Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร

พิมพ์ PDF

พัฒนาการของนักศึกษาและบรรยากาศในชั้นเรียน

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๒ และ ๑๓ มาจากบทที่ 6  Why Do Student Development and Course Climate Matter for Student Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นการมอง “การเรียนรู้” ของ นศ. จากมุมที่กว้างกว่า “การเรียนวิชา”  เชื่อมโยงไปสู่ “การเรียนรู้ชีวิต” สู่วุฒิภาวะในทุกๆ ด้าน  และมองว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ. กับ นศ.  และระหว่าง นศ. กับครู มีผลต่อการเรียนรู้มาก

ตอนที่ ๑๒ ว่าด้วยทฤษฎี  ตอนที่ ๑๓ ว่าด้วยภาคปฏิบัติ หรือยุทธศาสตร์


ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

ทำให้รู้สึกปลอดภัยในสถานการณ์ไม่แน่นอน

ครูต้องหาทางทำให้บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นบรรยากาศที่เปิดกว้าง  ไม่เน้นถูก-ผิด  และให้คุณค่าความคิดเห็นที่อาจไม่สมเหตุสมผล  เพื่อใช้เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้

ครูพึงย้ำว่าความเป็นจริงต่างๆ ในโลก ไม่แยกแยะเป็นขาว-ดำ  และหลายกรณีมีความไม่ชัดเจน  การเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ใช่ความพยายามเข้าไปหาจุดเดียว หรือความจริงแท้หนึ่งเดียว  แต่เป็นการทำความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย  และแตกต่างกันตามมุมมอง

ในห้องเรียน ครูพึงให้ความสำคัญและชวนกันทำความเข้าใจทุกมุมมองที่ นศ. เสนอ  แม้มุมมองนั้นจะไม่ถูกต้อง  ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อการเรียนให้รู้จริง


พยายามไม่ให้มีคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว

ครูพึงทำความเข้าใจกับ นศ. ว่า ความรู้ในตำราเป็นความรู้ที่แบนราบและเป็นเส้นตรง  ความรู้ที่แท้จริงมีมิติความลึก และมีมิติที่สี่ที่ห้า คือกาละเทศะด้วย  ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงจะมีได้ ณ จุดนั้นและเวลานั้น เท่านั้น  คำถามใดคำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง จึงไม่มีคำตอบเดียว

ครูพึงฝึกให้ นศ. ฝึกให้คำตอบให้มากและหลากหลายที่สุดต่อคำถามหนึ่งๆ  รวมทั้งส่งเสริมให้มีคำตอบที่คัดค้านทฤษฎีที่เชื่อถือกันด้วย

ครูควรให้ นศ. ทำแบบฝึกหัดที่มีหลายคำตอบ


ให้มีข้อมูลหลักฐานอยู่ในเกณฑ์ประเมิน

ต้องฝึกให้ นศ. ใช้ข้อมูลหลักฐานอ้างอิงในการเสนอความเห็นหรือโต้แย้ง  วิธีหนึ่งคือใช้ rubrics หรือเครื่องมืออื่น เพื่อค่อยๆ ดึงหลักฐานออกมา  อาจให้ นศ. ตรวจผลงานซึ่งกันและกันโดยใช้ rubrics  และวงข้อมูลหลักฐานของแต่ละส่วนให้เห็นชัดเจน


ตรวจสอบสมมติฐานของตัวครูเอง ต่อ นศ.

สมมติฐานของครู ต่อ นศ. ทั้งชั้น และต่อ นศ. เป็นรายคน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของครู โดยครูไม่รู้ตัว  และพฤติกรรมนี้มีผลต่อการเรียนรู้ของ นศ.  ครูจึงพึงตรวจสอบสมมติฐานของตนให้อยู่บนฐานความเป็นจริง

วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ จัดกระบวนการทำความรู้จักกันในวันแรกของเทอม  ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องพื้นความรู้  เทคนิคทำความรู้จัก นศ. นี้มีมากมายให้ค้นคว้าได้


