Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

นวัตกรรมสามประสาน : บัณฑิตศึกษาแนวใหม่

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑ ก.พ. ๕๖ ผมได้ฟัง รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง เล่าเรื่อง ชุดโครงการบัณฑิตศึกษา ปริญญาโทสังคมศาสตร์สุขภาพ ภาคพิเศษ แก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน สสจ. และ รพสต.  ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี  และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทองผาภูมิ  เรียน ๑๘ - ๒๐ เดือนจบแน่นอนโดยมีคุณภาพสูงมาก

เพราะเป็นการศึกษาแบบใหม่  แบบบูรณาการ ๓ ประสานภารกิจของมหาวิทยาลัย คือการเรียนการสอน (ผลิตมหาบัณฑิต)  การวิจัย  และบริการวิชาการ เป็นงานชิ้นเดียว  คือวิทยานิพนธ์เป็นชุด ของ นศ. รุ่นแรก ๑๓ คน  อาจารย์ ๘ คนเป็นอย่างน้อย ทำงานเป็นทีม  โดยที่วิทยานิพนธ์จะตอบโจทย์ระบบสุขภาพในพื้นที่ด้วย (บริการชุมชน หรือพื้นที่)   โดยโจทย์พื้นที่คือ ASEAN Community, cross-border migration, มองสภาพสังคมในพื้นที่ชายแดน พม่า - ไทย เป็นพื้นที่ข้ามถึงกัน

ฟังแล้ว ผมนึกในใจว่า งานนี้หาอาจารย์ทำได้ยาก  ต้องนำโดยคนที่ทำงานวิจัยจริงจัง และทำงานพื้นที่ช่ำชองอย่าง รศ. ดร. ลือชัย   รวมทั้งต้องมีทีมงานดีด้วย  ท่านมีหมอพม่า ๕ คน มาเรียนหลักสูตรสังคมศาสตร์สุขภาพ จะร่วมทีมวิจัยด้วย

ผมถามท่านว่า นศ. ต้องเสียเงินค่าเล่าเรียนไหม  ท่านบอกว่าท่านหาทุนมาช่วยบางคนที่ไม่มีเงิน  และการทำวิจัยก็มีแหล่งทุนช่วยเหลือ

เมื่อได้ผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์แยกเป็นรายคนแล้ว อาจารย์ในทีมจะสังเคราะห์ซ้ำ ออกมาเป็นผลงานวิจัยหลายรายงาน ต่างด้าน  ได้เป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับขับเคลื่อนระบบสุขภาพของบริเวณชายแดนพม่า-ไทย  ที่มองระบบสุขภาพเชื่อมโยงกับสังคมหลากหลายมุม

ผมชื่นชมการทำงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแบบทำเป็นชุด  ทำเสร็จได้องค์ความรู้ที่หนักแน่น ให้ประโยชน์แก่บ้านเมือง  สมัยผมเป็น ผอ. สกว. เคยร่วมมือกับ ศ. ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จัดชุด ป. โท เรื่องคนไร้กล่องเสียง  เป็นชุดที่ นศ. และอาจารย์มาจากหลากหลายสถาบัน  และวิจัยข้ามศาสตร์  คือนักภาษาศาสตร์ไปร่วมกับทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย  สนุกและได้ประโยชน์มาก

เป็นบัณฑิตศึกษาของแท้  ไม่ใช่ของปลอม ที่เรียนพอให้จบ ที่ดาษดื่นอยู่ในปัจจุบัน


 

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/521629

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๓. ชีวิตเข็นครก

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๔ ก.พ. ๕๖  ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการประเมิน  และข้อเสนอแนะสำหรับโครงการวิจัย  “ การประเมินการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔ ”   ซึ่งก็คือการประเมินการทำงานของ สช. นั้นเอง

ผมจึงได้ตระหนักว่า งานของสช. เป็นงานเข็นครกขึ้นภูเขา  การประเมินนี้เน้นการประเมินครกและคนเข็นครก  ไม่ได้ประเมินภูเขา  ทั้งๆที่ผลงานขึ้นกับ “ภูเขา” หรือบริบทสังคมไทยด้วย

