Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๐. การทำหน้าที่ “ครูฝึก”

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๐ และ ๑๑ มาจากบทที่ 5  What Kind of Practice and Feedback Enhance Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการเป็น “ครูฝึก” ที่ดีของครู  วิธีใช้เวลาที่มีจำกัด ในการฝึก นศ. และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นศ. ให้ฝึกฝนเรียนรู้ อย่างได้ผลแท้จริง  ไม่หลงใช้วิธีการผิดๆ

นศ. มีเวลา และความสามารถทางสมองจำกัด  แต่ครูก็สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้  คือเป้าหมายของหนังสือบทนี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  บทนี้ว่าด้วยวิธีที่ครูช่วยให้ นศ. “Learn smarter” นั่นเอง


การฝึกปฏิบัติ และการให้คำแนะนำป้อนกลับ


 

 

 

การจัดโจทย์สำหรับการฝึกปฏิบัติที่ดี และการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ดี  คือการช่วยให้ นศ. ฝึกทักษะแบบลงทุนน้อย ได้ผลมาก  นี่คือหน้าที่ของ “ครูฝึก”

จากรูปข้างบน การฝึกปฏิบัติที่ดีต้องมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุชัดเจน วัดหรือรู้สึกได้  ระหว่างฝึกมีการประเมินสมรรถนะอยู่ตลอดเวลา  มีการนำผลประเมินป้อนกลับมาสร้างความมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมาย  และสร้างปิติสุขเมื่อบรรลุ  สภาพเช่นนี้เป็นวงจรยกระดับเป้าหมายสมรรถนะที่สูงขึ้นๆ จน “รู้จริง”


การฝึกปฏิบัติมีทั้งวิธีที่ดี และวิธีที่เลว

 

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร เป็นสภาพของกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนนำมาเล่าเป็นคำพร่ำบ่นของศาสตราจารย์ผู้หนึ่ง  ที่ให้ นศ. “เรียนโดยลงมือทำ”  แต่เวลานำเสนอผลงาน นศ. เน้นที่การทำ slide presentation ที่สวยงาม มีลูกเล่นแพรวพราว  แต่สาระที่นำเสนอตื้นเขิน  แนะนำทีไร ผลก็ได้เหมือนเดิมทุกที ไม่มีการยกระดับเป้าหมาย

เพราะขยันฝึกแต่สิ่งที่ตนทำได้ดีอยู่แล้ว และไม่ใช่ทักษะหลักที่ต้องการ  ทักษะหลักที่ต้องการส่วนที่ต้อง “รู้จริง” มันลึกและยาก  นศ. จึงเลี่ยง เอาทักษะผิวเผินและไม่ยาก มาบังหน้า

ผมเห็นสภาพนี้เต็มไปหมด ในสังคมไทย  โดยเฉพาะในวงการศึกษา


การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง

การฝึกปฏิบัติที่ให้ผลเรียนรู้และพัฒนาทักษะ/สมรรถนะ ได้ดีที่สุด ต้องมีลักษณะครบ ๓ ประการ คือ  (๑) เน้นหรือพุ่งเป้าไปที่เป้าหมายหรือทักษะจำเพาะ  (๒) มีเป้าหมายพัฒนาทักษะเพิ่มจากที่ นศ. มีอยู่แล้ว ในระดับความท้าทายที่พอเหมาะ  (๓) มีการฝึกนานพอเหมาะ และบ่อยพอเหมาะ เพื่อการบรรลุทักษะ/สมรรถนะ เป้าหมาย


พุ่งเป้าการฝึกไปที่เป้าหมายหรือเกณฑ์ความสำเร็จที่จำเพาะ และชัดเจน

ผลการวิจัยบอกว่า การฝึกฝนมีหลายแบบ  แบบที่จะนำไปสู่ความพากเพียรพยายาม ฝึกฝนต่อเนื่องเรียกว่า การฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ซึ่งหมายความว่า นศ. มีเป้าหมายของตนชัดเจนว่าการฝึกขั้นตอนนี้ต้องการบรรลุอะไร  รู้ได้อย่างไรว่าบรรลุ  เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การฝึกทักษะขั้นสูงอะไรต่อไป  โดยรู้ว่าเป้าหมายสุดท้ายคืออะไร

ครูต้องช่วยให้ นศ. ฝึกโดยเข้าใจเป้าหมายของการฝึกเป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้   หลายกรณี ครูเข้าใจผิดว่าตนบอก นศ. ชัดเจนแล้ว  แต่ชัดเจนสำหรับครู ไม่ชัดเลยสำหรับศิษย์  การฝึกจึงเปะปะไร้ความหมายสำหรับศิษย์

เป้าหมายเป็นตัวให้พลังในการพุ่งเป้าความพยายาม  ไม่ว่าทำอะไร เราควรฝึกตัวเองให้ทำอย่างมีเป้าหมายเสมอ  จะช่วยให้ทำได้ดีกว่าปกติ  เวลาผมอ่านหนังสือ ผมจะใช้วิธี “ถามหนังสือ”  ไม่ใช่อ่านไปเรื่อยๆ  การ “ถาม” เป็นการกำหนดเป้าหมายนั่นเอง

ทักษะของครู ในการทำให้ศิษย์มีความชัดเจนของเป้าหมายของการฝึกแต่ละขั้นตอน จึงมีความสำคัญยิ่ง  ยิ่งให้ นศ. ได้เข้าใจการฝึกตอนต่อๆ ไปข้างหน้า อีก ๒ - ๓ ขั้นตอน  และเข้าใจว่า ขั้นตอนเหล่านั้นจะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ของ นศ. อย่างไร  นศ. จะยิ่งมีกำลังใจและมีพลังในการฝึก   ซึ่งหมายความว่า ครูต้องรู้เป้าหมายในชีวิตของ นศ. แต่ละคน  และทำให้เป้าหมายของการฝึกเล็กๆ นั้น เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายทักษะ/สมรรถนะ ชุดใหญ่  ที่จะปูทางไปสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของชีวิตของ นศ. แต่ละคน

อ่านและตีความหนังสือมาถึงตอนนี้  ผมคิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน และในชีวิต  และทำให้ผมคิดถึงครูเรฟ ผู้เขียนหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ  ซึ่งดูวิดีทัศน์แสดงวิธีสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิษย์วัย ๑๐ ขวบ ใน YouTube ได้ที่นี่

ถ้อยคำ (ทั้งที่เป็นข้อเขียน และเป็นคำพูด) ที่ครูคิดว่าชัดเจน  อาจไม่ชัดเจนพอสำหรับศิษย์  อาจทำให้ศิษย์เข้าใจผิด  และฝึกฝนตนเองผิดเป้าที่แท้จริง  ดังนั้น ครูต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าการฝึกช่วงนั้นต้องการให้ นศ. ทำอะไรได้บ้าง  วัดความสำเร็จอย่างไร   อาจต้องบอกว่าเป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่อะไรบ้าง เพื่อให้ชัดเจนถึงขนาด


ระดับความท้าทายพอเหมาะ

ในการฝึกฝน นอกจาก นศ. มีเป้าหมายชัดแล้ว  ประเด็นฝึกหัดต้องมีระดับความยากง่าย หรือที่เรียกในสมัยใหม่ว่าความท้าทาย (challenge) เหมาะสมด้วย  รวมทั้งมีตัวช่วยที่เหมาะสมให้ นศ. ใช้ความอดทนมานะพยายามก้าวข้ามความยาก ไปสู่ความสำเร็จได้

นี่คือสิ่งที่ครู พึงจัดให้แก่ศิษย์

มีผู้ให้นิยามการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ว่าหมายถึงการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สมเหตุสมผล และท้าทาย  คือต้องมีความท้าทายเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย จึงจะถือว่าเป็นการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด  หากไม่ท้าทาย นศ. ก็จะขาดความสนใจ  หันไปทำอย่างอื่น

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยบอกว่า หากความท้าทายใหญ่/ยาก เกินไป  หรือมีหลายอย่างเกินไป  จะเกินแรงสมองของ นศ. ผลการฝึกจะไม่ดี

ความท้าทายที่เหมาะสมจึงเป็นโจทย์สำหรับครู  ที่จะศึกษาทำความเข้าใจ เชื่อมโยงกับศิษย์แต่ละคน  และเชื่อมโยงกับการทำหน้าที่ “ครูฝึก”  ผมหลับตาเห็นโจทย์วิจัยวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้มากมาย จากเรื่องนี้

เรื่องการฝึกภายใต้ความท้าทายพอเหมาะนี้ หนังสือเอ่ยถึงคำ Zone of Proximal Development  ซึ่งน่าสนใจมาก  คนเป็นครู/อาจารย์ ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม  และพึงตระหนักว่า ความท้าทายที่เหมาะสมต้องคู่กับความช่วยเหลือที่เหมาะสมด้วย

หนังสือเล่าเรื่องวิธีการสร้าง “ตัวช่วย” มากมาย  หลายวิธีเป็นการให้ นศ. ช่วยกันเอง  ไม่กินแรงครู  เป็นเรื่องที่น่าทดลองนำมาใช้และทำงานวิจัยควบคู่ไปด้วย


สั่งสมการฝึกฝน

ต้องไม่ลืมว่า เป้าหมายของการฝึกฝนคือ ทำได้อย่างเป็นอัตโนมัติ  คือไม่ต้องคิด  ดังนั้น การฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเป็นสิ่งจำเป็น  แต่เวลาเป็นทรัพยากรที่จำกัด  ครูพึงเข้าใจข้อจำกัดนี้ของ นศ.