ระมัดระวังคำพูดที่ระบุว่า นศ. มีความสามารถต่ำ

ครูมีหน้าที่ให้กำลังใจ ให้ นศ. มีความมานะพยายาม  โดยช่วยชี้ช่องทางและวิธีการเรียนที่เหมาะสมให้  ครูไม่ควรใช้ถ้อยคำที่พาดพิงถึงเรื่องที่ไม่มีใครแก้ไขได้  เช่นไม่ควรพูดว่า “ครูยินดีช่วยเสมอ เพราะครูรู้ว่าผู้หญิงมักไม่เก่งคณิตศาสตร์”  การเป็นผู้หญิงไม่มีทางแก้ไขได้ ครูจึงไม่ควรพูด  แต่ควรพูดว่า “หากเธอพยายาม ขยันทำแบบฝึกหัดอีกสักวันละครึ่งชั่วโมง  ครูคิดว่าเธอจะเรียนวิชานี้ได้สำเร็จ”  ความขยันเป็นสิ่งที่แก้ไขได้

เรื่องคำพูดของครู ที่ควรพูด และไม่ควรพูด นี้ ครูทุกคนควรเอาใจใส่ศึกษา


อย่าบอกให้ นศ. คนใดคนหนึ่งพูดแทนกลุ่ม

ในหนังสือระบุถึง นศ. ที่เป็นชนกลุ่มน้อย  ว่าหากให้พูดแทนกลุ่ม อารมณ์ บ่ จอย ของเขาอาจทำให้เขาพูดได้ไม่ดี หรือระเบิดอารมณ์  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเสีย

แต่ผมคิดต่าง  ผมคิดว่าในหลายกรณี ความเห็นของ นศ. ในห้องอาจมีความแตกต่างหลากหลาย  ไม่ได้เป็นเอกภาพ  ซึ่งในด้านเป้าหมายของการเรียน เราต้องการมีหลากหลายความเห็นอยู่แล้ว  การให้พูดแทนกลุ่มโดยไม่ได้แยกกลุ่ม ไม่ได้ปรึกษาหารือหาข้อยุติในกลุ่ม  เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ


ลดการปกปิดตัวตน

บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดีคือบรรยากาศเปิดกว้าง  และมีการยอมรับนับถือตัวตนของ นศ. แต่ละคน  การที่ครูทำความรู้จักและเรียกชื่อศิษย์เป็นรายคน  การที่มีกระบวนการช่วยให้ นศ. รู้จักคุ้นเคยกัน  จะช่วยให้มีบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน


ใช้ท่าที ภาษา พฤติกรรม ที่สะท้อนการเปิดกว้าง ยอมรับชนทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียมกัน

ครูต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ นศ. ทุกคนในชั้นเรียนรู้สึกว่าตนเป็นสมาชิกของห้องเรียนที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนอื่น  ครูพึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำที่สะท้อนจิตใต้สำนึกว่าคนบางกลุ่มเหนือคนอีกบางกลุ่ม  เช่นใช้สรรพนามเพศชาย ส่อว่าให้ความสำคัญผู้ชายเหนือผู้หญิง  หรือเมื่อมีการใช้คำ American idiom ครูก็ช่วยอธิบายให้ นศ. ต่างชาติทราบว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไร  เพื่อช่วยให้ นศ. ผู้นั้นได้เข้าใจร่วมไปกับชั้น


ใช้ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย

ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย ช่วยให้ นศ. เห็นว่า ทฤษฎีนั้นใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  เช่น  ตัวอย่างที่ใช้ในคนเพศใดก็ได้  ที่ใช้ในผู้หญิง  ที่ใช้ในคนต่างเศรษฐฐานะ  จะช่วยให้ นศ. ติดตามได้  และเห็นคุณค่าของความรู้นั้นในสถานการณ์จริง

 

กำหนดและบังคับใช้กติกาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี

กติกาของปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนต้องมีการกำหนดเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี  มีท่าทีเปิดกว้าง (inclusive)  นศ. ทุกคนได้รับการพัฒนา   วิธีที่ดีคือให้ นศ. ระดมความคิดช่วยกันกำหนด  เพื่อป้องกันพฤติกรรมของบางคนที่มีอคติต่อคนบางกลุ่ม


ระมัดระวังว่าสาระในวิชาไม่ทำให้ นศ. บางกลุ่มถูกผลักออกไปชายขอบ

ครูต้องระมัดระวังตรวจสอบสาระของวิชา ว่ามีการละเว้นสาระบางส่วนไปหรือไม่  การละเว้นนั้น มีผลเท่ากับไม่ให้ความสำคัญแก่คนบางกลุ่ม  ทำให้ นศ. บางคนรู้สึกเหมือนถูกผลักออกไปนอกวง (marginalized) และมีผลปิดกั้นการสร้างอัตตลักษณ์ของ นศ. คน/กลุ่ม นั้น หรือไม่