สช. ทำงานแนวระนาบกระจายอำนาจ  และมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมของสังคมไทยภาพรวม  ในท่ามกลางบริบทสังคมไทย ที่เป็นสังคมอำนาจแนวดิ่ง  อำนาจรวมศูนย์มีการแก่งแย่งผลประโยชน์ส่วนกลุ่มและพลเมืองไทยมีคนกลุ่ม active citizen น้อยมาก  ที่ลุกขึ้นมาทำงานสาธารณะ ส่วนใหญ่เพราะมีประเด็นร้อนเข้ามาใกล้ตัว  ที่จะทำงานสาธารณะประเด็นเย็นเพื่อวางรากฐานสังคมมีน้อยมาก   รวมทั้งผู้คนในสังคมติดวิธีคิดแบบขาว-ดำ  ถูก-ผิด  ในขณะที่เรื่องราวต่างๆ ในสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อน และเป็นพลวัตสูง

สภาพเช่นนี้ เปรียบเสมือนการทำงานแบบเข็นครกขึ้นภูเขา   ซึ่งต้องวางยุทธศาสตร์การทำงานระยะยาว ทำต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  ตระหนักว่า กว่าจะเห็นผลจริงจังต้องใช้เวลา ๑๐ - ๒๐ ปี  ไม่ใช่  ๕ ปี

การทำงานในสภาพที่มีข้อจำกัดเช่นนี้  ต้องการทักษะพิเศษ  ซึ่งฝ่ายบริหารสช. ทำได้ดีอย่างน่าชื่นชม    แต่ก็ยีงมีส่วนที่น่าจะปรับปรุงได้อีกมาก

สช. ทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยใช้เครื่องมือ ๔ อย่างได้แก่

·  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

·  สมัชชาสุขภาพในพื้นที่  รวมทั้ง HIA (และcHIA, eHIA)

·  ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ

·  commission

 

เพราะสช. ทำงานเพื่อสุขภาวะของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  และทำงานในลักษณะกระจายอำนาจ    เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม  จึงอยู่ในสภาพ “เอียงข้าง” เข้าหาภาคประชาชน   ภาคราชการซึ่งเคยผูกขาดอำนาจจึงไม่สนใจเข้าร่วม  ยกเว้นจะเข้ามาปกป้องตนเอง  และภาคธุรกิจซึ่งเคยร่วมกับภาคราชการ  แสวงหาความได้เปรียบในสังคมก็ไม่อยากเข้าร่วม  ยกเว้นนักธุรกิจจิตสาธารณะซึ่งก็มีหลายคนแต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากนักในองค์กรของภาคธุรกิจ  หรือบางท่านเข้ามาร่วมอย่างเอาจริงเอาจัง ก็ขัดแย้งกับเพื่อนนักธุรกิจ

นี่คือสภาพความเป็นจริงในสังคมไทยที่เราเผชิญอยู่   และสช. ต้องทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ในท่ามกลางความเป็นจริงนี้

ผมจึงให้ความเห็นว่าสช. ต้องยึดการทำงานแบบ evidence-based เป็นหลัก  โปร่งใสเข้าไว้   เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับในสังคมว่าไม่เอียงข้างฝ่ายใด  แต่มุ่งรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  โดยที่ประเด็นต่างๆมีความซับซ้อน

เราพูดกันว่าสช. ต้องทำงานมุ่งพัฒนา evidence เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ให้ยิ่งขึ้น  และมีวิธีสื่อสาร  หลักฐานความรู้นี้ให้แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้งๆที่ที่ผ่านมาก็ทำได้ดีอยู่แล้ว

เราพูดกันว่าสช. เลือกทำงานแบบใช้“อำนาจอ่อน”คือไม่บังคับ  ใช้การพูดจากัน (สมัชชา)  และการสร้างความรู้ขึ้นใช้ก็ต้องพัฒนาทักษะในการทำงานแบบนี้ในหลากหลายระดับ

ผมมองว่าทักษะ “สื่อสารหลักฐานความรู้” (evidence communication)  สำคัญกว่าทักษะสร้างกระแสสังคม  หรือขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สำหรับสช.