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกฝนของ นศ. เป็นช่วงของผู้ฝึกใหม่  นศ. จะค่อยๆ เรียนรู้สั่งสมทักษะ  ครูต้องระมัดระวังไม่เร่งร้อน  และควรหาโอกาสให้ นศ. ได้ฝึกแต่ละทักษะซ้ำ  ไม่ใช่ฝึกครั้งเดียวผ่านไปเลย  เพราะจะมี นศ. ส่วนใหญ่ที่ยังฝึกไม่ได้ทักษะจริง

 

 

แผนภาพข้างบนมาจากผลการวิจัย ที่แสดงว่าช่วงเวลาของการฝึกฝนให้ผลเพิ่มสมรรถนะไม่เท่ากัน  คือเพิ่มน้อยในช่วงต้นและช่วงปลายที่ชำนาญแล้ว  เพิ่มมากในช่วงกลาง ที่ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นมาอย่างดีแล้ว  หนังสือบอกว่าสภาพนี้มีทั้งส่วนจริง และส่วนที่เป็นความรู้สึกของ นศ.  ที่เป็นความรู้สึกลวงว่าช่วงเริ่มต้นฝึกไม่ค่อยได้อะไร ก็เพราะเป็นช่วงฝึกทักษะองค์ประกอบย่อย  ตัวผู้ฝึกจะไม่รู้สึกว่าได้สมรรถนะ  จะรู้สึกว่าได้เพิ่มสมรรถนะเมื่อได้ทักษะบูรณาการ  ส่วนตอนท้าย เมื่อฝึกมานาน น.ศ. ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ก็เพราะส่วนที่เพิ่มจะเป็นรายละเอียดมากๆ  ความรู้สึกลวงของ นศ. นี้บอกว่า  ครูต้องเอาใจใส่ให้การประเมินป้อนกลับความก้าวหน้าของสมรรถนะ แก่ นศ. ในช่วงนี้มากเป็นพิเศษ  เพื่อให้ นศ. ได้เห็นคุณค่าของการฝึกช่วงนั้น


เทคนิคการเป็น ครูฝึก

ประเมินพื้นความรู้ชอง นศ. สำหรับใช้กำหนดระดับความท้าทาย

ครูต้องตระหนักเสมอว่า นศ. ในชั้นมีพื้นความรู้แตกต่างกัน  การทดสอบพื้นความรู้ตอนต้นเทอม โดยการให้กรอกแบบสอบถาม  ให้ทำ Pre-test  หรือให้ทำการบ้านโดยไม่คิดคะแนน  จะช่วยให้ครูรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของ นศ.  สำหรับนำมาใช้กำหนดระดับความยากง่ายของการฝึก


จงระบุเป้าหมายของรายวิชาให้แจ่มชัด

อย่าปล่อยให้ นศ. คิดเอาเองเกี่ยวกับเป้าหมาย และรายละเอียดของรายวิชา  จงระบุเป็นข้อเขียนลงไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (Course Description)  รวมทั้งระบุเป้าหมายของแต่ละงานที่มอบหมายให้ นศ. ทำด้วย  โดยเน้นระบุเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม”  คือระบุว่าเมื่อจบรายวิชา (หรือเมื่อจบงานนั้นๆ) นศ. จะทำอะไรได้  สำหรับให้ นศ. ใช้เป็นธงนำการเรียนรู้ของตน


ใช้ rubric ของการประเมินเพื่อสื่อสารเกณฑ์ของสมรรถนะที่ต้องการอย่างชัดเจน

ข้อดีของ rubric คือ ช่วยแยกแยะงานนั้นๆ ออกเป็นองค์ประกอบย่อย  และบอกเกณฑ์ชัดเจนว่า สมรรถนะระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูง เป็นอย่างไร  นศ. จะใช้เป็นเครื่องมือนำทางและตรวจสอบการเรียนรู้ของตนได้


จัดให้มีโอกาสฝึกฝนหลายช่องทาง

ธรรมชาติของการเรียนรู้ คือมีการสั่งสมอย่างช้าๆ ไปกับการฝึกฝน  ดังนั้นการฝึกฝนทำโจทย์หรืองานเล็กๆ หลายๆ ครั้ง จะช่วยให้ผลการเรียนรู้ดีกว่าการให้ทำงานใหญ่เพียงครั้งเดียว

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงครั้งเดียว ไม่เพียงพอต่อการเรียนให้รู้จริง


ใช้เทคนิค scaffolding ในการมอบหมายงาน

เป็นเทคนิคที่ครูช่วยมากหน่อยในตอนต้นที่ นศ. ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  แล้วครูค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลง  ให้ นศ. ช่วยตนเอง หรือเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น


กำหนดความคาดหวังต่อการฝึก

นศ. มักคิดว่าการฝึกใช้เวลาไม่มาก  ซึ่งไม่ตรงความเป็นจริงสำหรับคนฝึกใหม่ ที่ต้องใช้เวลาฝึกอย่างเป็นขั้นตอน  ครูจึงต้องมีเอกสารระบุแนวทางการฝึก  บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนครั้ง  ระยะเวลาแต่ละครั้ง  ชนิดของการฝึก  และระดับการฝึก  ที่ต้องการสำหรับบรรลุทักษะในระดับที่ต้องการ

ครูมีแนวทางได้ข้อมูลนี้ ๒ วิธี  วิธีแรกคือสอบถามจาก นศ. รุ่นก่อนๆ  วิธีหลังคือ นศ. ที่เป็นคนฝึกใหม่จะใช้เวลา ๓ - ๔ เท่าของครูที่ถือเป็นผู้ชำนาญ


ยกตัวอย่างสมรรถนะที่เป็นเป้าหมาย

การให้ นศ. ดูตัวอย่างผลงานที่ดีของ นศ. รุ่นก่อนๆ  จะช่วยให้ นศ. นึกออกง่ายขึ้น ว่าสมรรถนะที่ดีเป็นอย่างไร  ครูควรอธิบายด้วยว่า ลักษณะส่วนไหนของผลงานตรงตามเกณฑ์สมรรถนะไหน


ให้ นศ. ได้ประจักษ์สิ่งที่ครูไม่ต้องการ

เป็นการให้ตัวอย่างที่ตรงกันข้ามกับหัวข้อก่อน  นศ. จะได้เข้าใจชัดเจนว่า ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คืออะไรบ้าง  นศ. จะได้ไม่หลงฝึกฝนผิดๆ  หรือหลงสร้างผลงานที่คุณภาพต่ำ

วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ นศ. เข้าใจเกณฑ์คุณภาพของผลงานชัดคือ ให้ นศ. ใช้ rubric ประเมินให้คะแนนผลงานตัวอย่างของ นศ. รุ่นก่อนๆ


ปรับปรุงเป้าหมายให้ชัดและเหมาะสมยิ่งขึ้นในระหว่างที่การเรียนก้าวหน้าไประหว่างเทอม

เป้าหมายการเรียนรู้ไม่ควรเป็นเป้านิ่ง  ควรปรับไปตามสภาพของผลการเรียนของชั้น  เช่น เมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง  และ นศ. บรรลุเป้าหมายการฝึกทักษะแล้ว  ครูอาจเพิ่มเป้าหมายให้ นศ. ประยุกต์ทักษะได้เร็วยิ่งขึ้น

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๖

กรณีที่ไม่สามารถอ่านได้ครบถ้วนกรุณาเข้าไปหาอ่านได้จากบันทึกตัวจริงของอาจารย์วิจารณ์ ที่ผมคัดลอกมาได้ที่ http://www.gotoknow.org/posts/521064

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๐. การทำหน้าที่ “ครูฝึก”

พิมพ์ PDF

 

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๐ และ ๑๑ มาจากบทที่ 5  What Kind of Practice and Feedback Enhance Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการเป็น “ครูฝึก” ที่ดีของครู  วิธีใช้เวลาที่มีจำกัด ในการฝึก นศ. และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นศ. ให้ฝึกฝนเรียนรู้ อย่างได้ผลแท้จริง  ไม่หลงใช้วิธีการผิดๆ

นศ. มีเวลา และความสามารถทางสมองจำกัด  แต่ครูก็สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้  คือเป้าหมายของหนังสือบทนี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  บทนี้ว่าด้วยวิธีที่ครูช่วยให้ นศ. “Learn smarter” นั่นเอง


การฝึกปฏิบัติ และการให้คำแนะนำป้อนกลับ


 

 

 

การจัดโจทย์สำหรับการฝึกปฏิบัติที่ดี และการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ดี  คือการช่วยให้ นศ. ฝึกทักษะแบบลงทุนน้อย ได้ผลมาก  นี่คือหน้าที่ของ “ครูฝึก”

จากรูปข้างบน การฝึกปฏิบัติที่ดีต้องมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุชัดเจน วัดหรือรู้สึกได้  ระหว่างฝึกมีการประเมินสมรรถนะอยู่ตลอดเวลา  มีการนำผลประเมินป้อนกลับมาสร้างความมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมาย  และสร้างปิติสุขเมื่อบรรลุ  สภาพเช่นนี้เป็นวงจรยกระดับเป้าหมายสมรรถนะที่สูงขึ้นๆ จน “รู้จริง”


การฝึกปฏิบัติมีทั้งวิธีที่ดี และวิธีที่เลว

 

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร เป็นสภาพของกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนนำมาเล่าเป็นคำพร่ำบ่นของศาสตราจารย์ผู้หนึ่ง  ที่ให้ นศ. “เรียนโดยลงมือทำ”  แต่เวลานำเสนอผลงาน นศ. เน้นที่การทำ slide presentation ที่สวยงาม มีลูกเล่นแพรวพราว  แต่สาระที่นำเสนอตื้นเขิน  แนะนำทีไร ผลก็ได้เหมือนเดิมทุกที ไม่มีการยกระดับเป้าหมาย

เพราะขยันฝึกแต่สิ่งที่ตนทำได้ดีอยู่แล้ว และไม่ใช่ทักษะหลักที่ต้องการ  ทักษะหลักที่ต้องการส่วนที่ต้อง “รู้จริง” มันลึกและยาก  นศ. จึงเลี่ยง เอาทักษะผิวเผินและไม่ยาก มาบังหน้า