สร้างบรรยากาศที่ดีของรายวิชาในวันแรก

ครูพึงใช้วันแรกสร้างความประทับใจ และวางแนวทางของบรรยากาศในชั้นเรียน  แสดงดุลยภาพระหว่างสมรรถนะและอำนาจ กับความเป็นคนที่เข้าถึงง่าย  หาวิธีทำให้ นศ. รู้จักกัน และรู้สึกสบายใจกับครูและรายวิชา  รวมทั้งสามารถเรียนเนื้อหารายวิชาได้อย่างมีความหมาย


จัดให้มีการสะท้อนกลับ เรื่องบรรยากาศการเรียน

ครูต้องหาวิธีได้รับการสะท้อนกลับ (feedback) บรรยากาศในชั้นเรียน ว่าทุกคนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ ให้คุณค่า และรับฟัง อย่างเท่าเทียมกัน  โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีต่อไปนี้ (๑) ถามจาก ตัวแทน นศ. ที่มาพบครูเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ  โดยครูถามประเด็นจำเพาะที่เป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับชั้นเรียนนั้น  (๒) จัดให้ นศ. กรอกแบบสอบถามเรื่องประเด็นอ่อนไหว ในช่วงต้นเทอม  (๓) บันทึกวิดีทัศน์ของชั้นเรียน นำมาพิจารณา  (๔) หาคนมานั่งสังเกตการณ์ชั้นเรียนและให้ความเห็นป้อนกลับ  คนผู้นั้นอาจเป็นเพื่อนครู  นศ. ช่วยสอน  หรือที่ปรึกษาจากศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน

ประเด็นรายละเอียดที่น่าจะตรวจสอบเช่น ครูถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับ นศ. กลุ่มไหนมากเป็นพิเศษ  นศ. กลุ่มไหนไม่ได้รับปฏิสัมพันธ์จากครูเลย  ปฏิสัมพันธ์แบบที่พึงเอาใจใส่คือ ถามคำถาม  ขัดจังหวะ  ถามคำถามที่ง่าย  แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษ  เป็นต้น


ระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลม

ครูต้องระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลมต่อความรู้สึกของ นศ. บางคนหรือบางกลุ่ม  และเมื่อเหตุการณ์ในชั้นเรียนเริ่มส่อไปในทางที่จะเกิดบรรยากาศการเรียนที่ไม่พึงประสงค์  ครูต้องรีบตัดไฟแต่หัวลม  ครูต้องศึกษาและปรึกษาเรื่องนี้เอาไว้เตรียมตัวป้องกันบรรยากาศที่ทำลายการเรียนรู้เรื่องที่สำคัญ จำเป็น แต่เป็นเรื่องอ่อนไหว


ตรวจหาความตึงเครียดให้พบแต่เนิ่นๆ

เมื่อครูจ้องสังเกตระมัดระวังอยู่แล้ว  ครูก็จะเห็นการเริ่มก่อหวอดของบรรยากาศที่ไม่ดี  เช่น มีการบอกให้เพื่อนหยุดพูด  มี นศ. บางคนเลี่ยงออกไปจากห้องหรือจากกลุ่ม  เกิดมีการโต้เถียงกันโดยตรง  ครูต้องรีบหาวิธีระงับเหตุก่อนจะลุกลามใหญ่โต  วิธีการมีได้หลากหลาย เช่นกล่าวคำขอโทษด้วยตนเอง หรือแทน นศ. บางคน “ครูขอโทษ ที่ครูจัดบทเรียนนี้  และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีของ นศ. จำนวนหนึ่ง”  และชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องการตีความหมายแตกต่างกัน

หลังเวลาเรียน ครูควรเชิญ นศ. ที่มีความรู้สึกไม่ดี หรือ นศ. ที่เป็นตัวจุดชนวน มาคุย  ทำความเข้าใจประเด็นความล่อแหลม และวิธีพูดที่ไม่ระคายความรู้สึกของคนที่ความอดทนในเรื่องนั้นต่ำ

เหตุการณ์ยุ่งยาก  เป็นสถานการณ์จริงสำหรับการเรียนรู้


เปลี่ยนความตึงเครียด และไม่เห็นพ้อง เป็นโอกาสเรียนรู้

นศ. ควรได้เรียนรู้ว่า การโต้เถียง  ความขัดแย้ง  ความไม่ลงรอยกัน  และการตีความต่างกัน เป็นโอกาสขยายมุมมอง ทำความเข้าใจเรื่องนั้นในมิติที่ลึกขึ้น  ทำความเข้าใจมุมมองตรงกันข้าม  ฯลฯ  คือเป็นโอกาสเรียนรู้ให้รู้จริงนั่นเอง  จึงไม่ควรมองสภาพข้างต้นเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์  และไม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด

แต่ด้วยความอ่อนเยาว์ของ นศ.  ที่พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ยังไปไม่บรรลุวุฒิภาวะสูงสุด  จึงมีโอกาสที่ นศ. บางคนจะควบคุมตัวเองไม่อยู่และลุแก่โทสะ ทำให้ “บ่อนแตก”  ทำลายบรรยากาศการเรียนรู้

ครูต้องฝึกกำกับควบคุมบรรยากาศที่ล่อแหลมเหล่านี้  ให้อยู่ในสภาพที่ “พอทน” สำหรับ นศ.  ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน  ให้เป็นบรรยากาศของ “ความตึงเครียดที่สร้างสรรค์” (constructive tension)   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญมาก


ส่งเสริมให้มีการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)

ความตึงเครียดส่วนใหญ่เกิดจาก นศ. ไม่ได้ฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ  ไม่ได้ฟังสิ่งที่เพื่อนพูดอย่างแท้จริง  พอมีบางคำที่ตนรู้สึกแสลงหู หรือแทงใจดำ อารมณ์วู่วามก็พลุ่งออกมา  ดังนั้นทักษะการฟังที่เรียกว่า active listening จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

นศ. จึงควรได้มีโอกาสฝึกทักษะการฟัง  วิธีหนึ่งคือ paraphrasing หรือการทวนคำพูดของเพื่อน ในสำนวนใหม่ของตนเอง  ครูเองอาจแสดงตัวอย่าง โดยทวนคำพูดของ นศ.  และถามผู้พูดว่า ตรงกับความหมายที่ นศ. ตั้งใจหรือไม่


สรุป

ระดับพัฒนาการของ นศ. มีผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้รู้จริง  และการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ต้องเอาใจใส่ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. ไปพร้อมๆ กันด้วย  นั่นคือ ระดับพัฒนาการของ นศ. เป็นทั้ง means และ end ของกระบวนการเรียนรู้

บรรยากาศของการเรียนรู้ ต้องไม่ใช่เอาใจใส่เฉพาะบรรยากาศทางปัญญา หรือการเรียนรู้วิชาเท่านั้น   แต่ต้องเอาใจใส่บรรยากาศทางสังคม และทางอารมณ์ด้วย  บรรยากาศทั้ง ๓ ด้านนี้ มีผลต่อการเติบโตหรือพัฒนาการรอบด้าน

บรรยากาศ และระดับพัฒนาการของ นศ. มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างซับซ้อน  ท้าทายครูเพื่อศิษย์ ในการจัดการสิ่งเหล่านั้น เพื่อเอื้ออำนวย ให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง”

ผมขอเพิ่มเติมว่า บรรยากาศการเรียนรู้ของ นศ. มหาวิทยาลัย ต้องคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกายของ นศ. ด้วย  สภาพแวดล้อมควรเอื้อให้ นศ. ได้สร้างสุขนิสัย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ติดตัวไปตลอดชีวิต  การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยให้สมองแจ่มใส ลดความเครียด ช่วยการเรียนรู้

 

วิจารณ์ พานิช

๓ม.ค. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/530986

 

บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

ASEAN+1..ประเทศญี่ปุ่นอาจเป็นไปได้

ผมเขียนบทความอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) ให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสื่อมวลชน

กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

1) การจัดกิจกรรมสัมมนาให้แก่คณะสื่อมวลชนที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ความรู้ 4 เรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมไทยในอนาคต คือ เรื่อง

-      บทเรียนจากการประมูลคลื่นความถี่ กรณีศึกษา การวิเคราะห์มูลค่าคลื่นความถี่ 3G

-      ถึงเวลา 4G ประเทศไทย

-      การเปลี่ยนผ่านระบบ Analog TV สู่ Digital TV

-      นโยบายกับความจริงเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อของประเทศไทย

งานครั้งนี้เป็นประโยชน์มาก ผมได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของ กสทช. หลายท่าน อาทิ พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  ประธาน กสทช. พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. พันเอก ดร. นที  ศุกลรัตน์  รองประธาน กสทช. และประธาน กสท. รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช. คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.  คุณประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. รวมทั้งนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกิจการโทรคมนาคม อาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ และนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกิจการโทรทัศน์ ผศ.ดร. พิรงรอง  รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์วีรวรรณ วรรุตม์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด อดีตผู้บริหารของ อ.ส.ม.ท. มาร่วมให้ความรู้ในครั้งนี้

กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เราเน้นการพัฒนาความรู้ให้แก่สื่อมวลชนในเรื่องที่สำคัญสำหรับอนาคตของกิจการโทรคมนาคมและกิจการโทรทัศน์ในสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่อง..