เรื่องมาลงที่การใช้ commission ในการทำงานเฉพาะเรื่อง  ที่ยังไม่ชัดเจนว่าสช. ต้องไปเป็นคณะเลขานุการกิจ(secretariat) ของcommission หรือไม่

ซึ่งผมมีความเห็นแบบขาว-ดำว่า “ ไม่ ”   ผมเห็นว่าcommission ต้องรับงานไปแบบรับcontract out งาน   จะcontract ให้ใครภายใต้ความรับผิดชอบอย่างไร   ส่งมอบผลงานอะไร  มีเกณฑ์คุณภาพอย่างไร  ตรวจรับงานอย่างไร ฯลฯ    สช. ต้องมีทักษะในการcontract out งาน  เป็นความสัมพันธ์แบบกึ่งธุรกิจ  ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบไหว้วานหรือขอให้ช่วย

ทักษะอีกอย่างหนึ่งที่คนสช. ต้องมี  คือทักษะต่อยอดความรู้จากข้อเสนอของ commission  หรือจากผลการวิจัยที่มอบให้นักวิชาการทำ  คนสช. ต้องมีพื้นความรู้เรื่องระบบสุขภาพดี  และเรียนรู้ต่อยอดจากกิจกรรมต่างๆเพิ่มพูนขึ้นตลอดเวลา   นี่คือ learning skills   คนสช. ต้องเป็นexpert ด้านนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ที่เรียนรู้เพิ่มพูนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอยู่ตลอดเวลา

เหล่านี้เป็นกระบวนการเข็นครกทั้งสิ้น

ผมสรุปกับตัวเองที่บ้าน  ว่าคนสช. ต้องเป็น “นักจัดการความรู้” ด้านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ   โดยที่สช. ต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ของสช.  เพื่อให้เจ้าหน้าทุกคนได้ฝึกฝนทักษะ จัดการความรู้ด้านนโยบายสุขภาพอย่างต่อเนื่อง  ไม่ทราบว่าสรุปถูกหรือผิด

จัดการความรู้สำหรับเอาไปสื่อสารสังคม เน้นสื่อสารอย่างมีข้อมูลหลักฐาน (evidence communication)  ไม่ใช่เน้นขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สรุปอย่างนี้ยิ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด

 

วิจารณ์  พานิช

๕  ก.พ. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/521519

 

ประกาศรับสมัครงาน

พิมพ์ PDF

 

ประกาศรับสมัครงาน

ศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน วิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา

คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต้องการรับสมัคร ผู้ช่วยวิจัยในตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการคอมพิวเตอร์ 5 ตำแหน่ง

 

คุณสมบัติ

จบปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง

เชี่ยวชาญภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์ อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น  Python, Ruby, Perl, Java, PHP, .NET

สามารถเก็บ requirement และวิเคราะห์ระบบเบื้องต้นได้

สามารถออกแบบฐานข้อมูลที่สำคัญๆ เช่น  MYSQL, PostgreSQL

สามารถใช้งาน HTML CSS XML ได้

มีความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ

มีความรู้ภาษา client-side สำหรับการทำงานบนเว็บไซต์ เช่น  jQuery Ajax

สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น HTML5 CSS3 FRAMEWORK ตลอดจนกฎ W3C

ทำงานเป็นทีมได้  มีวินัย ซื่อสัตย์ อดทน

ทำงานดึกได้ในบางครั้ง

 

 

ค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์

ปริญญาตรี เริ่มจาก15000 ++ บาท ทดลองงาน 2 เดือน จากนั้นจะพิจารณาขึ้นขึ้นให้โดยอยู่กับผลงานในระยะเวลา 1 ปี หาก มี ความสามารถที่จะเรียนต่อปริญญาโท จะให้เป็นผู้ช่วยวิจัย พร้อมมีเงินเดือน ในกรณีที่มีความสามารถ ด้านภาษา อังกฤษ มีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิจัยแลกเปลี่ยน กับ ประเทศ ญี่ปุ่น