ผมเห็นสภาพนี้เต็มไปหมด ในสังคมไทย  โดยเฉพาะในวงการศึกษา


การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง

การฝึกปฏิบัติที่ให้ผลเรียนรู้และพัฒนาทักษะ/สมรรถนะ ได้ดีที่สุด ต้องมีลักษณะครบ ๓ ประการ คือ  (๑) เน้นหรือพุ่งเป้าไปที่เป้าหมายหรือทักษะจำเพาะ  (๒) มีเป้าหมายพัฒนาทักษะเพิ่มจากที่ นศ. มีอยู่แล้ว ในระดับความท้าทายที่พอเหมาะ  (๓) มีการฝึกนานพอเหมาะ และบ่อยพอเหมาะ เพื่อการบรรลุทักษะ/สมรรถนะ เป้าหมาย


พุ่งเป้าการฝึกไปที่เป้าหมายหรือเกณฑ์ความสำเร็จที่จำเพาะ และชัดเจน

ผลการวิจัยบอกว่า การฝึกฝนมีหลายแบบ  แบบที่จะนำไปสู่ความพากเพียรพยายาม ฝึกฝนต่อเนื่องเรียกว่า การฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ซึ่งหมายความว่า นศ. มีเป้าหมายของตนชัดเจนว่าการฝึกขั้นตอนนี้ต้องการบรรลุอะไร  รู้ได้อย่างไรว่าบรรลุ  เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การฝึกทักษะขั้นสูงอะไรต่อไป  โดยรู้ว่าเป้าหมายสุดท้ายคืออะไร

ครูต้องช่วยให้ นศ. ฝึกโดยเข้าใจเป้าหมายของการฝึกเป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้   หลายกรณี ครูเข้าใจผิดว่าตนบอก นศ. ชัดเจนแล้ว  แต่ชัดเจนสำหรับครู ไม่ชัดเลยสำหรับศิษย์  การฝึกจึงเปะปะไร้ความหมายสำหรับศิษย์

เป้าหมายเป็นตัวให้พลังในการพุ่งเป้าความพยายาม  ไม่ว่าทำอะไร เราควรฝึกตัวเองให้ทำอย่างมีเป้าหมายเสมอ  จะช่วยให้ทำได้ดีกว่าปกติ  เวลาผมอ่านหนังสือ ผมจะใช้วิธี “ถามหนังสือ”  ไม่ใช่อ่านไปเรื่อยๆ  การ “ถาม” เป็นการกำหนดเป้าหมายนั่นเอง

ทักษะของครู ในการทำให้ศิษย์มีความชัดเจนของเป้าหมายของการฝึกแต่ละขั้นตอน จึงมีความสำคัญยิ่ง  ยิ่งให้ นศ. ได้เข้าใจการฝึกตอนต่อๆ ไปข้างหน้า อีก ๒ - ๓ ขั้นตอน  และเข้าใจว่า ขั้นตอนเหล่านั้นจะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ของ นศ. อย่างไร  นศ. จะยิ่งมีกำลังใจและมีพลังในการฝึก   ซึ่งหมายความว่า ครูต้องรู้เป้าหมายในชีวิตของ นศ. แต่ละคน  และทำให้เป้าหมายของการฝึกเล็กๆ นั้น เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายทักษะ/สมรรถนะ ชุดใหญ่  ที่จะปูทางไปสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของชีวิตของ นศ. แต่ละคน

อ่านและตีความหนังสือมาถึงตอนนี้  ผมคิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน และในชีวิต  และทำให้ผมคิดถึงครูเรฟ ผู้เขียนหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ  ซึ่งดูวิดีทัศน์แสดงวิธีสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิษย์วัย ๑๐ ขวบ ใน YouTube ได้ที่นี่

ถ้อยคำ (ทั้งที่เป็นข้อเขียน และเป็นคำพูด) ที่ครูคิดว่าชัดเจน  อาจไม่ชัดเจนพอสำหรับศิษย์  อาจทำให้ศิษย์เข้าใจผิด  และฝึกฝนตนเองผิดเป้าที่แท้จริง  ดังนั้น ครูต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าการฝึกช่วงนั้นต้องการให้ นศ. ทำอะไรได้บ้าง  วัดความสำเร็จอย่างไร   อาจต้องบอกว่าเป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่อะไรบ้าง เพื่อให้ชัดเจนถึงขนาด


ระดับความท้าทายพอเหมาะ

ในการฝึกฝน นอกจาก นศ. มีเป้าหมายชัดแล้ว  ประเด็นฝึกหัดต้องมีระดับความยากง่าย หรือที่เรียกในสมัยใหม่ว่าความท้าทาย (challenge) เหมาะสมด้วย  รวมทั้งมีตัวช่วยที่เหมาะสมให้ นศ. ใช้ความอดทนมานะพยายามก้าวข้ามความยาก ไปสู่ความสำเร็จได้

นี่คือสิ่งที่ครู พึงจัดให้แก่ศิษย์

มีผู้ให้นิยามการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ว่าหมายถึงการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สมเหตุสมผล และท้าทาย  คือต้องมีความท้าทายเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย จึงจะถือว่าเป็นการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด  หากไม่ท้าทาย นศ. ก็จะขาดความสนใจ  หันไปทำอย่างอื่น

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยบอกว่า หากความท้าทายใหญ่/ยาก เกินไป  หรือมีหลายอย่างเกินไป  จะเกินแรงสมองของ นศ. ผลการฝึกจะไม่ดี

ความท้าทายที่เหมาะสมจึงเป็นโจทย์สำหรับครู  ที่จะศึกษาทำความเข้าใจ เชื่อมโยงกับศิษย์แต่ละคน  และเชื่อมโยงกับการทำหน้าที่ “ครูฝึก”  ผมหลับตาเห็นโจทย์วิจัยวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้มากมาย จากเรื่องนี้

เรื่องการฝึกภายใต้ความท้าทายพอเหมาะนี้ หนังสือเอ่ยถึงคำ Zone of Proximal Development  ซึ่งน่าสนใจมาก  คนเป็นครู/อาจารย์ ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม  และพึงตระหนักว่า ความท้าทายที่เหมาะสมต้องคู่กับความช่วยเหลือที่เหมาะสมด้วย

หนังสือเล่าเรื่องวิธีการสร้าง “ตัวช่วย” มากมาย  หลายวิธีเป็นการให้ นศ. ช่วยกันเอง  ไม่กินแรงครู  เป็นเรื่องที่น่าทดลองนำมาใช้และทำงานวิจัยควบคู่ไปด้วย


สั่งสมการฝึกฝน

ต้องไม่ลืมว่า เป้าหมายของการฝึกฝนคือ ทำได้อย่างเป็นอัตโนมัติ  คือไม่ต้องคิด  ดังนั้น การฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเป็นสิ่งจำเป็น  แต่เวลาเป็นทรัพยากรที่จำกัด  ครูพึงเข้าใจข้อจำกัดนี้ของ นศ.

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกฝนของ นศ. เป็นช่วงของผู้ฝึกใหม่  นศ. จะค่อยๆ เรียนรู้สั่งสมทักษะ  ครูต้องระมัดระวังไม่เร่งร้อน  และควรหาโอกาสให้ นศ. ได้ฝึกแต่ละทักษะซ้ำ  ไม่ใช่ฝึกครั้งเดียวผ่านไปเลย  เพราะจะมี นศ. ส่วนใหญ่ที่ยังฝึกไม่ได้ทักษะจริง

 

 

แผนภาพข้างบนมาจากผลการวิจัย ที่แสดงว่าช่วงเวลาของการฝึกฝนให้ผลเพิ่มสมรรถนะไม่เท่ากัน  คือเพิ่มน้อยในช่วงต้นและช่วงปลายที่ชำนาญแล้ว  เพิ่มมากในช่วงกลาง ที่ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นมาอย่างดีแล้ว  หนังสือบอกว่าสภาพนี้มีทั้งส่วนจริง และส่วนที่เป็นความรู้สึกของ นศ.  ที่เป็นความรู้สึกลวงว่าช่วงเริ่มต้นฝึกไม่ค่อยได้อะไร ก็เพราะเป็นช่วงฝึกทักษะองค์ประกอบย่อย  ตัวผู้ฝึกจะไม่รู้สึกว่าได้สมรรถนะ  จะรู้สึกว่าได้เพิ่มสมรรถนะเมื่อได้ทักษะบูรณาการ  ส่วนตอนท้าย เมื่อฝึกมานาน น.ศ. ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ก็เพราะส่วนที่เพิ่มจะเป็นรายละเอียดมากๆ  ความรู้สึกลวงของ นศ. นี้บอกว่า  ครูต้องเอาใจใส่ให้การประเมินป้อนกลับความก้าวหน้าของสมรรถนะ แก่ นศ. ในช่วงนี้มากเป็นพิเศษ  เพื่อให้ นศ. ได้เห็นคุณค่าของการฝึกช่วงนั้น


เทคนิคการเป็น ครูฝึก

ประเมินพื้นความรู้ชอง นศ. สำหรับใช้กำหนดระดับความท้าทาย

ครูต้องตระหนักเสมอว่า นศ. ในชั้นมีพื้นความรู้แตกต่างกัน  การทดสอบพื้นความรู้ตอนต้นเทอม โดยการให้กรอกแบบสอบถาม  ให้ทำ Pre-test  หรือให้ทำการบ้านโดยไม่คิดคะแนน  จะช่วยให้ครูรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของ นศ.  สำหรับนำมาใช้กำหนดระดับความยากง่ายของการฝึก