การพัฒนาของกิจการโทรทัศน์จากระบบ TV Analog ไปเป็น Digital TV สำหรับสังคมไทยเร็ว ๆ นี้

การพัฒนาของกิจการโทรคมนาคมจากเทคโนโลยี 3 G ไปสู่เทคโนโลยี 4 G

นโยบายเกี่ยวกับการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี 4G มีประโยชน์อย่างไร? แต่อาจจะหมายถึงการมองบทเรียนจากการประมูล 3 G คราวที่แล้ว

 

2) การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานด้านกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคม 2556 คณะของเราได้รับเกียรติให้เข้าเยี่ยมจาก 4 หน่วยงานชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย

1.NTT Docomo - เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับโทรทัศน์มือถือ

2.mmbi (NOTTV) - เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับการโทรทัศน์ โดยเฉพาะการพัฒนาสู่ TV Digital และการนำมาใช้ รวมทั้งนโยบายการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

3.NHK Science & Technology Research Laboratories– เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับการโทรทัศน์ โดยเฉพาะการพัฒนาสู่ TV Digital และการนำมาใช้รวมทั้งนโยบายการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

4.NEC Corporation - เรียนรู้กรณีศึกษาระบบ 4G (4G LTE solution) และกรณีศึกษาระบบโทรทัศน์ดิจิตอล (Digital TV solution)

จากการทัศนศึกษาดูงาน สรุปได้ว่า..

ญี่ปุ่นเก่ง 4 G และได้ดำเนินการแล้ว สำหรับประเทศไทยก็คงจะต้องพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไร และเมื่อไหร่ เนื่องจากเราเพิ่งมีการประมูล 3 G ไปเมื่อไม่นานมานี้ จะมองอนาคตของ 4G อย่างไร?

4 G คือ เทคโนโลยีที่จะทำให้ระบบมือถือมีความเร็วและทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่า “Every time, everywhere”อาจจะเพิ่มอีกคำว่า “every languages” ซึ่งแปลว่าในโลกอนาคตต้องทำให้การสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถสื่อสารกันได้ทุกภาษาสิ่งที่สำคัญก็คือราคาในช่วงแรก ๆ จะแพงแค่ไหน? และความพร้อมของคนไทยในการปรับตัวสำหรับการใช้เทคโนโลยี4Gจะเป็นอย่างไร?

ส่วนเรื่อง Digital TV นั้น ถือว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดำเนินการอยู่แล้ว และ NEC Corporation ก็พัฒนาเทคโนโลยีเรื่อง Digital TV ได้ดี โดยเฉพาะเรื่อง..

การพัฒนาจะระบบ HD (Hi -Definition) มาเป็น Super Vision ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีการวิจัยเรื่องความชัดเจนของการดูโทรทัศน์ของระบบ HD และ Super Vision

นอกจากนั้นยังมีการแสดงให้เห็นว่าในประเทศไทย ถ้ามี Digital TV แล้วก็คงจะมี Mobile TV ผ่านมือถืออย่างเต็มรูปแบบด้วย เพราะในยุโรปกับในญี่ปุ่นก็มีแล้ว แต่มีปัญหาเพราะยังไม่แพร่หลาย

คำถามเกี่ยวกับ Mobile TV คือ จะเก็บเงินแพงแค่ไหน?

ในความเห็นของผม.. สำหรับในประเทศไทยควรจะเก็บเงินน้อย ๆ เพราะประโยชน์ของ Mobile TV คือ จะสามารถช่วยคนยากจนในชนบทได้มาก

แนวโน้มในอนาคต คือ การใช้ Smart Phone ช่วยในการแก้ปัญหาหลัก ๆ ของประเทศ เช่น

การศึกษา

E-learning

สุขภาพอนามัย

การเตือนภัย

เรื่องบัตรประชาชนแบบครบวงจร

ฯลฯ

ในปีนี้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จะร่วมมือกับกระทรวง ICT กระทรวงการต่างประเทศ และอีกหลาย ๆ หน่วยงานสำคัญของประเทศจัด International Workshop ปีแรก เรื่อง “ICT Enabling for GMS Agriculture, Education, Tourism, Logistics, Health Care Service Sectors and Interior”  เพื่อการสร้างความร่วมมือกันของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สามารถนำ ICT มาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ 6 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเกษตร การศึกษา  การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพ  และบริการข้อมูลทะเบียนราษฎร์