ปริญญาโท เริ่มที่ 17900 ++ ทดลองงาน 2 เดือน  จากนั้นจะพิจารณาขึ้นให้โดยขึ้นอยู่กับผลงานในระยะเวลา 1 ปี หากต้องการเรียน ปริญญาเอก เงื่อนไขเช่นเดียวกับปริญญาตรี และ มีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิจัยต่อ

 

สนใจติดต่อที่

คุณ อารีรัตน์ ทองใบ 02-579-0358

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

http://naist.cpe.ku.ac.th

 

 

ผลประโยชน์ไทย-จีนในกำมือรัฐบาลยิ่งลักษณ์

พิมพ์ PDF

ผลประโยชน์ไทย-จีนในกำมือรัฐบาลยิ่งลักษณ์

โดย รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คอลัมน์ “มองจีนมองไทย” กรุงเทพธุรกิจ

http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/aksornsri/news-list-1.php

 

ในช่วง 1-2 ปีมานี้ กระแส “นิยมจีน” ในเมืองไทยช่างเบ่งบานไปถ้วนทั่วเกือบจะทุกวงการ โดยเฉพาะบรรดานักการเมืองและผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการไทยหลายแห่งต่างพากันยกย่อง “เชิดชูจีน” มากจนเกินจริง ทำให้ดิฉันอดที่จะเป็นกังวลไม่ได้ เพราะการ “เห่อจีน”หรือการมีภาพลวงตาในความสัมพันธ์กับจีนมากเกินไป  อาจจะเกิดภาวะสุ่มเสี่ยงทาง EQ จนทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายหรือผู้กุมอนาคตของประเทศไทยเหล่านั้นมีการตัดสินใจผิดพลาดทั้งในเชิงนโยบายและทางปฏิบัติก็เป็นได้ค่ะ

เมื่อเร็วๆนี้ ดิฉันได้ไปเข้าประชุมติดตามและกำหนดท่าทีไทย-จีนร่วมกับอธิบดีกรมสำคัญของไทยรายหนึ่ง โดยมีหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ และฝ่ายความมั่นคงของไทยกว่า 20 แห่งเข้าร่วมประชุมด้วย  เมื่อเริ่มการประชุมคุณท่านอธิบดีก็เกริ่นนำร่ายยาวยกย่องความสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างสุดแสนเคลิบเคลิ้ม โดยเฉพาะการใช้คำว่า “ที่สุด สูงสุด พิเศษ” อย่าพร่ำเพื่อ มิหนำซ้ำยังมีการเขียนบันทึกในรายงานราชการว่า “มีเพียงไทยเท่านั้นที่มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมมากที่สุด เป็นมิตรที่จีนไว้ใจได้มากที่สุด” และอื่นๆ อีกมากมาย

บทความในวันนี้ จึงตั้งใจที่จะนำประเด็น “ผลประโยชน์จีน” ในแผ่นดินไทยที่อยู่ในกำมือของรัฐบาลไทยชุดนี้มาบอกกล่าวรายงานให้ปวงชนชาวไทยได้รับรู้รับทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันเตือนสติ  หรือช่วยเป็นปากเป็นเสียงและร่วมกันปกป้องผลประโยชน์ของชาติ  (เมื่อถึงคราวจำเป็น) แต่เนื่องด้วยเนื้อที่จำกัด  จะขอยกตัวอย่างเฉพาะกรณี “เหมืองแร่โปแตช” ในอีสานไทยเป็นกรณีศึกษาในเรื่องนี้นะคะ

ดิฉันตั้งใจใช้คำว่า “ผลประโยชน์ของจีน” ในกรณีของแร่โปแตช  เพราะฝ่ายจีนได้พยายามอย่างหนักที่จะเข้ามาลงทุนทำเหมืองแร่โปแตชในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธในปี 2547 โดยเฉพาะในอีสานไทย  ซึ่งว่ากันว่า มีแร่โปแตชฝังอยู่ใต้ดินสลับกับชั้นเกลือหินอยู่เป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากในอดีตแผ่นดินอีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน

ฝ่ายจีนมีข้อมูลแหล่งแร่โปแตชของไทยเป็นอย่างดีและจับจ้องมองด้วยตาเป็นมัน นักการทูตจีนรายหนึ่งถึงกับกล่าวว่า  “ไทยมีแร่ตัวนี้มากติดอันดับโลก ผมติดตามเรื่องนี้มานาน ไม่เข้าใจว่า ประเทศไทยนั่งทับกองเงินกองทองอยู่แต่ทำไมไม่นำมาใช้ประโยชน์เลย”

แร่โปแตซเป็นวัตถุดิบสำคัญเชิงยุทธศาสตร์  ซึ่งฝ่ายจีนตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า “แร่โปแตชสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยที่สำคัญทางการเกษตร และมีความต้องการใช้อย่างแพร่หลาย  จึงมีความเกี่ยวพันกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารของโลก  ที่ผ่านมา  ประเทศตะวันตกเป็นฝ่ายผูกขาดในการกำหนดราคาแร่โปแตช จนทำให้ประเทศผู้ใช้ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงมาก จีนจึงต้องการแสวงหาแหล่งแร่โปแตชใหม่ๆ เพื่อลดตันทุนนี้”   คำกล่าวนี้จึงชัดเจนว่า ประเด็นแร่โปแตชในอีสานไทยเป็นผลประโยชน์ของจีนมากเพียงใด และกลุ่มทุนจีนโดยบริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้ามายื่นขอสำรวจและหาประโยชน์จากแหล่งแร่โปแตซ  ในจังหวัดอีสานของไทย ตั้งแต่ปี 2547

อย่างไรก็ดี  ที่ผ่านมา กระบวนการพิจารณาเรื่องนี้ของรัฐบาลไทยต้องล่าช้า  เนื่องจากมีการปฏิรูประบบการบริหารราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ตาม พรบ. ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (2545)  ทำให้หน่วยงานเดิมของไทยที่รับผิดชอบเรื่องนี้ คือ  กรมทรัพยากรธรณี  ถูกแยกออกเป็น 4 กรมและกระจายออกไปอยู่ใน 3 กระทรวง  ได้แก่    (1) กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (2)  กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (3) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม และ (4) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

การปฏิรูประบบราชการดังกล่าวทำให้คำยื่นขออาชญาบัตรพิเศษในการขออนุญาตสำรวจแร่ฯ ต้องถูกโอนย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงใหม่ คือ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้กลุ่มทุนจีนต้องเสียเวลาในการเริ่มกระบวนการยื่นเรื่องใหม่  และย่อมเป็นเรื่องไม่น่าพึงปรารถนาสำหรับฝ่ายจีน

จึงมีการวิ่งเต้นและผลักดันเพื่อผลประโยชน์ของจีนในเรื่องแร่โปแตชกับรัฐบาลไทยในเกือบจะทุกระดับ ไม่เว้นแม้กระทั่งระดับสูงสุด ได้แก่ นายกรัฐมนตรีของจีนก็ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือกับคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีหญิงไทยที่ใส่ชุดประจำชาติของจีนได้สวยที่สุดในโลก) ในระหว่างการเดินทางเยือนจีนเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ เวิน เจียเป่า ของจีนได้เอ่ยปากขอจากนายกฯ ไทยอย่างชัดเจนว่า “ขอให้ฝ่ายไทยอำนวยความสะดวกด้านข้อกฎหมายต่าง ๆ พร้อมทั้งขอให้สนับสนุนบริษัทจีนเข้าไปพัฒนาแร่โปแตสเซียมในไทยด้วย”

จากรายงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทุนจีนกลุ่มนี้ได้ยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษ เพื่อสำรวจแหล่งแร่โปแตชที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร รวมทั้งหมด 12 แปลง กินเนื้อที่ร่วม 120,000 ไร่