จงระบุเป้าหมายของรายวิชาให้แจ่มชัด

อย่าปล่อยให้ นศ. คิดเอาเองเกี่ยวกับเป้าหมาย และรายละเอียดของรายวิชา  จงระบุเป็นข้อเขียนลงไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (Course Description)  รวมทั้งระบุเป้าหมายของแต่ละงานที่มอบหมายให้ นศ. ทำด้วย  โดยเน้นระบุเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม”  คือระบุว่าเมื่อจบรายวิชา (หรือเมื่อจบงานนั้นๆ) นศ. จะทำอะไรได้  สำหรับให้ นศ. ใช้เป็นธงนำการเรียนรู้ของตน


ใช้ rubric ของการประเมินเพื่อสื่อสารเกณฑ์ของสมรรถนะที่ต้องการอย่างชัดเจน

ข้อดีของ rubric คือ ช่วยแยกแยะงานนั้นๆ ออกเป็นองค์ประกอบย่อย  และบอกเกณฑ์ชัดเจนว่า สมรรถนะระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูง เป็นอย่างไร  นศ. จะใช้เป็นเครื่องมือนำทางและตรวจสอบการเรียนรู้ของตนได้


จัดให้มีโอกาสฝึกฝนหลายช่องทาง

ธรรมชาติของการเรียนรู้ คือมีการสั่งสมอย่างช้าๆ ไปกับการฝึกฝน  ดังนั้นการฝึกฝนทำโจทย์หรืองานเล็กๆ หลายๆ ครั้ง จะช่วยให้ผลการเรียนรู้ดีกว่าการให้ทำงานใหญ่เพียงครั้งเดียว

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงครั้งเดียว ไม่เพียงพอต่อการเรียนให้รู้จริง


ใช้เทคนิค scaffolding ในการมอบหมายงาน

เป็นเทคนิคที่ครูช่วยมากหน่อยในตอนต้นที่ นศ. ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  แล้วครูค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลง  ให้ นศ. ช่วยตนเอง หรือเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น


กำหนดความคาดหวังต่อการฝึก

นศ. มักคิดว่าการฝึกใช้เวลาไม่มาก  ซึ่งไม่ตรงความเป็นจริงสำหรับคนฝึกใหม่ ที่ต้องใช้เวลาฝึกอย่างเป็นขั้นตอน  ครูจึงต้องมีเอกสารระบุแนวทางการฝึก  บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนครั้ง  ระยะเวลาแต่ละครั้ง  ชนิดของการฝึก  และระดับการฝึก  ที่ต้องการสำหรับบรรลุทักษะในระดับที่ต้องการ

ครูมีแนวทางได้ข้อมูลนี้ ๒ วิธี  วิธีแรกคือสอบถามจาก นศ. รุ่นก่อนๆ  วิธีหลังคือ นศ. ที่เป็นคนฝึกใหม่จะใช้เวลา ๓ - ๔ เท่าของครูที่ถือเป็นผู้ชำนาญ


ยกตัวอย่างสมรรถนะที่เป็นเป้าหมาย

การให้ นศ. ดูตัวอย่างผลงานที่ดีของ นศ. รุ่นก่อนๆ  จะช่วยให้ นศ. นึกออกง่ายขึ้น ว่าสมรรถนะที่ดีเป็นอย่างไร  ครูควรอธิบายด้วยว่า ลักษณะส่วนไหนของผลงานตรงตามเกณฑ์สมรรถนะไหน


ให้ นศ. ได้ประจักษ์สิ่งที่ครูไม่ต้องการ

เป็นการให้ตัวอย่างที่ตรงกันข้ามกับหัวข้อก่อน  นศ. จะได้เข้าใจชัดเจนว่า ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คืออะไรบ้าง  นศ. จะได้ไม่หลงฝึกฝนผิดๆ  หรือหลงสร้างผลงานที่คุณภาพต่ำ

วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ นศ. เข้าใจเกณฑ์คุณภาพของผลงานชัดคือ ให้ นศ. ใช้ rubric ประเมินให้คะแนนผลงานตัวอย่างของ นศ. รุ่นก่อนๆ


ปรับปรุงเป้าหมายให้ชัดและเหมาะสมยิ่งขึ้นในระหว่างที่การเรียนก้าวหน้าไประหว่างเทอม

เป้าหมายการเรียนรู้ไม่ควรเป็นเป้านิ่ง  ควรปรับไปตามสภาพของผลการเรียนของชั้น  เช่น เมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง  และ นศ. บรรลุเป้าหมายการฝึกทักษะแล้ว  ครูอาจเพิ่มเป้าหมายให้ นศ. ประยุกต์ทักษะได้เร็วยิ่งขึ้น

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๖

กรณีที่ไม่สามารถอ่านได้ครบถ้วนกรุณาเข้าไปหาอ่านได้จากบันทึกตัวจริงของอาจารย์วิจารณ์ ที่ผมคัดลอกมาได้ที่ http://www.gotoknow.org/posts/521064

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 04 มีนาคม 2013 เวลา 13:01 น.
 

ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี แฉความลับ สัมปทานน้ำมันไทยทำไมได้ผลตอบแทนต่ำ

พิมพ์ PDF

“วันนี้ราคาพลังงานขึ้น เราควรจะดีใจเพราะเรามีพลังงานเยอะ แต่เรากลับไม่เคยรวยขึ้นเลย คำว่าโชติช่วงชัชวาลนี่ขอทวงหน่อยเถอะ มันอยู่ไหน หรือมันจะโชติช่วงแค่คนในกระทรวง หรือโชติช่วงแค่บริษัทพลังงาน”

ด้วยเหตุที่เคยทำหน้าที่วางท่อน้ำมันในอ่าวไทยเมื่อครั้งเรียนจบใหม่ๆ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการกองทุนให้กับสถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่ง

ทำให้ “ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี” เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ยอมเปิดหน้าชนอย่างเต็มตัวกับระบบการให้สัมปทานปิโตรเลียมในเมืองไทย

ด้วยเพราะเขา “กังขา” ในเรื่องของ “ตัวเลข”

ทั้ง “ตัวเลข”ที่เป็น “รายได้” ของรัฐจากการให้สัมปทาน ซึ่งมีความแตกต่างจาก “ตัวเลข” ที่ไหลเข้ากระเป๋าบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่

และ “ตัวเลข” ราคาน้ำมันและก๊าซในประเทศที่มีจำนวนสูง ในขณะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียมติดอันดับโลก

สำนักข่าวไทยพับลิก้า ได้พูดคุยกับ “มล.กรกสิวัฒน์” ในห้องประชุมคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีเขาเป็นเลขานุการ ในช่วงบ่ายของวันหนึ่ง

ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา

ไทยพับลิก้า : ที่เคยบอกว่า ใต้พื้นพิภพของแผ่นดินไทยมีพลังงานจำนวนมาก มีหลักฐานอะไรบ้าง

ต้องบอกว่ามีหรือไม่มีเราก็ไม่ควรพูดเอง เราควรจะเอาข้อมูลจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ผมถามว่าเราเชื่อโอเปก (The Organization of the Petroleum Exporting Countries: OPEC) ได้ไหม อย่างโอเปกทำรายงานออกมาทุกปี ที่เรียกว่าAnnual Statistical Bulletin 2010/2011 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณของก๊าซธรรมชาติเราชนะประเทศที่เป็นสมาชิกของโอเปก ไปทั้งหมด 8 ประเทศ นี่คือกำลังการผลิตต่อวัน เขาเขียนไว้เลยว่าเราผลิตได้สูงกว่าอิรัก คูเวต ลิเบีย เวเนซุเอลา แองโกลา มันก็ชัดว่าเรามีเยอะ

ไทยพับลิก้า : ที่บอกว่าผลิตได้จำนวนมาก มาจากการนำเข้าน้ำมันดิบด้วยหรือไม่

ไม่ใช่ แต่เป็นที่ผลิตจากประเทศไทยล้วนๆ จากหลุมในประเทศไทย โอเปกเขาจะไม่พูดเรื่องนำเข้าส่งออก แต่จะพูดแค่ว่าประเทศไหนผลิตได้เยอะได้น้อย หน่วยงานที่สองที่ผมเอามายันคือหน่วยงานที่เรียกว่า Energy Information Administration หรือ EIA ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านพลังงานที่อยู่ใต้รัฐบาลสหรัฐ เป็นหน่วยงานหลวงนะ เขามาสำรวจข้อมูลพลังงานของทั่วโลก และสหรัฐเขาให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงานมาก

ดังนั้น เขาต้องรู้ว่าในโลกมีพลังงานอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งมีการจัดอันดับเช่นกัน และเราอยู่ในอันดับที่ 24 ของ 200 กว่าประเทศ

เราผลิตน้ำมันดิบ จริงๆ ใช้คำว่าน้ำมันดิบมันไม่ตรง เพราะสิ่งที่กลั่นเป็นน้ำมันได้ไม่ใช่แค่น้ำมันดิบเท่านั้น แต่จะมีสิ่งที่เรียกว่า “ก๊าซโซลีนธรรมชาติ” หรือ “คอนเดนเซท” อีก ซึ่งอันนั้นคือหัวกะทิ เป็นของแพงและเขาไม่อยากให้เรารู้ เพราะเขาใช้ผลประโยชน์กันอยู่ ได้ผลประโยชน์กันอยู่ ตรงนี้อีไอเอของสหรัฐจัดเราอยู่อันดับที่ 33 ของโลก ตรงนี้ถามว่าผมเอาแค่สองแหล่ง ผมไม่ได้เคยบอกเลยนะว่าให้เชื่อผม ผมเอาข้อมูลจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้มาวาง ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพลังงานไม่เถียงแล้วว่ามันไม่จริง แต่คำตอบคือใช้ไม่พอ