ในความเห็นของผม กสทช. มีบทบาทในอนาคตมากกว่าแค่การเปิดประมูลหรือการบริหารคลื่นความถี่ แต่ควรจะ

-      ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริโภคในต่างจังหวัดและยากจน

-      ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ

-      จับมือกับ กศน. ช่วยให้สังคมไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ (Live Long Learning)

-      เตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

ผมคิดว่าทีมงานของเรามาครั้งนี้ คือ การหาประสบการณ์ ได้พบกับสื่อหลายกลุ่ม เช่นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาความรู้ เรียนรู้ และเข้าใจบทบาทของ กสทช. ที่ไม่ใช่มองแค่เรื่องการประมูล แต่ต้องมองไปลึกๆ ถึงผลที่จะได้รับทั้งในด้านบวกและด้านลบของประเทศไทยซึ่งกำลังเข้าสู่ “Information Society” จะช่วยให้คนไทยพัฒนาทุนมนุษย์และเตรียมตัวรองรับการสร้างมาตรฐาน (Benchmark) หรือจะเพิ่มคุณภาพ (Quality) ได้อย่างไร?

“สื่อ” ต้องค้นหาตัวเองว่า บทบาทหน้าที่ที่มีประโยชน์ต่อประเทศคืออะไร? ไม่ใช่แค่เสนอข่าวที่คนไทยสนใจระยะสั้นหรือผลประโยชน์ และอาจจะไม่ได้กระตุ้นให้คนไทยมองระยะยาว ซึ่งก็เป็นการบ้านที่หนักสำหรับสังคมไทย

“สื่อ”ที่มีประสบการจะช่วยได้มาก แต่ “สื่อ” ที่จบมาใหม่ๆ ก็ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ เพราะอาจจะตกเป็นเครื่องมือของธุรกิจหรือการเมืองได้

ญี่ปุ่นก็ยังเป็นประเทศที่น่าศึกษาและสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี แม้ว่ากระแสของจีน อินเดีย เกาหลีใต้ จะทำให้คนมองประเทศญี่ปุ่นด้อยไปมาก คือ อาจมองว่าญี่ปุ่นเกิดปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไม่ตก  มองเรื่องปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ

แต่มาคราวนี้ผมมองญี่ปุ่นดีขึ้นมาก เพราะถึงประเทศจะด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน แต่ญี่ปุ่นก็มีทุนแห่งความยั่งยืนและทุนทางจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีการศึกษาที่มีคุณภาพ และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยควรจะเรียนรู้ให้มาก อาทิ

เรื่อง Creative Economy

เรื่อง OTOP

เรื่องคุณภาพของสินค้า

เรื่องวิจัยและพัฒนา (R&D)

เรื่องระเบียบวินัยและการตรงต่อเวลา

บทเรียนเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับคนไทย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

 

มองอเมริกาและย้อนกลับมามองไทยโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

นำบทความของ  "ประสบการณ์ ญี่ปุ่น  วิเคราะห์สหรัฐอเมริกาและย้อนกลับมามองไทย" ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาให้ผู้อ่านครับ
ผมเพิ่งกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับความรู้มากมาย แต่ที่ยังขาด คือ การอ่านหนังสือและการใช้ internet ที่ไม่ค่อยสะดวกนัก และร้านหนังสือใน Tokyo ที่เป็นภาษาอังกฤษ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร

วันนี้ผมมีเวลาจึงไปที่ร้านเอเช ีย บุ๊ค และหยิบ The Economist เล่มล่าสุดเรื่องThe America that works ผมก็เลยสนใจแนวคิดว่าเขาจะมองอย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามีสิ่งที่น่าสนใจระดับประเทศ ของรัฐบาลอเมริกัน ในระดับรัฐบาลกลาง ซึ่งมีปัญหามาก เช่น ปัญหาการว่างงาน เรื่องหนี้สิน และโรงเรียนขาดคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันช่วงหลังจะพบว่า คนเริ่มเห็นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของเมริกา

บทความนี้พบว่า อเมริกามี 2 ระบบซ้อนกัน คือ ระบบรัฐบาลกลาง มีประธานาธิบดีโอบามาเป็นประมุข ซึ่งก็มีปัญหาเยอะ และระบบรัฐบาลท้องถิ่น ประกอบด้วย 50 กว่ารัฐ ซึ่งถ้ารัฐบาลท้องถิ่นพึ่งแต่รัฐบาลกลางก็คงไม่สามารถพัฒนารัฐของตัวเองได้
ดังนั้นหนังสือจึงยกตัวอย่างหลายรัฐที่ปรับปรุงการทำงานที่เร็วขึ้น เน้นปัจจัยดังต่อไปนี้ 
1. ลดขั้นตอนระบบข้าราชการ bureaucracy ลง
2. สนใจโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เรื่องทุนมนุษย์และนวัตกรรม ซึ่งรัฐบาลเน้นการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ โดยเน้นปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ระบบการทำงานของอเมริกาดีขึ้น โดยบทบาทผู้นำของรัฐต่างๆ ไม่ใช่ของประเทศ

และหันกลับมามองประเทศไทย ทั้งอบจ. อบต. เทศบาล เป็นที่น่าเสียดายว่าทำหน้าที่การพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานของไทยทียังมีระบบราชการทำให้การบริหารจัดการช้าลง

บทเรียนของประเทศไทยในอนาคต คือให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็งยาก ที่สำคัญต้องปรับ mindset และให้เห็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น จึงเรียนมาให้ผู้อ่านพิจารณาต่อไปครับ
ผมเพิ่งกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับความรู้มากมาย แต่ที่ยังขาด คือ การอ่านหนังสือและการใช้ internet ที่ไม่ค่อยสะดวกนัก และร้านหนังสือใน Tokyo ที่เป็นภาษาอังกฤษ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร  วันนี้ผมมีเวลาจึงไปที่ร้านเอเชีย บุ๊ค  และหยิบ The Economist เล่มล่าสุดเรื่องThe America that works ผมก็เลยสนใจแนวคิดว่าเขาจะมองอย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามีสิ่งที่น่าสนใจระดับประเทศ ของรัฐบาลอเมริกัน ในระดับรัฐบาลกลาง ซึ่งมีปัญหามาก เช่น ปัญหาการว่างงาน เรื่องหนี้สิน และโรงเรียนขาดคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันช่วงหลังจะพบว่า คนเริ่มเห็นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของเมริกา  บทความนี้พบว่า อเมริกามี 2 ระบบซ้อนกัน คือ ระบบรัฐบาลกลาง มีประธานาธิบดีโอบามาเป็นประมุข ซึ่งก็มีปัญหาเยอะ และระบบรัฐบาลท้องถิ่น ประกอบด้วย 50 กว่ารัฐ ซึ่งถ้ารัฐบาลท้องถิ่นพึ่งแต่รัฐบาลกลางก็คงไม่สามารถพัฒนารัฐของตัวเองได้ ดังนั้นหนังสือจึงยกตัวอย่างหลายรัฐที่ปรับปรุงการทำงานที่เร็วขึ้น เน้นปัจจัยดังต่อไปนี้  1.	ลดขั้นตอนระบบข้าราชการ bureaucracy ลง 2.	สนใจโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เรื่องทุนมนุษย์และนวัตกรรม ซึ่งรัฐบาลเน้นการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ โดยเน้นปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ระบบการทำงานของอเมริกาดีขึ้น โดยบทบาทผู้นำของรัฐต่างๆ ไม่ใช่ของประเทศ  และหันกลับมามองประเทศไทย ทั้งอบจ. อบต. เทศบาล เป็นที่น่าเสียดายว่าทำหน้าที่การพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานของไทยทียังมีระบบราชการทำให้การบริหารจัดการช้าลง  บทเรียนของประเทศไทยในอนาคต คือให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้มแข็งยาก ที่สำคัญต้องปรับ mindset และให้เห็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น จึงเรียนมาให้ผู้อ่านพิจารณาต่อไปครับ

 

เทคนิคที่ทำให้รักการเรียนรู้ตลอดเวลามาจากแรงบันดาลใจที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่น

พิมพ์ PDF

ผมไม่ได้อยู่ในฐานะที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง แต่เมื่อเราเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาที่ยาวนาน ทั้งจากทฤษฎี จากการปฎิบัติ ทั้ง กาย และจิต จากประสบการณ์ที่ได้พบเห็น ทำให้เราเกิดปัญญามากมาย ปัญญาที่เกิดถ้าไม่ได้นำออกมาใช้ เก็บไว้กับตัวก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ว่า ผมเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว  เรียนรู้จากการสังเกต และเรียนรู้จากคน เรียนรู้จากธรรมชาติ เรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาสัมผัสกับประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก กาย และแถมด้วยจิต ทำให้ผมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วก็ต้องนำไปปฎิบัติ เป็นการต่อยอดจากความรู้ ทำให้เกิด เป็นปัญญา และนำไปปฎิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อตัวเอง ครอบครัว สังคม ชุมชน และประเทศชาติ