ในที่สุด  ภาคจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เราคงจะต้องจับตาเกาะติดกันต่อไป  และต้องไม่ลืมว่า  โครงการเหมืองแร่โปแตชมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องอีสานในวงกว้าง  รวมทั้งมีผลกระทบสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะโครงการนี้เป็นการทำเหมืองใต้ดินที่จะต้องขุดเจาะลึกลงไปใต้ดินกว่า 100 เมตร ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาแผ่นดินทรุดหรือถล่ม รวมทั้งปัญหากองเกลือจำนวนมหาศาลที่จะขุดขึ้นมาอยู่บนผิวดิน หากไม่มีอะไรปกคลุม ฝุ่นเกลือและโปแตชอาจจะปลิวไปในบริเวณรอบๆ ตามทิศทางลม หรือกรณีที่มีฝนตกหนัก/น้ำท่วม กองเกลือหลายล้านตันเหล่านั้นก็จะละลายลงสู่ที่สาธารณะได้ง่าย  อาจจะไหลลงไปในนาข้าวหรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้านต้องใช้ต้องดื่มก็อาจจะปนเปื้อนเกลือเค็มและสารเคมี เป็นต้น

จึงขอฝากเตือนสติ เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจรัฐอยู่ในกำมือจะไม่เผลอไผลหลงใหลไปกับน้ำคำหวานทางการทูตของฝ่ายจีน (นับวันจะมีความเป็นมืออาชีพและมีลีลามากขึ้น) เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ การเจรจากับฝ่ายจีนด้วยความรอบคอบ  และการสร้างสมดุลในการต่อรองกับจีนในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของไทย  รวมทั้งการวางตัวอย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรี เพื่อให้ฝ่ายจีนเคารพท่าทีของไทยเราด้วย

ขอแถมท้ายด้วยเกร็ดเล็กน้อยประเด็นน้องหมีหลินปิง  ซึ่งท่านนายกฯ หญิงคนงามจากเชียงใหม่ช่างมีความพยายามอุตสาหะในการ “ขอหมี” จากฝ่ายจีน โดยเฉพาะในการไปเยือนจีนเมื่อเมษายนปีที่แล้ว  ในขณะที่ นายกฯ จีน เอ่ยปากขอเรื่องเหมืองแร่โปแตชจากฝ่ายไทย นายกฯ หญิงไทยก็ได้หยิบยกประเด็นหมีแพนด้าขึ้นมาพูดกับนายกฯ จีน รวมทั้งยังได้ไปเอ่ยปากขอหมีจากประธานรัฐสภาจีน (ไม่เกี่ยว) ด้วย   ซึ่งฝ่ายจีนได้ใช้ภาษาทางการทูตในการตอบว่า “ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา”  (แปลว่า ยากส์/ไม่รับปาก)  ต่อมา  เมื่อนายกฯ จีนเดินทางมาเยือนไทยในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน  นายกฯ คนสวยก็ยังคงมีความอุตสาหะบากบั่นอย่างยิ่งยวดในการเอ่ยปากขอหมีจากนายกฯ จีนอีกครั้ง  จนดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า  ท่านนายกฯ เวินของจีนคงจะลำบากใจและอึดอัดใจน่าดู

ล่าสุด มีข่าวแว่วมาว่า  ฝ่ายจีนอาจจะตัดสินใจปล่อยให้พ่อหมี-แม่หมีอยู่ในไทยต่อไปได้  แต่จำเป็นต้องนำลูกหมีหลินปิงกลับแผ่นดินจีน ซึ่งเรื่องนี้ ดิฉันค่อนข้างเข้าใจฝ่ายจีน เพราะแท้จริงแล้ว การปล่อยให้หมีน้อยหลินปิงได้กลับไปอยู่อาศัยตามป่าตามเขาวิ่งเล่นตามธรรมชาติน่าจะเป็น  การแสดงความ”รักหมี” อย่างที่ควรจะเป็นมากกว่านะคะ

 

สัญญาณอันตราย

พิมพ์ PDF

เศรษฐกิจที่ดูดีในขณะนี้ มันซ่อนของเน่าเสีย หรือลมที่ว่างเปล่า ไว้ข้างใน เหมือนเมื่อปี ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ หรือไม่