เมื่อเรามีทรัพยากรแบบนี้ สิ่งที่จะเสนอให้ประชาชนต้อง “ตระหนัก” ก็คือว่า แล้วเราได้ส่วนแบ่งที่เป็นธรรมไหมจากทรัพยากรเรา ก็ต้องบอกว่าประเทศอื่นที่อันดับ 30-40 กว่า เขาได้ส่วนแบ่ง 100 บาท เขาเอามา 80 หรือ 90 แต่ประเทศเราบอกไม่เอา ขุดเจาะยาก เอามา 30 พอ คำว่า “ขุดเจาะยาก” กระทรวงพลังงานเคยแสดงอะไรให้ดูบ้างครับเวลาเขาอ้าง ไม่เคยเลย

ไทยพับลิก้า : กระทรวงพลังงานมักจะบอกว่า แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งขนาดเล็ก

คือ…อย่างนี้ครับ สิ่งที่เขาพูดเขาเคยให้หลักฐานอะไรดูบ้างล่ะ ผมให้หลักฐานทุกอย่างนะ แต่ว่าเวลากระทรวงที่เป็นหน่วยงานของรัฐ กินเงินภาษีประชาชน พูดทุกอย่างให้เชื่อฉัน แต่ไม่มีข้อมูลให้ดูเลย ถามว่าใครจริงใจ ผมว่าท่านพยายามจริงใจ แต่ข้อมูลอยู่ไหนละ ข้อมูลที่พบผมเชื่อถือได้ว่ามันเล็กจริง มันยากจริง ประเทศนี้ดูว่าใต้ดินมีเยอะหรือน้อยไม่ได้ เพราะเราเป็นประเทศจำนวนน้อยมากในไม่กี่ประเทศในโลกที่ให้สัมปทานโดยที่ตัวเองไม่เคยสำรวจเลยว่าเรามีหรือเปล่า

ดังนั้น คำพูดที่กระทรวงพลังงานบอกว่ามีน้อย กระทรวงพลังงานไม่เคยมีข้อมูล

อย่างกัมพูชา ก่อนให้สัมปทานปิโตรเลียมเขาจ้างที่ปรึกษา 2 รายไปสำรวจ แล้วเอาค่ากลางของ 2 บริษัท บอกว่าหลุมนี้มีเท่านี้ ทีนี้ก็เรียกมาทำสัมปทาน เขาก็เรียกได้เยอะ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เชื่อไหมครับ ประเทศไทยไม่เคยทำ แล้วประเทศไทยมาบอกว่าหลุมเล็กไม่มี กระทรวงพลังงานเคยทำหรือครับ เคยไปสำรวจด้วยหรือ เราเคยถามเขาไป 2 ครั้งว่าเคยสำรวจไหม บอกว่าไม่เคย สุดท้ายจบว่าไม่มีงบประมาณ แต่คุณมาพูดปาวๆ ว่าเราหลุมเล็ก พูดได้อย่างไรครับ และต้องถามไปด้วยว่าเบื้องหลังที่มาพูดกันอย่างนี้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับบริษัทพลังงานบ้าง

ที่สำคัญที่สุด บอกไม่คุ้มในเชิงพาณิชย์ เคยแสดงหลักฐานไหมครับ ผมมีหลักฐานว่าบริษัทที่มารับสัมปทานน้ำมันในประเทศไทยส่วนใหญ่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ลอนดอนกับนิวยอร์ก พอเปิดงบ เปิดรายงานผู้ถือหุ้น จะตกเก้าอี้ เพราะกำไรกันมหาศาล มันชัดเจนมากกว่ารายงานบางเล่มของบริษัทระดับโลก ทั้งหน้าปกและรูปมีแต่ประเทศไทยเพราะมันคือคีย์ไฮไลต์ของเขา

ผมว่ามันไม่ถูกนะ เราเกิดบนแผ่นดินไทย เราควรจะทดแทนแผ่นดินไทย เห็นคนไทยเป็นพี่เป็นน้อง ทุกวันนี้ข่าวของ Upstream ซึ่งจะเป็นเรื่องของน้ำมันและแก๊ส เข้าไปดูข่าวที่เกี่ยวกับบริษัท Coastal Energy ซึ่งเป็นบริษัทที่อังกฤษ ก็ต้องบอกว่าบริษัทนี้จะมีข่าวแต่เรื่องดีๆ ของพลังงานในประเทศไทย เช่น เจออีกแล้ว ไหลมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ มีแต่ข่าวแบบนี้ ไม่เห็นได้ยินข่าวแบบที่กระทรวงพลังงานบอกว่ากระเปาะเล็ก

ไทยพับลิก้า : เพื่อปั่นหุ้น?

ไม่ได้ ติดคุกสิครับ ต้องเข้าใจ ตลาดหลักทรัพย์ที่นิวยอร์กกับลอนดอนเขาเคร่งครัดการให้ข่าวมากนะกับ ให้ข่าวเท็จไม่ได้ ให้ข่าวเกินความจริงไม่ได้ ไปค้นว่ามีข่าวแบบนี้จริงไหม รู้ไหมผมเอาข่าวนี้ขึ้นมาในการพิจารณาของ กมธ. ตัวแทนกระทรวงพลังงานบอกบริษัทนี้โชคดี อ๋อ แล้วที่เหลือนี่เหลือโชคร้ายกันหมดหรือ อยากดูบริษัทอื่นอีกไหม เดี๋ยวจะให้ดู

ที่ร้ายไปกว่านั้น เราทราบกันดีว่าชอบพูดว่าพลังงานจะหมดแล้ว แต่ต้องทราบกันด้วยนะว่า หลุมที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ขุดมาจะเกือบ 100 ปีแล้ว และมันยังไม่หมดเลย ต่อมาที่ลานกระบือ กรรมการผู้จัดการของ ปตท.สผ. บอกเข้าไปขุดวันแรกนี่ได้ 1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน วันนี้ขุดได้ 3 หมื่นกว่าบาร์เรลต่อวัน คือบอกว่าตอนนั้นเชื่อว่าจะหมด แต่ในที่สุดเราพบมากขึ้น แสดงว่าที่จริงแล้วตามที่คิดว่าจะหมดหรือไม่หมด หนึ่ง ขึ้นอยู่กับพื้นที่สัมปทานที่คุณเปิด มันยังมีพื้นที่ใหม่ที่คุณยังไม่ได้อีกนะ สอง ความลึกที่คุณเจาะ คุณขุดไป 1 กิโล ตรงนี้หมดแล้ว แต่เจาะไปอีก 2 กิโล คุณอาจจะเจออีก

ฉะนั้น เวลาที่เขาบอกว่าหมดคือหมดเท่าที่ตรงนี้ แต่ถ้าเจาะไปอีกก็เจอ และสาม เทคโนโลยีที่ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ราคาถูก คุ้มทุนเลย เช่น เมื่อก่อนเจาะตรงๆ แต่เดี๋ยวนี้เจาะเอียงไปได้ ทำไมไม่พูดเรื่องนี้ ผมพูดเรื่องนี้ใน กมธ. ก็ดิสเครดิตผมในที่ประชุม ผมเลยบอกว่าไม่ทราบหรือครับว่าผมเคยเป็นคนวางท่อน้ำมันมาก่อน

ถ้าคนไทยตื่นรู้เมื่อไหร่ ผมว่ากระทรวงท่านแย่เลยนะ วันนี้ท่านจะให้ข้อมูลแบบนี้ไม่ได้นะ คือเราเป็นข้าราชการมีตำแหน่งสูง ใส่สายสะพาย มีอะไรทุกอย่าง เราจะทำแบบนี้กับประชาชนไม่ได้ แล้วทรัพย์นี้เป็นทรัพย์ของประชาชน ท่านทำแบบนี้กับประชาชนไม่ได้ นี่เหมือนกับเรื่องมรดก ที่ผู้จัดการมรดกไม่ให้เรารู้ แต่วันนี้เรารู้แล้วท่านยังไม่เปลี่ยนอีกหรือ คือวันนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าของแผ่นดินมากนะ ถ้าประเทศเรามีแต่ทรายไม่มีต้นไม้สักต้น ผมเชื่อว่าทรัพยากรปิโตรเลียมจะถูกบริการจัดการได้ดีกว่านี้ เพราะเป็นทรัพยากรเดียวที่เรามี แต่พอดีวันนี้เราอยู่ดีกินดี ให้คนมาจัดการเขาก็อยากจัดการแบบที่เขาอยากจะจัดการ

ไทยพับลิก้า : ตอนนี้แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของไทยเหลืออยู่ที่ไหนบ้าง

ผมว่ามันทั้งประเทศเลยนะ (หัวเราะ) ที่เป็นแหล่งใหญ่ บนบกที่มันใหญ่มากๆ ก็คือแหล่งสิริกิติ์ ครอบคุลม 4 จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ต้องบอกว่ามันใหญ่มาก ที่จังหวัดเหล่านี้มีหลุมผลิตน้ำมันทั้งหมด 300 กว่าหลุม ต้นทุนก๊าซแอลพีจี ผมได้ไปดูมาต้นทุน 1 บาทกว่า แต่อยากจะขึ้นราคาให้คนไทยใช้ราคาแอลพีจีตลาดโลก ค่าภาคหลวงคือ 10 เปอร์เซ็นต์ของบาทกว่า คุณได้ 10 กว่าสตางค์ แต่คุณไปขายคนไทยในราคาตลาดโลกคือ 30 บาท ถามว่าใจคุณทำด้วยอะไร