ผมไม่ได้อยู่ในฐานะที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง แต่เมื่อเราเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาที่ยาวนาน ทั้งจากทฤษฎี จากการปฎิบัติ ทั้ง กาย และจิต จากประสบการณ์ที่ได้พบเห็น ทำให้เราเกิดปัญญามากมาย ปัญญาที่เกิดถ้าไม่ได้นำออกมาใช้ เก็บไว้กับตัวก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

ความรู้และปัญญาเก็บไว้กับตัวนานเท่าไหร่ก็จะยิ่งหมดคุณค่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จะต้องรีบนำความรู้และปัญญาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ผมมีความสุขมากที่สามารถนำความรู้และปัญญาของผมไปถ่ายทอดและเผยแพร่ให้กับคนอื่นได้นำไปใช้ ผมจึงต้องเรียนรู้ตลอดเวลามิฉะนั้นผมจะไม่มีความรู้และปัญญาไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

21 มีนาคม 2556

 

เทคนิคที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ตลอดเวลา

พิมพ์ PDF

เทคนิคที่ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ตลอดเวลา คือการนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด เช่น เมื่อผมได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช ผมได้ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการอ่านหนังสือของอาจารย์วิจารณ์ แล้วท่านนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ และนำเสนอในแนวทางของท่าน บทความของท่านอ้างอิงจากทฤษฎี และประสบการณ์ที่ท่านพบเห็น ผมก็นำมาพิจารณากับทฤษฎีของผมที่ได้จากสิ่งที่ผมปฎิบัติรวมกับประสบการณ์ที่ผมพบเห็น ถ้าตรงกัน ก็เป็นการยืนยันว่าทฤษฎีของผมถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกันก็ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแสดงความคิดเห็นกลับไปที่อาจารณ์วิจารณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิด ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม และเป็นการฝึกการใช้เหตุผล ผมถือว่าเป็นการต่อยอดความรู้

ผมถือว่าคนทุกคนที่ผมได้สนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คนรอบตัวผม เป็นครูของผมทั้งสิ้น เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อร่วมงาน ลูกค้า เพื่อน คนรู้จัก คนที่ผมให้ความสนใจ ญาติพี่น้อง โดยเฉพาะคนในครอบครัวผม คุณพ่อ คุณแม่ ภรรยา น้อง ลูก ผมเรียนรู้จากทุกคนและทำความเข้าใจกับเขาเหล่านั้น โดยเฉพาะคนในครอบครัวผม ผมศึกษาปฎิกิริยาที่เขามีต่อผมไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการแสดงออก และนำมาวิเคราะห์ และปรับวิธีการตัวผมเพื่อให้เกิดความสุขกับทุกคน  ทำคู่ไปกับการสอนและให้ความรู้ ผมเชื่อว่าทุกอย่างต้องปรับที่เรา ไม่ใช่คิดว่าเราทำถูก แต่คนอื่นไม่เข้าใจเรา เราต้องเป็นผู้ปรับตัวของเราหาสิ่งบกพร่องในตัวเราปรับวิธีการสื่อสารของเราเพื่อให้เขาเข้าใจ การถ่ายทอดความรู้และความคิดก็เช่นกัน ไม่สามารถบังคับหรือเคี้ยวเข็ญใครให้ยอมรับความรู้จากเราได้ หรือให้ใครคิดเหมือนเราได้ และไม่สามารถตัดสินได้ว่าความคิดของคนนั้นถูก ความคิดของคนนี้ผิด ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญมากในการให้ความรู้คน เราไม่สามารถยัดเยียดและให้คนเห็นด้วยกันเราได้เสมอไป ผมไม่โทษคนที่เขาไม่เข้าใจเรา แต่หันมาดูตัวเราเองว่าเราสื่ออย่างไรเขาจึงไม่เข้าใจ และหาทางปรับวิธีและรอเวลาและโอกาส ถ้าโอกาสและเวลายังไม่อำนวย ก็ต้องปล่อยให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปเร่งรัด

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

21 มีนาคม 2556

 


หน้า 506 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741384

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า