  เมื่อระฆังเริ่มก็ตลุยชกเลย โอกาสชนะก็ย่อมมีได้ยาก

นศ. ต้องได้รับการฝึกศิลปะการทำสงครามของซุนวู  คือ รู้ เขา รู้เรา  เอามาวางยุทธศาสตร์การทำสงคราม


ลงมือทำงาน และติดตามผล

แม้จะได้คิดวางแผนยุทธศาสตร์การทำงานอย่างดีแล้ว  เมื่อลงมือทำตามแนวทางที่วางไว้ก็ ต้องระวังระไวตลอดเวลาว่า จะได้ผลดีจริงหรือไม่  ความสามารถในการวางยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง มีความสำคัญพอๆ กันกับความสามารถในการตรวจพบข้อบกพร่องและแก้ไขเสีย

นั่นคือ นศ. ต้องฝึกทักษะ ติดตามผลงานของตนเอง (self-monitoring)  ผลงานวิจัยบอกว่า นศ. กลุ่มที่เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ผลดี  จะหยุดตรวจสอบว่าตนเข้าใจเรื่องนั้นดีหรือไม่ เป็นระยะๆ  ในขณะที่ นศ. ที่เรียนอ่อนจะเรียนแบบตลุยดะ

ผลการวิจัยบอกอีกว่า หากครูจัดกระบวนการการเรียนรู้  โดยมีช่วงให้ นศ. ทำกิจกรรมเพื่อประเมินตนเอง เป็นระยะๆ  นศ. จะเรียนรู้ได้ดีกว่า


ไตร่ตรองสะท้อนความคิด และปรับปรุงวิธีทำงาน

ผลการวิจัยบอกว่า แม้ นศ. จะประเมินติดตามผลการเรียนรู้ของตนเอง  และตรวจพบข้อบกพร่อง  ก็ไม่ใช่ว่า นศ. จะเปลี่ยนยุทธศาสตร์หรือวิธีการเรียน/ทำงาน  นศ. มักจะยึดมั่นอยู่กับความคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ  ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย  เหตุผลหนึ่ง อาจเพราะ นศ. ยังไม่มีความสามารถสร้างยุทธศาสตร์แบบอื่นได้

ผลการวิจัยบอกว่า นศ. ที่เรียน/ทำงาน เก่ง จะมีความสามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการทำงานของตนได้  หากตรวจสอบพบว่าผลงานยังไม่ค่อยดี  แต่การเปลี่ยนแปลงแนวทางนี้ต้องลงทุน  นศ. อาจมองไม่ออกว่า ผลที่ได้จากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์/วิธีการ จะคุ้มความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นหรือไม่

ผลการวิจัยบอกว่า คนเรามักจะพอใจที่จะทำตามวิธีที่ตนคุ้นเคย และได้ผลดีพอสมควร (ปานกลาง)  ไม่ค่อยลงทุนทดลองทำตามแนวทางใหม่ ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ผลดีกว่าเดิมอย่างมากมาย ตามที่คาดคิด หรือไม่


ความเชื่อเรื่องความฉลาดกับการเรียนรู้

มุมมอง หรือความเชื่อ ของ นศ. มีผล (โดยไม่รู้ตัว) ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ นศ. ความเชื่อนี้รวมถึงความเชื่อเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้  ว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทำได้เร็ว เกิดผลเร็ว  หรือเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นช้าๆ และต้องเผชิญความยากลำบาก

ความแตกต่างในความเชื่อเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้อีกคู่หนึ่ง คือ เชื่อว่าสติปัญญา (intelligence) เป็นสิ่งคงที่  หรือเป็นสิ่งที่ปรับปรุงเพิ่มพูนได้

อีกเรื่องหนึ่งคือความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถ และความถนัดพิเศษ ของตนเอง

ผลการวิจัยบอกว่า ความเชื่อ/มุมมอง ของ นศ. ในเรื่องเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้  ผลลัพธ์ของการศึกษา  รวมทั้งคะแนนสอบ  คือ นศ. ที่มีความคิดเชิงบวก จะเรียนได้ดีกว่า

ผมตีความว่า นศ. ที่มีมุมมองเชิงบวก ใน ๓ เรื่องข้างต้นจะมีกำลังใจให้มุมานะพยายาม   ให้หมั่นฝึกฝนปรับปรุงตนเอง

เรื่องนี้บอกครูว่า ครูต้องหาวิธีการส่งเสริมให้ นศ. เปลี่ยนความเชื่อเชิงลบในเรื่องความฉลาดหรือความถนัดในการเรียนรู้  มาเป็นความเชื่อเชิงบวก  คอยชี้ให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์จากตัว นศ. เอง หรือจากเพื่อน  ให้เห็นว่าความตั้งใจฝึกฝนให้ผลดีจริงๆ  รวมทั้งชี้ให้เห็นจากมุมของทฤษฎีด้วยว่า  ทฤษฎีการศึกษาสมัยใหม่ ที่มาจากการวิจัยด้าน neuro-science บอกว่าสมองเรียนรู้และพัฒนาจากการฝึกฝนหรือการปฏิบัติเป็นหลัก


สรุป

ประเด็นต่างๆ ที่เป็นเรื่องของความเชื่อ และความเคยชินเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยาก  แต่ครูก็ต้องเอาใจใส่ดำเนินการให้ นศ. ได้เรียนรู้ปรับปรุงทักษะ ๕ ขั้นตอน ที่นำไปสู่การเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของตนเองได้  เพราะทักษะนี้จะติดตัวศิษย์ไปตลอดชีวิต  ใช้ประโยชน์ได้เรื่อยไป  ต่างจากสาระวิชา ซึ่งใช้ได้เพียงชั่วคราว

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ม.ค. ๕๖

บทความนี้คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531606

 


หน้า 504 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741384

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า