ไทยพับลิก้า : กระทรวงพลังงานบอกว่าอยากให้คนไทยประหยัดพลังงาน

เรื่องประหยัดพลังงานผมเห็นด้วย เพราะเราใช้พลังงานเปลืองก็ทำให้ผู้ค้าพลังงานรวย แต่ประเด็นที่ผมกำลังจะพูดก็คือว่าขายแพงก็ได้ แต่เงินต้องเข้าหลวงนะครับ ต้นทุนบาทกว่านี่คุณบวกกำไรไปแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจะขายเราในราคาตลาดโลก 30 บาท เงิน 29 บาท ก็ต้องเข้าประเทศนะครับ ไม่ใช่เข้าบริษัทพลังงานแล้วบอกว่าเพื่อการประหยัดพลังงาน มันเป็นเรื่องตลกนะ วันนี้ราคาพลังงานขึ้นเราควรจะดีใจเพราะเรามีพลังงานเยอะ แต่เรากลับไม่ได้เคยรวยขึ้นเลย คำว่าโชติช่วงชัชวาลนี่ขอทวงหน่อยเถอะ มันอยู่ไหน หรือมันจะโชติช่วงแค่คนในกระทรวง หรือโชติช่วงแค่บริษัทพลังงาน

อย่าลืมว่าสัมปทานที่เราให้นี่เป็นสัมปทานที่ถูกที่สุดในอาเซียน ขุดที่ไหนไม่ถูกเท่านี้อีกแล้ว คือเอาผลประโยชน์น้อยที่สุดในอาเซียน บูรไนขุดน้อยกว่าเรา 3 เท่า นะครับ ทั้งน้ำมันและแก๊ส อันดับโลกห่างจากเราเยอะ แต่เขาได้ผลประโยชน์เยอะกว่าเรามาก จะบอกว่าประเทศไทยกระทรวงรู้น้อยหรือเปล่า ผมไม่ทราบ เพราะอะไรครับ มีทุจริตหรือเปล่า ให้ตั้งข้อสังเกตนะ

สิ่งที่น่าตกใจก็คือว่า กระทรวงพลังงานชอบพูดว่าต้นทุนในการขุดเจาะมันสูง เราต้องเห็นใจผู้ขุดเจาะ แต่ไปดูงบสิครับ เขากำไรแสนกว่าล้าน และเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ ผมว่ากระทรวงมีปัญหาแล้วนะ

เราเคยพูดเรื่องบริษัทของเพิร์ลออย เอนเนอร์จี้ กระทรวงพลังงานรู้จักดี สนิทกัน แต่พอผมพูดเรื่องนี้ปุ๊บ ข้อมูลในเว็บไซต์หายเลย แต่ก่อนนี้เขาจะพูดเลยว่าในเมืองไทยเจ๋งมาก แต่ตอนนั้นหน้าของเมืองไทยไม่มีแล้ว ถามว่าถ้ามันเป็นเรื่องที่ดีทำไมต้องปกปิดละ บางบริษัทลงไว้ให้ผู้ถือหุ้นรู้ว่าต้นทุนการขุดเจาะในเมืองไทยต่ำที่สุดในโลก โดยมีต้นทุนน้ำมันลิตรละบาท 1.60 บาท

เช่น ที่อเมริกา 15 เหรียญ ยุโรป 17 เหรียญ แอฟริกา 12 เหรียญ ไทย 8 เหรียญต่อบาร์เรล เห็นข้อมูลอย่างนี้กระทรวงพลังงานยังบอกว่าข้อมูลผิดเลย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ที่นิวยอร์ก ไม่ว่าข้อมูลจะมาทั้งจากผู้ขุดเจาะ ตลาดหลักทรัพย์ กระทรวงพลังงานบอกผิดหมด แล้วที่ถูกว่าอย่างไร ท่านไม่เห็นแสดงตัวเลขให้ผม

กราฟแสดงอัตราการใช้น้ำมันดิบของประเทศไทย ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ทำขึ้น

กราฟแสดงอัตราการใช้น้ำมันดิบของประเทศไทย ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ทำขึ้น

ทั้งนี้ กราฟที่แสดงข้างต้น เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของกระทรวงพลังงานที่รายงานเรื่อง “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้ที่ประเทศได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม”

จากกราฟข้างต้น ส่วน “สีชมพู” คือการนำเข้าน้ำมัน ส่วน “สีฟ้า” คือเรามีเอง แต่ข้อมูลเป็น “เท็จ” ทั้งสองอัน ผมไม่อยากใช้คำว่า “เท็จ” แต่ที่แสดงว่าเรามีเอง 1.5 แสนบาร์เรล จริงๆ มีเกือบ 3 แสนบาร์เรล เขาเอาคอนเดนเซทกับก๊าซโซลีนธรรมชาติออกไป อย่าลืมว่า 2 สิ่งนี้คือหัวกะทิน้ำมันดิบ เพราะคอนเดนเซทมันแยกตัวเองอยู่แล้ว ตอนอยู่ใต้ดินลึก 2 กิโลเมตร ความร้อนเป็น 100 องศา มันเป็นไอ เป็นก๊าซตอนอยู่ใต้ดิน แต่พอมันขึ้นมาเจออุณหภูมิปกติที่ 30 กว่าองศา มันกลั่นตัวกลายเป็นของเหลว คุณสมบัติใกล้เคียงเบนซิน ตัวมันถ้าเอามากลั่นจะได้ก๊าซหุงต้มเยอะ เบนซินเยอะ และได้ดีเซลบางส่วน ดังนั้น สิ่งที่กลั่นเป็นน้ำมันได้มันไม่ใช่แค่นี้ไง เห็นไหมครับว่าเขากำลังเล่นกับความไม่รู้ของคนไทย ชัดเจนไหม

ส่วนในปี 2555 ที่แสดงจำนวนการนำเข้าน้ำมันดิบ 8 แสนบาร์เรลนั้น (แท่งกราฟสีชมพูริมขวาสุด) ในจำนวนนี้มี 2.3 แสนบาร์เรลเป็นการนำเข้าเพื่อการส่งออก ถามว่ากระทรวงนำมารวมในกราฟนี้ทำไม ตัวเลขนี้ไม่ใช่คนไทยใช้ทั้งหมด 8 แสนบาร์เรลนะ เพราะตัวนี้คุณนำเข้าเพื่อการส่งออก ก็คือนำเข้ามากลั่นให้ฝรั่งใช้แล้วคุณบอกคนไทยใช้เปลือง ทีนี้ ใน 8 แสนบาร์เรล คนไทยใช้ประมาณ 6 แสนบาร์เรล ไม่เกินนี้ แต่เรามีเองที่ผลิตได้ 3 แสนบาร์เรล จริงๆ แล้วเรานำเข้าแค่ 3 แสนบาร์เรล ที่ให้คนไทยใช้ “เห็นความผิดปกติหรือยัง” นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นคอนเดนเซทอีก 1 แสน ที่มีการนำเข้าเพื่อไปทำปิโตรเคมีซึ่งไม่ใช่เรื่องของเรา แต่กระทรวงพลังงานก็นับตรงนี้เป็นของเราอีก

ดังนั้น นำเข้าเกินมา 5 แสนบาร์เรล แล้วก็โทษคนไทย ถามว่าอย่างนี้คือข้อมูลเท็จใช่ไหม ไม่เท็จ แต่มันจริงครึ่งเดียว ถามว่าข้อมูลถูกไหม ถูกแต่ผิด

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ ปตท. เอาไปใช้เอง นำเข้าเพื่อการส่งออก เอาไปให้ลูกใช้ก็มารวมว่าเป็นความต้องการของประชาชน แล้วบอกว่าประชาชนใช้เปลือง ประชาชนก็เป็นแพะไป

ไทยพับลิก้า : ที่มีปัญหาจริงๆ คือ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม

ปัจจุบันประเทศไทยได้ผลประโยชน์จากส่วนแบ่งสัมปทานปิโตรเลียมต่ำที่สุดในอาเซียน แต่การที่ผลิตพลังงานไม่ได้ต่ำที่สุดในอาเซียน เราผลิตพลังงานได้มากกว่าบูรไน 3 เท่า เราผลิตพลังงานได้มากกว่าเขมร มากกว่าพม่า แต่เราได้ผลประโยชน์ต่ำกว่าทุกประเทศ แปลว่าอะไรครับ กฎหมายปิโตรเลียมเราใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 วันนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ 3.56 เหรียญต่อบาร์เรล วันนี้ 100 เหรียญต่อบาร์เรล ท่านก็ไม่แก้กฎหมายนะครับ ท่านก็ยังยืนว่ากฎหมายที่ออกตอนที่น้ำมัน 3 เหรียญต่อบาร์เรล ใช้ได้จนน้ำมันเป็นร้อยเหรียญแล้ว

ต้องบอกว่าสิ่งเหล่านี้ประเทศอื่นเขาเห็นว่า เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงจากเพียงไม่กี่เหรียญต่อบาร์เรลเป็นร้อยเหรียญ บริษัทพลังงานก็จะกำไรเยอะมาก ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของของทรัพยากร เราก็ต้องได้ส่วนแบ่งที่มากขึ้น เขาทำกันแบบนี้ทั้งนั้น

ประเทศเราไม่เคยคิดที่จะแก้ไขกฎหมายตัวนี้เลยตั้งแต่ 2514 นาน 40 กว่าปีแล้ว น้ำมันอยู่ 3 เหรียญต่อบาร์เรลจนไป 100 เหรียญ ก็ไม่แก้กฎหมาย แม้จะมีการแก้ไขกฎหมายในปี 2532 ตอนนั้นแก้แล้วด้วยเหตุผลที่ว่าท้าย พ.ร.บ. เขียนว่า เนื่องจากราคาน้ำมันตกต่ำจึงต้องลดค่าภาคหลวงลง คือเวลาน้ำมันลงท่านรีบแก้กฎหมาย แต่น้ำมันราคาขึ้นท่านไม่แก้เลย ตอนนั้นเราได้แค่ภาคหลวงอยู่ 12.5 ของใหม่ได้ 5-15 เปอร์เซ็นต์ เป็นขั้นบันได