 

 

สัญญาณอันตราย

ผมมีความเห็นว่า ความตื่นตัวต่อสัญญาณอันตรายเป็นธรรมชาติที่มีคุณต่อชีวิตบุคคล  และระบบเตือนภัยของบ้านเมืองเป็นเรื่องสำคัญต่อความมั่นคง

ผมจำได้ว่า ช่วงปี ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ประเทศไทยล้มละลาย  มีคนออกมาเตือนเรื่องฟองสบู่เป็นระยะๆ  และจะโดนผู้บริหารบ้านเมืองสมัยนั้นด่าว่า ว่าบ่อนทำลายบรรยากาศการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ  ที่จำได้แม่นยำที่สุดคือ นายกฯ บรรหาร

บทความ Rectify Financial Imbalances Before It’s Too Late โดย ทนง ขันทอง  ใน นสพ. เดอะ เนชั่น วันที่ ๑ มี.ค. ๕๖  บอกเราว่ามีสัญญาณอันตรายหลายอย่าง  เช่น นโยบายประชานิยม ทำให้หนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้น  นโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และนโยบายประชานิยม ทำให้มีการใช้จ่ายภาครัฐในโครงการใหญ่ๆ  ธนาคาร เอสเอ็มอี และธนาคารอิสลาม ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ มีหนี้เสียรวมกัน ๘ หมื่นล้านบาท  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีหนี้จากการรับจำนำข้าวและโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล ๖ แสนล้านบาท

หนี้ครัวเรือนพุ่งขึ้นเป็น ๒.๙ ล้านล้านบาท จากการสนับสนุนของรัฐบาลด้วยโครงการประชานิยม

ผมอ่านแล้ว สงสัยว่า เศรษฐกิจที่ดูดีในขณะนี้  มันซ่อนของเน่าเสีย หรือลมที่ว่างเปล่า ไว้ข้างใน เหมือนเมื่อปี ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ หรือไม่

แต่ที่วิตกอย่างยิ่ง คือ มันเปลี่ยนใจคนไทย เปลี่ยนมาตรฐานจริยธรรม  ให้ถือว่าการคอรัปชั่นทรัพย์สมบัติส่วนรวมเป็นเรื่องปกติ

วันที่ ๒ มี.ค. ๕๖ มีโอกาสพบผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่รู้เรื่องการรับจำนำข้าวดี และเป็นบุคคลน่าเชื่อถือ  ท่านบอกว่าเขาไม่ได้จริงจังกับการขายข้าวที่รับจำนำมา  แต่จริงจังกับการปั่นเพื่อให้เกิดกิจกรรมที่เงินไหลเข้ากระเป๋าคนบางคนมากกว่า  ผมไม่มีพื้นความรู้พอที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้  จึงฟังหูไว้หู ไม่ปักใจเชื่อเสียทั้งหมด  แต่ก็เป็นห่วงบ้านเมือง

วิจารณ์ พานิช

๑ มี.ค. ๕๖ ปรับปรุง ๓ มี.ค. ๕๖

สวัสดีครับ อาจารย์วิจารณ์

ผมเป็นคนหนึ่งที่วิตกเช่นอาจารย์ครับ เรียนตามตรงว่ากลัวและเป็นห่วงชาติบ้านเมืองจริงๆครับ ก็ยังโชคดีที่ยังทำใจได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิมีจริง คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ จะต้องได้รับผลที่ตัวเองก่อ และคนทำความดีจะต้องได้รับการปกป้องหรือได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าคนทั่วๆไป  ทำให้ไม่หมดกำลังใจพยายามทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด อะไรจะเกิดก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามนั้น เป็นวิบากกรรมของคนไทย แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม ก็ต้องช่วยกันผนึกกำลังเพื่อช่วยกันแก้ไขสิ่งไม่ถูกต้องให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ส่วนจะทำได้แค่ไหนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 


หน้า 509 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741379

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า