ดังนั้น น้ำมันที่มีประมาณ 50 ล้านลิตรต่อปี หลุมน้ำมันแบบนั้น เดิมจาก 12.5 วันนี้แค่จาก 5 เท่านั้น นี่คือแย่ลง ผมสังเกตว่าเวลานั้นราคาลงท่านก็ขยันแก้ไขกฎหมาย วันนี้น้ำมันขึ้นเป็น 100 เหรียญแล้ว ถามใน กมธ. 3-4 ครั้ง ก็ยืนยันว่าไม่แก้ อ้างว่าต้นทุนสูง

ผมอยากจะถามกลับไปว่า วันที่น้ำมัน 20 เหรียญต่อบาร์เรล 5 หรือ 3 เหรียญต่อบาร์เรล อะไรก็ตาม ต้นทุนมันก็อย่างนี้ไม่ใช่หรือครับ ตอนที่น้ำมันราคาเท่านั้นบริษัทก็มีกำไรแล้ว พอน้ำมันเป็นร้อยเหรียญท่านก็ไม่แก้กฎหมาย ยิ่งแพงขึ้นเขาก็มีกำลังเพิ่มมากขึ้น คำว่าต้นทุนสูงมันไม่ใช่ต้นทุนเพิ่งสูง ที่บอกว่าประเทศไทยขุดเจาะยากก็ขุดเจาะยากมานานแล้ว วันนี้น้ำมันขึ้นมาจากปี 47 จำนวน 400 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีการขยับเขยื้อนการแก้ไขกฎหมายใดๆ เลย ทั้งที่กฎหมายปิโตรเลียมเก่ามากถึง 20-30 ปี กฎหมายอื่นแก้ได้ รัฐธรรมนูญแก้ได้ แต่กฎหมายปิโตรเลียมแก้ไม่ได้

น้ำมันเบนซิน 95 ราคา 100 บาท 30 กว่าบาทเป็นมูลค่าน้ำมันดิบ 40 กว่าบาทไปบริษัทผู้ค้าน้ำมัน และ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ก็เป็นภาษี ไม่มีบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่ไหนในโลกทำได้แบบนี้นอกจากบริษัทน้ำมันประเทศไทย

ไทยพับลิก้า : นอกจากแหล่งสิริกิติ์แล้วมีบ่ออะไรที่ใหญ่ๆ อีกบ้าง

เพชรบูรณ์ใหญ่มากเลยครับ แต่คนเพชรบูรณ์ไม่รู้เรื่องเลย เพชรบูรณ์ผู้ขุดเจาะได้รายงานต่อผู้ถือหุ้นว่ามีน้ำมันอยู่ใต้ดิน115 ล้านบาร์เรล มีมูลค่ากว่า 3.6 แสนกว่าล้านบาท นี่คือจังหวัดเดียวนะ ถามว่ากระทรวงพลังงานเคยบอกเราไหม ผมต้องไปเอารายงานของผู้ถือหุ้น

ที่ จ.สงขลา ขุดขึ้นมา ปีละ 25,000 ล้านบาททุกปี คนสงขลาไม่รู้เรื่อง นี่ยังขุดไม่หมดพื้นที่นะครับ ยังมีอีกเยอะ แต่วันนี้ขุดอยู่ปีละ 2.5 หมื่นล้านบาท คนสงขลาก็ไม่รู้เรื่อง ถ้าขุดอีก 20 ปี จะเป็นเงินเท่าไหร่ มหาศาล คนสงขลาไม่รู้เรื่อง คนหาดใหญ่ไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย

ไทยพับลิก้า : อดีต รมว.พลังงานคนหนึ่งบอกว่า ความหวังหนึ่งเดียวของพลังงานไทยคือบริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา

คือ พื้นที่ทับซ้อนนี่มันเป็นพื้นที่ของไทยตามกฎหมายทะเล เพราะตรงนั้นมีเกาะกูด พื้นที่ทับซ้อนตรงนั้นได้มาจากการแลกดินแดนฝั่งซ้าย แม่น้ำโขงที่มีเสียมเรียบ มีนครวัด รัชกาลที่ 5 ยอมแลกและเอาจันทบุรีกับตราดมา แต่ที่ตราดมีเกาะกูดอยู่เกาะหนึ่ง เกาะกูดต้องมี 12 ไมล์ทะเล แล้วถ้ารัฐบาลนั่นไปยอมเกี้ยเซียะแล้วบอกว่าร่วมกันนะ รัฐบาลนั้นยกดินแดนให้เขาแล้ว บางคนก็ยังไปเถียงอีกว่าทะเลไม่ใช่ดินแดน ทะเลคืออาณาเขต ถูกไหม ผลประโยชน์ทางทะเลต้องเป็นของเรา รัชการที่ 5 ยอมเสียน้ำตาแลกมา เอาทะเลผืนใหญ่มา คุณก็ไปยอมยกให้เขา

ไทยพับลิก้า : มีความพยายามในการสื่อว่ากัมพูชาไม่มีโรงแยกก๊าซ ประชากรน้อยกว่าไทย เราจะรับประโยชน์มากกว่า

แม้เราได้ใช้เราก็ต้องจ่ายราคาตลาดโลก ไม่เห็นต้องขุดตรงนี้เลย ไปเอาที่อื่นก็ได้ ผลประโยชน์ก็ไม่เคยเข้าหลวง จะทำทำไมครับ วันนี้สัมปทานน้ำมันดิบเลิกให้หมด วันนี้คุณเติมน้ำมันราคานำเข้าจากสิงคโปร์ คุณจะขุดน้ำมันทำไม วันนี้ขุดบางกระบือลงมาบางจากเป็นราคาสิงคโปร์แล้ว แล้วจะขุดกันทำไม ก็นำเข้าไปเลย เพราะใช้ราคาสิงคโปร์แต่มากลั่นที่นี่ แล้วมลภาวะล่ะ

พื้นที่ทับซ้อนคุณไม่ต้องขุดหรอก เพราะคนไทยจะไม่ได้ประโยชน์อยู่แล้ว เราใช้ราคาแพงอยู่แล้ว เก็บไว้ให้ลูกหลานในวันหน้าคิด จะตกลงผลประโยชน์ได้เมื่อไหร่ ราคาได้เมื่อไหร่

ให้ทำวันนี้ “คิดไม่ได้ ไม่ต้องทำ”

บทความนี้คัดลอกมาจาก http://thaipublica.org/2012/12/interview-kornkasiwat/

 

ท่านที่ใช้ Smart Phone ระวังจะโดนเรียกเก็บค่า Internet ที่ไม่ได้ใช้ โปรดศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีมิฉะนั้นจะเสียเงินโดยใช่เหตุ

พิมพ์ PDF

ผมได้รับใบแจ้งค่าบริการจาก DTAC ระหว่าวันที่ 18/01/2556-17/02//2556 สำหรับการใช้บริการหมายเลข 081-5848917 จำนวน 378.35 บาท เป็นค่าโทรศัพท์ 79.20 บาท และค่า DTAC Internet 299.09 นาที จำนวนเงิน 299.15 บาท

ปกติผมใช้โปรแกรมโทร 99 บาท เพราะโทรศัพท์เบอร์นี้ผมใช้สำหรับรับอย่างเดียว หรือใช้โทรตอนเดินทางไปต่างประเทศ จึงไม่ได้ใช้โทรในประเทศไทย จะใช้รับเป็นส่วนมาก โดยใช้เครื่องโทรศัพท์รุ่นเก่าของ Nokia

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 ผมได้ซื้อโทรศัพท์ Smart Phone เครื่องใหม่ เพื่อใช้กับหมายเลข 089-1381950 ซึ่งเป็นเครือข่ายของ TRUE และใช้บริการเหมาจ่าย ค่าโทรศัพท์ฟรี 200 นาที และ Internet ฟรี ไม่จำกัด และได้นำเครื่อง Smart Phone เครื่องเก่า Motorola ไปใช้กับหมายเลข 081-5848917 จากใบแจ้งค่าบริการแสดงว่าเพียงวันเดียว คือวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ ผมใช้ต่า Internet ไปถึง 299.09 นาที ทั้งๆที่ผมไม่เคยใช้ Internet กับหมายเลข 081-5848917 เลย จึงรีบโทรติดต่อไปที่  1678 เล่าเรื่องให้กับทางเจ้าหน้าที่ฟัง แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ทาง DTAC เปิดสัญญาณ Internet ให้กับลูกค้าทุกหมายเลข แสดงว่าในเครื่องคงมีโปรแกรมที่เครื่องเข้าไปในระบบ internet เอง ณ.วันที่ 3 มีนาคมนี้ ตัวเลขแสดงว่าได้ใช้ Internet ไปแล้ว 7 พันกว่าบาท แต่ทาง DTAC จะช่วยโดยคิดเป็น package พิเศษ เดือนละ 399 บาท และจะปิด internet ให้ แต่ผมจะต้องเสียค่า internet จำนวน 399 บาท ในใบแจ้งค่าบริการในเดือนถัดไป ผมคิดว่าไม่ยุติธรรมกับผม ผมไม่ได้ใช้บริการ Internet และ package เดิมที่ผมใช้กับ DTAC ก็เป็น Package โทรศัทพ์อย่างเดี่ยว ไม่มีเจ้าหน้าทีคนใดแจ้งเตือนและติดต่อให้ทราบ จึงขอร้องให้ทำเรื่องถึงผู้ใหญ่เพื่อขอให้ดำเนินการที่ยุติธรรมมากกว่านี้

จึงนำมาเผยแพร่เพื่อให้ทราบกันจะได้ไม่เสียเงินจากสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ ไม่ทราบว่ามีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สำหรับผมรอฟังข่าวจากทาง DTAC ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องผม คิดว่าจะเลิกใช้บริการและจะไม่ยอมจ่ายค่า Internet จ่ายแค่ค่าโทรศัพท์ตามที่ผมขอใช้บริการเท่านั้น

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๓. วิธีจัดการความรู้เดิม

พิมพ์ PDF

ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ คุณค่าของครูอยู่ตรงช่วยให้ นศ. เรียนรู้ตรงทาง คือ นศ. มีปัญหาเรียนรู้มาผิดๆ มากกว่าที่เราคิด พื้นความรู้ที่บิดเบี้ยวนี้ ทำให้เอามาต่อความรู้ใหม่ไม่ติด หรือต่อติดก็ยิ่งขยายความเข้าใจผิดๆ ยิ่งขึ้นไปอีก

 

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teachingซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๓ นี้ มาจากบทที่ 1  How Does Students’ Prior Knowledge Affect Their Learning?

บันทึกตอนที่ ๒ และ ๓ อธิบายวิธีการทบทวนความรู้เดิม  และนำมาใช้ในการล่อและจับความรู้ใหม่  สำหรับต่อยอดความรู้ขึ้นไป   โดยบันทึกตอนที่ ๒ ได้อธิบาย ๓ หัวข้อใหญ่ไปแล้ว คือ (๑) การปลุกความรู้เดิม  (๒) วิธีตรวจสบอความรู้เดิมของ นศ.  (๓) วิธีกระตุ้นความรู้ที่แม่นยำ

ในบันทึกตอนที่ ๓ จะเพิ่มเติมอีก ๓ หัวข้อใหญ่ คือ  (๑) วิธีทำความเข้าใจความรู้เดิมที่ไม่เพียงพอ  (๒) วิธีช่วยให้ นศ. ตระหนักว่าความรู้เดิมของตนยังไม่เหมาะสม  (๓) วิธีแก้ความรู้ผิดๆ


วิธีทำความเข้าใจความรู้เดิมที่ไม่เพียงพอ

ระบุความรู้เดิมที่ครูคาดหวังว่า นศ. ต้องมี

ครูต้องทำความชัดเจนกับตนเอง ว่าพื้นความรู้ที่ นศ. ต้องมีคืออะไรบ้าง จึงจะเรียนวิชาที่ตนกำลังสอนได้ดี  โดยต้องไม่ลืมว่า ต้องกำหนดทั้ง DK และ PK


จัดการเรียนรู้เสริม

หากเห็นชัดว่า นศ. มีพื้นความรู้เดิมไม่เพียงพอ  โดยครูอาจแก้ปัญหาได้หลายอย่าง  ตั้งแต่แนะนำ นศ. ที่ขาดพื้นความรู้อย่างแรงให้ถอนวิชาไปก่อน ให้ไปเรียนวิชาที่จำเป็นต้องรู้ล่วงหน้าเสียก่อน  ไปจนถึงให้ นศ. บางคนที่ขาดความรู้บางด้านหาความรู้เพิ่มเติมให้ตนเอง  โดยเอารายการคำศัพท์เฉพาะวิชาไปค้นคว้าทำความเข้าใจเอง

ในกรณีที่มี นศ. จำนวนมากขาดความรู้สำตัญส่วนหนึ่ง  ครูอาจต้องใช้เวลา ๑ - ๒ คาบ ทบทวนความรู้เหล่านั้น  หรืออาจนัดมาสอนนอกเวลา

ถ้าพื้นความรู้ของ นศ. ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในรายวิชาอย่างแรง  อาจต้องแก้ไขข้อกำหนดเงื่อนไขการลงเรียนรายวิชานั้น  รวมทั้งแก้ไขสาระความรู้ที่เรียนในรายวิชานั้น  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจไปกระทบวิชาอื่น  ต้องมีการปรึกษาหารือกันในภาควิชา หรือในคณะ


วิธีช่วยให้ นศ. ตระหนักว่าความรู้เดิมของตนไม่เหมาะสม

ยกประเด็นเรื่องการนำความรู้มาใช้งาน

ครูของวิชานั้นๆ สามารถตั้งคำถามด้านการนำความรู้มาใช้งาน เพื่อให้ นศ. ได้ตระหนักว่าพื้นความรู้ของตนในเรื่องนั้นๆ ยังไม่แน่น  ยังไม่รู้จริง  เช่นในวิชาสถิติ ครูอาจตั้งคำถามว่า จะใช้ regression analysis มาคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามที่ครูยกมา (เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ- qualitative) ได้อย่างไร  แล้วครูจึงอธิบายว่า regression analysis ใช้ได้กับตัวแปรที่เป็นตัวเลข (quantitative) เท่านั้น

มีตัวช่วย ให้ นศ. หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดๆ

เช่นครูมีคำถามมอบให้ นศ. เอาไว้เตือนสติตนเอง เพื่อไม่ให้หลงทาง  ครูที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าส่วนไหนในวิชานั้น ที่ นศ. หลงทางบ่อยๆ

ระบุวิธีการที่จำเพาะต่อสาขาวิชานั้นๆ อย่างชัดเจน

ตามปกติ นศ. ต้องเรียนหลายวิชาในเวลาเดียวกัน  และอาจสับสนถ้อยคำหรือวิธีการที่ใช้ต่างกันในต่างสาขาวิชา  เช่น นศ. อาจฝึกการเขียนด้วยสไตล์ที่แตกต่างกันในวิชาวิทยาศาสตร์ (เขียน lab report)  วิชาประวัติศาสตร์ (เขียนเรียงความเชิงวิเคราะห์)  และวิชาภาษา (เรียงความเชิงบรรยาย)  เมื่อมาเรียนวิชานโยบายสาธารณะ นศ. อาจสับสนว่า ควรใช้สไตล์การเขียนรายงานแบบไหน  ครูจึงควรมีคำแนะนำให้ อย่างชัดเจน

ชี้ให้เห็นว่าการเปรียบเทียบบางกรณีใช้ไม่ได้

การเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปมัย เป็นวิธีการเรียนรู้เรื่องที่ซับซ้อน และเป็นนามธรรม  แต่ก็มีข้อจำกัด ที่ นศ. ต้องเข้าใจ  เช่นเมื่อเปรียบเทียบลำไส้ว่าเหมือนท่อน้ำประปา  ครูต้องบอกว่า แต่ลำไส้มีความซับซ้อนกว่าท่อน้ำประปามาก  ผนังลำไส้ไม่เหมือนผนังท่อน้ำประปาที่แข็งทื่อ และทำหน้าที่ไม่ให้น้ำรั่วเท่านั้น  แต่ผนังลำใส้นอกจากเคลื่อนไหวบีบรัดเป็นจังหวะแล้ว ยังดูดซึมสารบางอย่างออกไปจากลำไส้ และปล่อยสารบางอย่างออกมาด้วย


วิธีแก้ความรู้ผิดๆ

ให้ นศ. ทำนายแล้วทดสอบ

วิธีหนึ่งที่อาจช่วยแก้ “ความเชื่อฝังใจ” ของ นศ. ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เป็นความเชื่อผิดๆ  แต่แก้ยาก  คือให้เห็นด้วยตาของตน หรือพิสูจน์ด้วยการทดลองจริงๆ  โดยให้ นศ. ทำนายว่าผลของการทดลองจะออกมาอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร  เมื่อผลออกมาแล้ว ก็อภิปรายกันในชั้น ว่าทำไมจึงได้ผลเช่นนั้น

ผลการวิจัยตามที่อ้างในหนังสือเล่มนี้ บอกว่า แม้ทำอย่างนี้แล้ว ก็จะยังมี นศ. บางคนที่ยังเชื่ออย่างเดิม

ให้ นศ. อธิบายเหตุผลของตน

เมื่อให้ นศ. อธิบายเหตุผลของตน นศ. อาจสะดุดเหตุผลที่ขัดแย้งกันเอง(internal inconsistency)  แล้วเปลี่ยนความเชื่อเอง  หรือครูและเพื่อน นศ. อาจช่วยชี้ให้เห็น  แต่พึงตระหนักว่า หากเป็นเรื่องความเชื่อ เช่นทางศาสนา แม้จะเห็นเหตุผลที่ขัดแย้งกันเอง คนเราก็ไม่เปลี่ยนความเชื่อ

ให้โอกาส นศ. ใช้ความรู้ที่แม่นยำหลายๆ ครั้ง

การเปลี่ยน “ความเชื่อฝังใจ” เป็นเรื่องยาก  ครูต้องอดทน ให้โอกาส นศ. ประยุกต์ใช้ความรู้ชุดนั้นหลายๆ ครั้ง  จนในที่สุดก็เปลี่ยนความเชื่อไปเอง

ให้เวลา

ครูควรให้เวลา นศ. ไตร่ตรองเรื่องนั้นๆ  เพื่อให้ นศ. ใช้ความรู้ตรวจสอบด้วยตนเองว่า มีข้อผิดพลาดอยู่ตรงส่วนไหนของความคิด  กระบวนการนี้จะช่วยเพิ่มทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) แก่ นศ. ด้วย


สรุป

ผมสรุปเชิง AAR กับตนเองว่า  ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ คุณค่าของครูอยู่ตรงช่วยให้ นศ. เรียนรู้ตรงทางนี่แหละ  คือ นศ. มีปัญหาเรียนรู้มาผิดๆ มากกว่าที่เราคิด  พื้นความรู้ที่บิดเบี้ยวนี้ ทำให้เอามาต่อความรู้ใหม่ไม่ติด  หรือต่อติดก็ยิ่งขยายความเข้าใจผิดๆ ยิ่งขึ้นไปอีก

คุณค่าของครูที่แท้จริงอยู่ตรงนี้  ที่การช่วยให้การเรียนรู้ของศิษย์ตรงทาง ถูกต้อง และช่วยแก้ไขส่วนที่ผิด

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘  ธ.ค. ๕๕

 

 


หน้า 510 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741327

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า